การปะทะในฉนวนกาซาเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก

Quang Dung- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -การปะทะระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซากำลังส่งผลกระทบต่อตลาดโลก ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจประเมินว่า การปะทะนี้ส่งผลกระทบในวงที่จำกัดแต่ก็ถึงกระนั้นก็แสดงความวิตกกังวลว่าถ้าการปะทะอยู่เหนือการควบคุมก็อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเป็นวงกว้างได้

การปะทะในฉนวนกาซาเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก - ảnh 1นาง Kristalina Georgieva  ผู้อำนวยการ IMF (Photo: EPA)

การปะทะในฉนวนกาซากำลังย่างเข้าสู่สัปดาห์ที่สอง โดยสถานการณ์นับวันรุนแรงและยากที่จะคาดเดาได้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและมีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่รุนแรง ในขณะที่โลกก็มีความวิตกกังวลต่อผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่ยากจะคาดเดาได้ถ้าหากสถานการณ์อยู่นอกเหนือการควบคุม

ผลกระทบในระยะสั้น

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการปะทะในฉนวนกาซาได้ส่งผลให้การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ ปรับตัวลดลงอย่างหนัก ส่วนราคาทองคำปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ จากการได้รับผลกระทบจากการปะทะนี้ บริษัทพลังงาน Chevron  ของสหรัฐได้ประกาศระงับการส่งออกก๊าซธรรมชาติผ่านท่อส่งก๊าซที่เชื่อมระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์

แต่อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับต้นสัปดาห์ โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ที่ประมาณ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาห์เรน ราคาน้ำมันดิบ WTI อยู่ที่ประมาณ 87 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาห์เรน  นาย Ben Cahill   ผู้เชี่ยวชาญความมั่นคงทางพลังงานของศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และนานาชาติเผยว่า การพลังงานในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากซึ่งนี่แสดงให้เห็นว่า การปะทะในฉนวนกาซาส่งผลกระทบในวงจำกัด เนื่องจากอิสราเอลและฉนวนกาซาไม่ใช่ฐานการผลิตวัตถุดิบรายใหญ่ของโลกและการปะทะยังคงถูกควบคุมให้อยู่แค่ในเขตฉนวนกาซาเท่านั้น  นาย   Paul Nolte นักวิจัยเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับตลาดของบริษัท Murphy& Sylvest ของสหรัฐเผยว่า ปัจจุบันบรรดานักลงทุนรายใหญ่ของโลกให้ความสนใจว่าธนาคารกลางสหรัฐจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอีกหรือไม่มากกว่าสถานการณ์การปะทะในฉนวนกาซา

หนังสือพิมพ์ Bloomberg ของสหรัฐได้ทำการวิเคราะห์การปะทะที่มีลักษณะเดียวกันระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสเมื่อปี 2014 ซึ่งในตอนนั้น การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบและผลกระทบจากการปะทะต่อเศรษฐกิจโลกมีไม่มากเนื่องจากการปะทะเกิดในฉนวนกาซาเท่านั้น ดังนั้น หนังสือพิมพ์ Bloomberg จึงชี้ชัดว่า ถ้าหากการปะทะนี้ไม่บานปลาย ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเพิ่มขึ้น 3-4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาห์เรนเท่านั้น อัตราเงินเฟ้อของโลกอาจเพิ่มขึ้น 0.1 % อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงร้อยละ 0.1 เท่านั้น

ในการประชุมของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 9-15 ตุลาคม ณ ประเทศโมร็อกโก บรรดาผู้นำของ WB และ IMF ไม่กังวลต่อผลกระทบโดยตรงของการปะทะในฉนวนกาซา    นาง Kristalina Georgieva  ผู้อำนวยการ IMFเผยว่า 

“ในหลายวันที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น  พวกเรากำลังเฝ้าติดตามความผันผวนนี้และสิ่งที่ชัดเจนคือ การปะทะในฉนวนกาซาเพิ่มความไร้เสถียรภาพให้แก่เศรษฐกิจโลก

 ความไร้เสถียรภาพในระยะยา

แม้จะไม่มีความวิตกกังวลต่อผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากการปะทะในฉนวนกาซาแต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่า สถานการณ์จะเลวร้ายลงถ้าหากการปะทะไม่ได้รับการควบคุม เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ราคาน้ำมันดิบได้รับการพยากรณ์ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ในเวลาที่จะถึงเนื่องจากบรรดานักลงทุนวิตกกังวลต่อความผันผวนที่ยากที่จะคาดเดาได้ในฉนวนกาซา

ในกรณีที่การปะทะอยู่นอกเหนือการควบคุม  หนังสือพิมพ์ Bloomberg เห็นว่า ราคาน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้นกว่า 150 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาห์เรน ซึ่งทำให้อัตราการเงินเฟ้อของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงร้อยละ 1 ในปีหน้าคืออยู่ที่ร้อยละ 1.7 เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1982 โดยไม่คำนึงถึงช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด –19และวิกฤตทางการเงินโลกเมื่อปี 2008 นาย Pierre-Olivier Gourinchas ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสของ IMF เผยว่า ถ้าราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงร้อยละ 0.15 นาง เอ็นโกซี โอคอนโจ-อิเวียลา  ผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลกได้เตือนว่า

  “เราไม่สามารถวางใจได้ว่า การปะทะนี้จะบานปลายไปทั่วภูมิภาคหรือไม่ ถ้าหากสิ่งนี้เกิดขึ้น ก็จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจโลก  พวกเราหวังว่า การปะทะนี้จะยุติโดยเร็ว”

สิ่งที่น่าสนใจคือ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า นี่คือความไม่มั่นคงของเศรษฐกิจโลก นาย Brennan McKenna ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของธนาคาร  Wells Fargo ของสหรัฐเผยว่า  การปะทะในฉนวนกาซาได้ส่งผลให้กระบวนการโลกาภิวัตน์ชะลอตัวลงอีกซึ่งเรื่องนี้มีความชัดเจนมากขึ้นหลังวิกฤตโควิด -19 และการปะทะในยูเครน คุกคามต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในบางภูมิภาค โดยเฉพาะสหรัฐและสหภาพยุโรป.

คำติชม