ประเพณีการตั้งชื่อเด็กของชนเผ่าไย้

Le Phuong/VOV
Chia sẻ

(VOVworld)-ในวิถีชีวิตประจำวัน ชนเผ่าไย้ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กๆเป็นอย่างยิ่งเพราะเชื่อว่าเด็กแต่ละคนเมื่อได้เกิดมาจะนำความสุขมาให้แก่ทั้งครอบครัวและวงตระกูลและความคาดหวังของทุกคนต่อเด็กคนนั้นได้สะท้อนให้เห็นจากการทำพิธีตั้งชื่อซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชมชนชนเผ่าไย้ที่ได้รับการสืบทอดปฏิบัติมาตั้งแต่เดิมนาน



(VOVworld)-ในวิถีชีวิตประจำวัน ชนเผ่าไย้ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลเด็กๆเป็นอย่างยิ่งเพราะเชื่อว่าเด็กแต่ละคนเมื่อได้เกิดมาจะนำความสุขมาให้แก่ทั้งครอบครัวและวงตระกูลและความคาดหวังของทุกคนต่อเด็กคนนั้นได้สะท้อนให้เห็นจากการทำพิธีตั้งชื่อซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชมชนชนเผ่าไย้ที่ได้รับการสืบทอดปฏิบัติมาตั้งแต่เดิมนาน

ประเพณีการตั้งชื่อเด็กของชนเผ่าไย้ - ảnh 1

ตามประเพณีของชนเผ่าไย้ เด็กจะได้ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการหลังจากครบ1เดือนโดยเชื่อว่าจะช่วยให้ทุกอย่างมีความสมบูรณ์โดยมักจะเลือกทำพิธี1วันก่อนถึงวันครบเดือนหรือเกินวันครบเดือน1วันเพราะมีความเชื่อว่าอะไรถ้าขาดไปถึงจะมีการพัฒนาหรือเกินไปก็จะพัฒนายิ่งๆขึ้น แต่ก็มีบางครอบครัวทำพิธีตั้งชื่อหลังจากนั้นหลายเดือน นายเสิ่นอาเซิน ชาวไย้ที่ลาวกายเผยว่า ชาวไย้ไม่ให้ความสำคัญเรื่องเพศของเด็กว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากให้ความสำคัญต่อการจัดพิธีตั้งชื่อ โดยถ้าเป็นลูกคนโตจะมีพิธีที่ใหญ่กว่าคนอื่นๆและมักจะมีการจัดงานเลี้ยงญาติมิตรทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบกับชนเผ่าอื่นๆพิธีตั้งชื่อของชาวไย้ถือว่าเรียบง่ายกว่าโดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ที่เป็นหมอผีมาทำพิธี จะมีการเตรียมแค่ชุดเครื่องเซ่นไหว้เท่านั้นซึ่งประกอบด้วยเนื้อหมู ไก่ เป็ด ดอกไม้ เหล้า ข้าวสารหนึ่งถ้วยและไข่ลวก1ฟองพร้อมธูปเทียน เมื่อทุกอย่างได้เตรียมพร้อม ณ หิ้งบูชาบรรพบุรุษปู่ย่าของเด็กจะอุ้มหลานออกมาเริ่มพิธีเซ่นไหว้รายงานตัวต่อบรรพบุรุษ นายเสิ่นช้าง นักวิจัยวัฒนธรรมชนเผ่าไย้เผยว่า“เมื่อถึงเวลางานเลี้ยง คนในครอบครัวจะนำถาดที่ใส่เหล้า8แก้ว ข้าวสาร1ถ้วยพร้อมไข่ไก่1ฟองที่วางข้างบนมาที่โต้ะของผู้ใหญ่และพ่อแม่ของเด็กจะเป็นผู้เชิญบรรดาผู้สูงอายุในครอบครัวเป็นคนตั้งชื่อให้ลูก โดยเมื่อมีคนให้ชื่อใดชื่อหนึ่งจะต้องหยิบข้าวสารโรยบนไข่ ถ้ามีเมล็ดข้าวติดอยู่บนไข่ก็จะเอาชื่อนั้นตั้งให้เด็กแต่ถ้าไม่มีก็ให้คนต่อไปตั้งชื่อ”

ในการตั้งชื่อให้เด็กนั้นต้องไม่เลือกชื่อที่ซ้ำกับญาติสามรุ่นของทั้งพ่อและแม่และจะเลือกชื่อที่ถือว่าเพราะที่สุดที่ทุกคนเห็นชอบ หลังจากนั้นทุกคนจะดื่มเหล้าทั้ง8แก้วให้หมดพร้อมมอบของขวัญและให้พรเด็ก โดยของขวัญอาจจะเป็นกำไลเงิน เหรียญเงิน อั่งเปาหรือสิ่งของต่างๆเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักความเอาใจใส่ของญาติพี่น้องในครอบครัว เมื่อกล่าวถึงบทบาทของญาติทางแม่ในพิธีตั้งชื่อ นายเสิ่นช้างกล่าวว่า“ในวันทำพิธีญาติทางแม่ของเด็กจะต้องส่งตัวแทนมาร่วมด้วยพร้อมของขวัญหนึ่งชุดเมื่อทุกคนในคณะเห็นชอบกับชื่อที่เลือกให้เด็กถึงจะมอบของขวัญให้หลานพร้อมร้องเพลงเกี่ยวกับการปลูกฝ้ายทอผ้าเพื่อทำเป้อุ้มเด็กที่เป็นของขวัญครั้งนี้ รวมทั้งได้ให้พรเด็กให้แข็งแรง ว่านอนสอนง่ายโตเร็ว ส่วนทางญาติฝ่ายพ่อก็ต้องมีการร้องตอบเพื่อเป็นการขอบคุณ”

โดยของขวัญจากญาติทางแม่ก็ถูกนำไปถวายบนหิ้งบูชาพร้อมสิ่งของอื่นๆเพื่อเป็นการรายงานขอพรให้เด็กต่อบรรพบุรุษและถ้าเป็นหลานคนแรกของครอบครัวเมื่อเด็กมีชื่อแล้วเขาจะเรียกชื่อของปู่ย่าตายายและพ่อแม่เด็กตามชื่อของเด็ก นายเสิ่นอาเซิน ชาวไย้ที่ลาวกายเผยว่า“เมื่อครอบครัวใดมีลูกแล้ว ชาวบ้านก็จะไม่เรียกชื่อของพ่อแม่เด็กหากเรียกตามชื่อของเด็กแทน เช่น เด็กชื่อเบ ก็เรียกพ่อของเด็กว่าพ่อเบ แม่เบหรือคุณปู่เบคุณยายเบเป็นต้น”

สำหรับชาวไย้ การใช้ชื่อของลูกหลานเพื่อเรียกผู้ใหญ่ถือเป็นความภาคภูมิใจและหากมีคนมาเรียกชื่อเดิมก็ถือเป็นการดูหมิ่น ดังนั้นพิธีตั้งชื่อเด็กจึงเปี่ยมด้วยความหมายอันศักดิ์สิทธิ์ต่างๆและการที่พ่อแม่เด็กมิได้เป็นคนตั้งชื่อให้ลูกตัวเองหากมอบให้เป็นหน้าที่ของผู้อาวุโสในครอบครัวนั้นยังสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมอันดีงามในการสืบต่อประเพณีและความเป็นระเบียบวินัยของครอบครัวและวงตระกูลในชุมชนชนเผ่าไย้อีกด้วย./.

คำติชม