มหากาพย์ในชีวิตด้านจิตใจของชนเผ่าราค์ลาย

Tô Tuấn- VOV5
Chia sẻ
(VOVWorld)-มหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลายคือ เรื่องเล่าสืบต่อมาแต่โบราณที่ฝังลึกอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวีรกรรมของวีรบุรุษชนเผ่าที่ได้รับการยกย่องและมักจะได้รับการนำมาแสดงในโอกาสวันงานวัฒนธรรมของหมู่บ้าน


(VOVWorld)-มหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลายคือ
 เรื่องเล่าสืบต่อมาแต่โบราณที่ฝังลึกอยู่ในความทรงจำของชาวบ้านเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวีรกรรมของวีรบุรุษชนเผ่าที่ได้รับการยกย่องและมักจะได้รับการนำมาแสดงในโอกาสวันงานวัฒนธรรมของหมู่บ้าน
มหากาพย์ในชีวิตด้านจิตใจของชนเผ่าราค์ลาย - ảnh 1
มหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลาย

มักจะได้รับการนำมาแสดง
ในโอกาสวันงานวัฒนธรรมของหมู่บ้าน

เช่นเดียวกับชนเผ่าน้อยอื่นๆที่อาศัยอยู่ในเขคเตยเงวียนและทางตะวันตกภาคใต้ชนเผ่าราค์ลายมีมหากาพย์มากมายหลายชุด ในหุบเขาโตหาบ  อำเภอแข็งเซิน  จังหวัดแข็งหว่า  เป็นถิ่นที่มีชาวราค์ลายจำเรื่องราวในมหากาพย์ได้มากที่สุด  นาย เม้าก๊วกเตี๋ยน ผู้เชี่ยวชาญศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าราค์ลายเป็นผู้เดินหน้าในการสะสมและอนุรักษ์มหาพย์  จากการค้นคว้าเขาเห็นว่ามหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลายเป็นเรื่องเล่าด้วยกาพย์กลอนที่สืบต่อมาแต่โบราณ  ยามค่ำคืนในวันงานเทศการพื้นบ้านทุกคนในหมู่บ้านไม่ว่าพ่อแก่แม่เฒ่าและลูกเล็กเด็กแดง  มักจะนั่งล้อมรอบกองไฟในบ้านยาว เพื่อฟังการเล่าเรื่องมหากาพย์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าถึงวีรกรรมของชายฉกรรจ์อย่างเช่น อูดาย  อูจาก ที่ต่อสู้กับพวกผู้ร้าย     หรือผู้หญิงที่กล้าหาญอย่าง อาเวยน้ายทีเลอร์ ที่ต่อสู้กับเทพป่า  เทพทะเลเพื่อปกป้องประชาชน   เรื่องราวในมหากาพย์จะสท้อนให้เห็นวิรบุรุษในจินตนาการซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์เป็นคนแกร่งกล้า มีความเฉลียวฉลาดและเก่งกาจ       นายเม้าก๊วกเตี๋ยน เล่าว่า “ มหากาพย์แต่ละชุดนั้นยิ่งใหญ่มาก  ชนเผ่าราค์ลายไม่มีตัวอักษรเพื่อบันทึกมหากาพย์ดังนั้นจึงเล่าสืบต่อกันมาจนชนรุ่นแล้วรุ่นเล่าด้วยความจำของตนซึ่งเป็นความแตกต่างกับมหากาพย์ของชนเผ่าอื่นๆ”
นายเม้า ก๊วก เตี๋ยน เล่าต่อไปว่า มหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลายไม่เพียงแต่เป็นผลงานศิลปะหากเป็นเรื่องเล่าของชีวิต เช่นมหากาพย์อาม้าจีมาจา  ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มราค์ลายชื่อจีมาจาที่เก่งกาจสามารถต่อสู้กับสัตว์ร้ายในป่าปกป้องชาวบ้านให้รอดพ้นจากอันตรายและได้มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข   เมื่อมีศัตรูมารุกรานหมู่บ้านหนุ่มจีมาจาก็แนะนำให้ชาวบ้านรู้วิธีสู้รบกับข้าศึก  เสียงเล่าเรื่องมหากาพย์เป็นการพรรณาเบาๆถึงเนื้อเรื่องอย่างจับใจแต่เมื่อถึงตอนสู้รบเสียงจะดังแหลมขึ้นทันทีเพื่อสอดใส่อารมณ์ตามเนื้อเรื่อง  แล้วเสียงเล่าก็จะค่อยๆทุ้มลงเหมือนเสียงกระซิบบอกเล่าของบรรพชน   ในการเล่าเรื่องมหากาพย์บางทีชาวราค์ลายจะเล่าโดยทำนองเพลงพื้นบ้าน “ซีรี”ซี่งเป็นเพลงกล่อมลูกหรือเพลง “อายอด”ที่มีทำนองคึกคักสนุกสนานที่ชาวราค์ลายมักจะร้องในงานเทศกาลของชนเผ่าตน  

