ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าไย้ที่จังหวัดลาวกาย

Le Phuong/VOV
Chia sẻ
(VOVworld)-สำหรับชนเผ่าต่างๆในเวียดนามรวมทั้งเผ่าไย้ งานแต่งงานถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเป็นการสืบต่อวงตระกูลของครอบครัว ดังนั้นชาวไย้จึงให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติแห่งคุณธรรม บุคลิกภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในครอบครัวของทั้งสองฝ่ายมากกว่าเรื่องฐานะ


(VOVworld)-สำหรับชนเผ่าต่างๆในเวียดนามรวมทั้งเผ่าไย้ งานแต่งงานถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะเป็นการสืบต่อวงตระกูลของครอบครัว ดังนั้นชาวไย้จึงให้ความสำคัญต่อคุณสมบัติแห่งคุณธรรม บุคลิกภาพและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในครอบครัวของทั้งสองฝ่ายมากกว่าเรื่องฐานะ

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าไย้ที่จังหวัดลาวกาย - ảnh 1

เมื่อก่อนนี้เรื่องแต่งงานของหนุ่มสาวชาวไย้ก็เหมือนกับหลายชนเผ่าคือทำตามการตัดสินใจของผู้ใหญ่ โดยจะไม่จำกัดแค่ในหมู่บ้านเดียวหากจะมีการแสวงหาเป้าหมายในหมู่บ้านอื่นๆหรือจากการแนะนำของญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงด้วย เช่นในช่วงว่างเว้นจากการทำนา เยาวชนชาวไย้มักจะไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้องหรือเพื่อนมิตรเพื่อพบปะสังสรรค์และทำความรู้จักกันผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมการร้องเพลงโต้ตอบ เมื่อรู้สึกชอบกันก็จะกลับมาบอกพ่อแม่เพื่อเตรียมขั้นตอนต่อไป โดยประเพณีการแต่งงานต้องผ่านหลายขั้นตอนแต่ที่สำคัญก็มี พิธีซามยา คืองานทาบทามสู่ขอ พิธีกุนเกอลีคืองานหมั้น พิธีกุนเล้าคืองานแต่งงาน นาย เสิ่นช้าง ที่หมู่บ้านต๋าวานไย้ อ.ซาปาเผยว่า “ถ้ารู้จักกันแล้วก็ไม่ต้องผ่านพิธีการพบปะดูหน้าดูตาหรือดูฐานะครอบครัว สำหรับผู้ชายการที่จะดูหน้าดูตาฝ่ายหญิงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญส่วนทางฝ่ายหญิงการดูเรื่องฐานะทางบ้านฝ่ายชายว่าเป็นครอบครัวที่ดีหรือไม่ก็เป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจก่อนที่จะให้ข้อมูลเรื่องวันเดือนปีเกิดของลูกสาวให้แก่ฝ่ายชาย ถ้าหมอดูแล้วว่าทั้งสองคงมีดวงที่เข้ากันดีฝ่ายชายจะเอาไก่สองตัวมาเป็นสิ่งของเพื่อเป็นการทาบทามสู่ขอ”

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าไย้ที่จังหวัดลาวกาย - ảnh 2
ขบวนส่งเจ้าสาว

ส่วนในงานหมั้นฝ่ายชายจะต้องเตรียมไก่และเป็ดอย่างละสองตัวและหมู1ตัวหนักประมาณ40กิโลกรัม ซึ่งในงานหมั้นฝ่ายหญิงก็จะเรียกสินสอดโดยจะแบ่งเป็น3ส่วน หนึ่งคือเนื้อและเหล้าเพื่อทำอาหารเลี้ยงแขก สองคือของหมั้นที่เป็นกำไลเงินและเสื้อผ้าชุดใหม่สำหรับเจ้าสาวเพื่อใช้ในการไปอยู่ที่บ้านสามีและสามคือข้าวเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่เจ้าสาว ซึ่งตามความเชื้อของชาวไย้ งานแต่งงานยิ่งใหญ่โตคึกคักและมีคนเข้าร่วมจำนวนมากเพื่อให้พรคู่บ่าวสาว ชีวิตของคู่รักนั้นก็ยิ่งมีความสุขและมั่นคง ดังนั้นจึงได้เลือกช่วงเวลาจัดงานที่ชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนาคือตั้งแต่เดือน10-เดือนยี่ตามจันทรคติ

