ชนเผ่าน้อยปูแป๊วในเวียดนาม

Vĩnh Phong- VOv5
Chia sẻ
(VOVWorld)-ชนเผ่าน้อยปูแป๊วอาศัยอยู่ในเขตเขาของจังหวัดห่ายางทางภาคเหนือเวียดนาม  แม้จะมีประชากรเกือบ1000 คนเท่านั้นแต่ชนเผ่าปูแป๊วก็มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตน

(VOVWorld)-ชนเผ่าน้อยปูแป๊วอาศัยอยู่ในเขตเขาของจังหวัดห่ายางทางภาคเหนือเวียดนาม  แม้จะมีประชากรเกือบ1000 คนเท่านั้นแต่ชนเผ่าปูแป๊วก็มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตน

ชนเผ่าน้อยปูแป๊วในเวียดนาม - ảnh 1
สตรีชนเผ่าปูแป๊ว
(Photo: dongvan.gov.vn)

ชนเผ่าน้อยปูแป๊วส่วนใหญ่อาศัยอยู่ที่ตำบลโฝหล่า  อำเภอด่งวัน   ตำบลสูงจ๊างและฝู่ลุ้ง  อำเภอเอียนมิง  จังหวัดห่ายาง  ภาษาพูดของชนเผ่าปูแป๊วคือภาษาเฮอมงและภาษากวานหวา  ชนเผ่าปูแป้วเป็นชนเผ่าที่มาตั้งรกรากฐิ่นฐานนานที่สุดในเขตเขาทางเหนือของจังหวัดห่ายางและมีอาชีพหลักคือทำการเกษตรโดยการทำนาขั้นบันได  ทำไร่  ปลูกข้าวโพด  ปลูกถั่ว เป็นต้น  อาหารหลักของชนเผ่าปูแป๊วคือ ข้าวและข้าวโพด  ส่วนอาชีพเสริมนั้นก็มีการเย็บปักถักร้อย   การสานเครื่องหวายและเลี้ยงวัวควายเพื่อใช้เป็นกำลังลากและถือเป็นสินทรัพย์และทุนสะสมของครอบครัวด้วย   บ้านของชนเผ่าปูแป๊วเป็นบ้านโครงไม้  ฝาผนังทำด้วยดินเหนียวอัดหนาประมาณ 50 เซ็นติเมตร หลังคามุงกระเบื้องหรือหญ้าคาเป็นแบบบ้านที่ให้ความเย็นสบายในหน้าร้อนและอบอุ่นในหน้าหนาว หน้าบ้านจะหันไปทางใต้หรือตะวันออกเฉียงใต้ นาย ลิวเสิ่นหว่าน สมาชิกในกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆในจังหวัดห่ายางให้ทราบว่า “ ชนเผ่าปูแป๊วมีภาษาพูดเฉพาะ  มีขนบประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้ในชีวิตประจำวันและในการทำการผลิตเช่น  ขนบประเพณีการทำบุญ   การบูชาเทพป่า  การแต่งงาน  พิธีแรกนาขวัญ   งานเทศกาลพื้นบ้านต่างๆรวมทั้งเพลงพื้นเมือง”
ในชีวิตสังคมชุมชน ชนเผ่าปูแป๊วมีสองกลุ่มตระกูลหลักอาศัยอยู่  กลุ่มหนึ่งเรียกตามการสะกดอักษรฮั่นในท้องถิ่นเช่น  ตระกูล กุ่ง   จ๊าง และฝู  ที่ใช้เขียนเป็นเอกสารทางการ   อีกกลุ่มหนึ่งเป็นตระกูลเก่าแก่กว่าซึ่งแต่ละตระกูลมีนามสกุลเป็นคู่ๆกันเช่น กากุ่ง - กากัม  กาหราม - กาเจิม  การู - กาเรือะและกาบู - กาเบิ๋ง  แต่ละตระกูลของชาวปูแป๊วจะมีชื่อรองเฉพาะเพื่อตั้งให้ชนรุ่นต่อๆไปสืบทอดตระกูล   ในประเพณีการแต่งงาน ฝ่ายชายจะเป็นผู้จัด  หลังจากแต่งงานแล้วภรรยาต้องไปอยู่บ้านสามี  ลูกเกิดมาต้องใช้นามสกุลพ่อและผู้เป็นพ่อหรือสามีจะเป็นหัวหน้าครอบครัว