มหากาพย์ในชีวิตด้านจิตใจของชนเผ่าราค์ลาย - ảnh 2
ศิลปินอาวุโสเล่าเรื่องมหากาพย์ให้แก่เด็กๆ
(Photo: KhanhHoaOnline)


ในการเล่ามหากาพย์เรื่อง อูดาย ที่กล่าวถึงเรื่องราวของสงครามและเรื่องความรักของหนุ่มสาวซึ่งเป็นชุดมหากาพย์ยาวและเป็นเอกลักษณ์ที่สุดของชนเผ่าราค์ลาย   แม้อายุจะอยู่ในวัย  60 แล้วแต่แม่เฒ่า กาเตอถิซิง ยังจำเนื้อหาทั้งหมดของมหากาพย์ชุดนี้ได้และถ้าจะเล่าให้หมดเรื่องแล้วต้องใช้เวลาหนึ่งวันหนึ่งคืนเต็มๆ  แม่เฒ่า กาเตอถิซิงเผยว่า “ ฉันเรียนร้องเพลงเล่าเรื่องมหากาพย์จากแม่มาตั้งแต่ยังเด็ก  ซึ่งตอนนั้นอายุประมาณ 7-8 ขวบ โดยจะเรียนในทุกที่ทุกเมื่อทุกเวลาไม่ว่าจะเป็นตอน  ไปไร่  เดินป่าหรืออยู่บ้านเก็บผัก" “ ฉันฟังแม่ร้องเพลงเห็นไพเราะจึงร้องตาม  ร้องได้แล้วก็ชอบมาก กลางคืนนอนไม่หลับก็ลุกขึ้นมาฝึกร้องอีก จนจำทำนองและเนื้อเรื่องได้ดี  เมื่อร้องให้คนอื่นฟังเขาชมว่าร้องได้เพราะมากก็ดีใจ   สมัยก่อนไม่มีโรงเรียนฉันอยู่บ้านกับพ่อแม่ เรียนร้องเพลงไปวันๆนานเข้าก็จำได้ดี”
นายเม้าก๊วกเตี๋ยนกล่าวเสริมว่า ในตำบลเซินบิ่ง  อำเภอแข็งหว่า มีศิลปินอาวุโสท่านหนึ่งคือแม่เฒ่า  เม้าถิเยียน อายุ 90 ปีแล้วซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่สุดของชนเผ่าราค์ลายที่ยังร้องเพลงเล่าเรื่องมหากาพย์ได้นานวันติดต่อกันเป็นอาทิตย์โดยไม่เหน็ดเหนื่อย  ผู้อาวุโสทั้งสองท่านอย่างแม่เฒ่าเม้าถิเยียนและแม่เฒ่า กาเตอถิซิง  ถือได้ว่าเป็นจิตวิญญาณและเป็นขุมทรัพย์ของมหากาพย์ราค์ลาย  แต่ขุมทรัพย์นี้กำลังร่อยหรอลงไปทุกวันเพราะในปัจจุบันผู้ที่ร้องเพลงเล่าเรื่องมหากาพย์ราค์ลายได้ เหลือเพียง 10 คนเท่านั้นซึ่งอายุก็สูงขึ้นทุกวัน ฉะนั้นทางการจังหวัดแข็งหว่าจึงวางแผนอนุรักษ์มหากาพย์ของชนเผ่าราค์ลายโดยการบันทึกเป็นเอกสารและอัดเทปการร้องเพลงเล่าเรื่องมหากาพย์ของบรรดาผู้อาวุโสไว้สอนในชั้นเรียนมหากาพย์ให้แก่ชนรุ่นเยาว์สืบทอดต่อไป.


คำติชม