สำหรับขบวนรับเจ้าสาวก็มีหลายขั้นตอน โดยก่อนอื่นคือผู้ที่ร่วมขบวนต้องมีผู้อาวุโสสองคู่ที่มีชีวิตครอบครัวที่ผาสุกและสามารถพูดคุยได้ดี มีหนุ่ม1คนและสาว2คนที่ยังไม่มีครอบครัว พร้อมคนจูงม้าให้แก่พี่สะไภ้และขบวนหาบสิ่งของ“วันรับเจ้าสาวนั้นฝ่ายหญิงได้ตั้งประตูต้อนรับ2ชั้นโดยประตูแรกมีโต๊ะที่วางแก้วเหล้า8แก้วกั้นเมื่อฝ่ายชายมาถึงก็จะต้องร้องเพลงโต้ตอบกับฝ่ายหญิงและดื่มเหล้าให้หมดฝ่ายหญิงถึงจะเปิดให้เข้า ซึ่งสมัยก่อนผู้ใหญ่ในบ้านยังใช้ต้นหวายหรือรังมดเป็นสิ่งขวางทาง มาถึงประตูชั้นสองขั้นตอนก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันหลังจากนั้นฝ่ายชายต้องแจกอั่งเปาสีแดงเพื่อที่จะสามารถผ่านประตูได้”

ประเพณีการแต่งงานของชนเผ่าไย้ที่จังหวัดลาวกาย - ảnh 3
ประตูกั้นขบวนเจ้าบ่าวชั้นแรก

เมื่อเข้าถึงบ้านรับเจ้าสาว เจ้าบ่าวต้องหมอบไหว้บรรพบุรุษก่อนรับเจ้าสาวและก่อนที่ทั้งคู่จะออกจากบ้านเจ้าสาวก็ต้องทำพิธีไหว้บรรพบุรุษเช่นกัน ซึ่งพิธีสุดท้ายของการรับเจ้าสาวคือนอกจากต้องดื่มเหล้าให้หมดแล้วฝ่ายชายยังต้องมอบอั่งเปาให้แก่ญาติๆของเจ้าสาวเพื่อให้พวกเขาปล่อยมือเจ้าสาวให้เดินออกจากบ้าน เพราะตามประเพณีนี่คือการแสดงให้เห็นถึงความรักความผูกพันธ์ของคนในครอบครัวที่ไม่อยากให้ไป สำหรับสิ่งของที่เจ้าสาวจะนำติดตัวไปหรือชุดที่ใส่ในวันแต่งงานนั้นก็ไม่พิเศษไปกว่าชุดธรรมดามากนัก นางหว่างทิหน่อน ชาวไย้ที่ซาปาเผยว่า “เสื้อผ้าก็มีแต่ชุดพื้นเมืองผ้าหมอนต่างๆ ชุดที่ใส่ก็เป็นชุดสีฟ้าธรรมดาแค่เพิ่มผ้ามัดผมกับผ้าคุมหน้าเจ้าสาวสีแดง เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าวก็เปลี่ยนชุดสีดำในการทำพิธีไหว้บรรพบุรุษของครอบครัวสามี ส่วนรองเท้าที่ใส่เดินทางนั้นญาติฝ่ายหญิงต้องเก็บเพื่อนำกลับบ้านเจ้าสาวโดยไม่ให้แม่สามีเห็น”

ก่อนเดินทางไปบ้านสามีเจ้าสาวต้องแขวนกระจกเล็กๆพร้อมหอมกระเทียมเมล็ดพันธุ์พืชที่หน้าอกพร้อมอุ้มไก่หนึ่งตัว โดยสิ่งของแต่ละอย่างจะสื่อความหมายที่แตกต่างกัน เช่นกระจกหมายถึงความบริสุทธิ์ของเจ้าสาวและเพื่อการไล่ผี ส่วนหอมกระเทียมและเมล็ดพันธุ์พืชนั้นหมายถึงการเจริญเติบโต สำหรับไก่ต้องเป็นไก่ตัวผู้เพราะชาวบ้านเชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ฉลาด สามารถปกป้องนำทางให้เจ้าสาวได้อย่างปลอดภัย

ในประเพณีของชนเผ่าไย้ การเลือกฤกษ์ดีเพื่อรับเจ้าสาวเข้าบ้านก็เป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมักจะเลือกยามค่ำคืนหรือช่วงเช้าตรู่ หลังจากเข้าบ้านและทำพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ แม่สามีถึงจะออกมารับลูกสะไภ้และพาไปแนะนำห้องต่างๆในบ้านเพื่อเป็นการรับสมาชิกใหม่อย่างเป็นทางการ./.

คำติชม