ชนเผ่าน้อยปูแป๊วในเวียดนาม - ảnh 2
พิธีทำบุญเซ่นไหว้เทพป่าจะเป็นพิธีหลักในการสักการะบูชา
เทพต่างๆของ
ชนเผ่าปูแป๊ว
ในชีวิตด้านวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชนเผ่าปูแป๊วมีความผูกพันธ์กับปรัชญาเทพเจ้าต่างๆของชาวเกษตรกรโดยมีการนับถือบูชาเทพลำธาร  เทพแม่น้ำ  เทพต้นไม้  เทพป่า เทพภูเขาเป็นต้น  ซึ่งพิธีทำบุญเซ่นไหว้เทพป่าจะเป็นพิธีหลักในการสักการะบูชาเทพต่างๆและสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชนเผ่าปูแป๊ว
การแต่งกายของชนเผ่าปูแป๊วนั้นเรียบง่ายไม่ฉูดฉาดเหมือนชนเผ่าอื่นๆ ชุดแต่งกายของผู้หญิงปูแป๊วเป็นกระโปรงบานสีดำทาบข้างนอกด้วยผ้าสีฟ้า ชายกระโปรงมีแถบผ้าปักลายต่างๆและเสื้อแขนยาวสีดำที่ประดับช่วงต้นแขนด้วยแถบผ้าหลายสีอย่างงดงาม นางกุ่งถิซวน ชาวปูแป๊วคนหนึ่งในหมู่บ้านคุยให้พวกเราฟังว่า“ในชุดแต่งกายและลายดอกของชนเผ่าปูแป๊วจะมีสีหลักสองสีคือสีแดงและสีเขียวใบไม้   สีแดงสำหรับผู้ชายแสดงถึงความเคารพนับถือของผู้หญิงที่มีต่อผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเวลาเย็บเสื้อผ้าก็จะเย็บส่วนที่เป็นสีแดงก่อน  สีเขียวใบไม้เป็นสีของผู้หญิงในครอบครัว  การตัดเย็บชุดแต่งกายแต่ละชุดจะใช้เวลาประมาณสองเดือน”
ผู้หญิงปูแป๊วส่วนมากชอบใช้เครื่องประดับเงินที่เป็นสร้อยคอ  กำไลข้อมือ  และแหวนการแต่งผมจะมวยเป็นสองแบบ  โดยสาวๆจะมวยผมเป็นจุกไว้บนหัวแล้วโพกด้วยผ้าสีม่วง  ส่วนผู้หญิงที่มีสามีแล้วจะมวยผมเป็นจุกไว้ที่หน้าผากแล้วเสียบหวีไม้ไว้บนจุกผมซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับผู้หญิงชนเผ่าอื่นๆ
ในชีวิตสังคมชนเผ่าปูแป๊วบูชาเทพป่า มีความใกล้ชิดและเป็นมิตรกับธรรมชาติ ฉะนั้นการอนุรัษ์ป่าและธรรมชาติรอบตัวจึงอยู่ในจิตสำนึกของชุมชนชาวเผ่าปูแป๊วทุกคนตลอดมาเพราะพวกเขารู้ดีว่าการไม่ทำลายป่าและสิ่งแวดล้อมไม่เพียงแต่เป็นส่วนร่วมในการปฏิบัติตามนโยบายและกฎหมายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติของรัฐเท่านั้น หากยังนำมาซึ่งคุณประโยชน์ทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจให้แก่ตนในการดำรงชีวิตอีกด้วย.

คำติชม