ทหารยูเครน (New York Times) |
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปี 2022 นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ประกาศเปิด “ยุทธนาการทางทหารพิเศษ” ในยูเครน ซึ่งถือเป็นการปะทะทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การเผชิญหน้าในทุกด้าน
ภายหลัง 2 ปีที่เกิดการปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครน ความรุนแรงในสนามรบยังไม่คลี่คลายลง ไม่มีการระบุตัวเลขจำนวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บอย่างเป็นทางการจากทั้งสองฝ่าย แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารทั่วโลกต่างมีความเห็นว่า มีทหารรัสเซียและยูเครนหลายแสนนายได้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ส่วนความเสียหายด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐานและศักยภาพระดับชาติของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะยูเครนไม่สามารถประเมินได้ เพราะจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปะทะไม่มีสัญญาณที่จะยุติลง
นอกจากนั้น การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลกระทบในระดับโลกจึงทำให้สถานการณ์ความมั่นคงในยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่ยุโรป โครงสร้างความมั่นคงใหม่กำลังก่อตัวขึ้นเมื่อ 2 ประเทศในยุโรปเหนือ ได้แก่ ฟินแลนด์และสวีเดนตั้งใจทิ้งุนโยบายถือตัวเป็นกลางที่ปฏิบัติมาเป็นเวลาหลายทศวรรษเพื่อเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต ในขณะเดียวกัน ประเทศยุโรปที่เป็นสมาชิกนาโตก็เพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าคือ ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกได้พังทลายลงอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากการปะทะในยูเครนได้เพิ่มความเสี่ยงของการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างทั้งสองฝ่าย ในหลายวันที่ผ่านมา ประเทศต่างๆในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน โปแลนด์ โรมาเนียและ 3 ประเทศแถบบอลติกได้ประกาศว่า เตรียมพร้อมต่อความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะกับรัสเซียในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งถ้าหากเรื่องนี้เกิดขึ้นจะทำให้โลกตกเข้าสู่ภัยคุกคามแห่งการคงอยู่ ความเสี่ยงนี้บวกกับการปะทะระหว่างกลุ่มฮามาสกับอิสราเอลในฉนวนกาซา และความตึงเครียดในพื้นที่อื่นๆ ได้ทำให้นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติต้อเตือนว่า
“ปัจจุบัน ระเบียบโลกไม่ได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โลกกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายที่ส่งผลกระทบต่อการคงอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ กำลังเกิดความแตกแยกที่รุนแรงที่สุดในรอบ 75 ปีที่ผ่านมา”
ปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณที่ทำให้เห็นว่า รัสเซีย ยูเครนและฝ่ายตะวันตกจะยอมรับการประนีประนอม ประเทศตะวันตกได้บังคับใช้มาตรการคว่ำบาตร 12 รอบ ที่ครอบคลุมในเกือบทุกด้านต่อรัสเซีย แต่อย่างไรก็ตาม แรงกดดันทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจจากฝ่ายตะวันตกยากที่จะทำให้มอสโคว์เปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์ได้เนื่องจากเศรษฐกิจรัสเซียยังคงมีความแข็งแกร่งแม้เผชิญกับความยากลำบากและมีการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.6 เมื่อปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ นาย วลาดีเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียได้ยืนยันว่า รัสเซียไม่สนใจถึงการถูกตัดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและพลังงานทั้งหมดกับยุโรป
“ยิ่งรัสเซียพึ่งพาพลังงานน้อยลงเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น เนื่องจากภาคเศรษฐกิจที่ไม่ใช้พลังงานของรัสเซียกำลังเติบโตเร็วกว่าเมื่อก่อน หาเงินง่ายก็จ่ายง่าย แต่เมื่อต้องคิดต่างก็จะมีกลไกใหม่ๆ ซึ่งสิ่งนี้กำลังเกิดประสิทธิผลต่อรัสเซีย ส่วนยุโรป ปล่อยให้พวกเขาตัดสินใจเอง ถ้าพวกเขาต้องการพลังงานจากรัสเซีย พวกเขาก็จะได้ ”
นาย อันโตนีโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ (AFP) |
แสวงหาโอกาสในการแก้ไขปัญหาผ่านมาตรการทางการทูต
การเผชิญหน้าที่ที่เพิ่มขึ้นระหว่างรัสเซียกับยูเครนและฝ่ายตะวันตกในปัจจุบันทำให้ความหวังเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผ่านมาตรการทางการทูตเพื่อยุติการปะทะมีความเปราะบางมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่า การทูตเป็นเพียงทางเลือกเดียว ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมความมั่นคงมิวนิกในระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ ณ เยอรมนี นาย อเล็กซานเดอร์ สตับบ์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของฟินแลนด์ได้แสดงความเห็นว่า การประชุมเพื่อแสวงหาสันติภาพในยูเครน เช่น การประชุมที่จัดโดยยูเครนและสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นในเดือนมีนาคมต้องได้รับการส่งเสริมถึงแม้ว่า ในเฉพาะหน้าจะไม่มีการเข้าร่วมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการปะทะ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้นำของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมนาโตเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมายอมรับว่า ฝ่ายตะวันตกไม่สามารถตั้งความหวังที่จะแก้ไขการปะทะในยูเครนแต่เพียงฝ่ายเดียวได้
“ผมคิดว่า ปัญหาที่สำคัญคือ ต้องมีประเทศต่างๆ เช่น อินเดีย จีน ซาอุดิอาระเบีย ไนจีเรีย แอฟริกาใต้และบราซิลเข้าร่วมการประชุม และเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง เราทุกคนหวังว่า รัสเซียจะเข้าร่วมการเจรจา แต่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อแรงกดดันจากนานาชาติมีความแข็งแกร่งเพียงพอเท่านั้น และแรงกดดันนั้นต้องมาจากฝ่ายอื่นไม่ใช่ฝ่ายตะวันตก เพราะฝ่ายตะวันตกเกี่ยวข้องในการปะทะนี้”
สำหรับการปะทะในปัจจุบัน อุปสรรคในการแสวงหามาตรการแก้ไขทางการทูตมาจากหลายฝ่าย เมื่อปีที่แล้ว นาย โวโลดีมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนได้ลงนามกฤษฎีกาโดยห้ามการเจรจากับรัสเซียไปจนกว่าประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน จะหมดวาระ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายรัสเซียถึงแม้จะประกาศว่า พร้อมเจรจา แต่เสนอให้ยูเครนและฝ่ายตะวันตกยอมรับ “ความเป็นจริงของดินแดนใหม่” ซึ่งเป็นสิ่งที่ยูเครนปฏิเสธมาโดยตลอด ศาสตราจารย์ Ulrich Bruckner ที่วิจัยเกี่ยวกับยุโรปของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐ ซึ่งมีสาขาในกรุงเบอร์ลินได้แสดงความเห็นว่า ประชามติในยุโรปส่วนใหญ่ในปัจจุบันยังคงคิดว่า การปะทะระหว่างรัสเซียกับยูเครนไม่เพียงแต่เป็นการพิพาทด้านดินแดนเท่านั้น หากยังเป็นสงครามภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซียกับฝ่ายตะวันตกอีกด้วย ดังนั้น ความพยายามทางการทูตจึงเป็นเรื่องยากที่จะได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆจนกว่าการสู้รบในสนามรบจะมีผลที่ชัดเจน.