นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง เข้าร่วมการประชุม GMS ครั้งที่ 7 ปี 2021 ผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (VNA) |
อนุภูมิภาคแม่โขงมีบทบาทสำคัญด้านภูมิยุทธศาสตร์ แต่ก็ต้องรับมือความท้าทายใหม่ๆ ในสภาวการณ์ที่โลกและภูมิภาคกำลังมีความซับซ้อนยากที่จะคาดเดาได้ ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามพร้อมกับผู้นำประเทศสมาชิกจะร่วมกันกำหนดและผลักดันการปฏิบัติโครงการที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ของอนุภูมิภาคนี้ เพื่อแปรวิสัยทัศน์พัฒนาเป็นอนุภูมิภาคที่รุ่งเรือง ผสมผสานและกลมกลืนให้เป็นความจริง
หามาตรการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน
โครงการร่วมมืออนุภูมิภาคแม่โขงขยายวงหรือ GMS ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1992 ตามความคิดริเริ่มของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียหรือเอดีบี รวม 6 สมาชิก ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย และเขตปกครองตนเองกวางสีและหยูหนายของจีน
ในตลอด 22 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การเปิดตัวกลไกความร่วมมือ GMS ด้วยความพยายามของทุกฝ่าย รวมทั้งการสนับสนุนของธนาคารเอดีบีและนักอุปถัมภ์ต่างๆ บรรดาประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและจีนได้ประสบผลที่น่ายินดีต่างๆ ซึ่งโดดเด่นที่สุดคือการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานผ่านโครงการร่วมมือใหญ่ๆ ในแต่ละเขตและแต่ละระเบียงเศรษฐกิจ เช่น ระเบียงเศรษฐกิจเหนือจรดใต้ NSEC ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกหรือ EWEC และระเบียงเศรษฐกิจทางทิศใต้หรือ SEC เป็นต้น ส่วนความร่วมมมือด้านเศรษฐกิจ GMS ก็สามารถระดมเงินทุนจำนวนมากให้แก่โครงการต่างๆ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในกรอบของ GMS ก็ประสบผลที่น่ายินดีในหลายปีที่ผ่านมา เช่น พลังงาน สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว การเกษตรและพัฒนาชนบท การพัฒนาตัวเมืองเลียบตามระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในกรอบ GMS ยังคงต้องรับมือความท้าทายต่างๆ เช่น การพัฒนาของสมาชิกยังอยู่ในระดับต่ำ แหล่งเงินทุนให้แก่การพัฒนายังมีไม่มากนัก ควบคู่กันนั้น ความท้าทายใหม่ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงใหม่ของสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ก็นับวันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสมาชิก ดังนั้น ในการประชุม GMS 8 ผู้นำประเทศต่างๆ จะประสานงานและปรับปรุงนโยบายความร่วมมือในระดับมหภาคต่อไป รณรงค์ความร่วมมือจากหุ้นส่วนพัฒนาในการสนับสนุนด้านการเงิน นโยบาย เพิ่มทักษะความสามารถ สนับสนุนด้านเทคนิค แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ ลดผลเสียหายและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พัฒนาแหล่งน้ำในเขตที่ราบลุ่มแม่โขงตอนล่าง ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาแหล่งบุคลากร เป็นต้น
เวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดกาประชุม GMS ครั้งที่ 6 ปี 2018 (VNA) |
เวียดนามพยายามร่วมจัดทำยุทธศาสตร์ให้แก่การพัฒนาของ GMS ถึงปี 2030
เวียดนามเข้าร่วมโครงการร่วมมือ GMS อย่างเข้มแข็งนับตั้งแต่ที่กลไกนี้ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 1992 ซึ่งนำไปสู่ผลที่น่ายินดีในด้านเศรษฐกิจและการแก้ปัญหาความยากจนในภูมิภาค พร้อมทั้งมีส่วนร่วมเพิ่มการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาค ปัจจุบันนี้ เวียดนามเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการจัดตั้งและพัฒนา 3 ระเบียงเศรษฐกิจสำคัญของ GMS คือระเบียงเหนือจรดใต้ ระเบียงตะวันออก – ตะวันตกและระเบียงริมฝั่งทะเลทางทิศใต้ จากการสนับสนุนของประชาคมระหว่างประเทศและส่วนร่วมของเวียดนาม ถึงขณะนี้ โครงการพื้นฐานที่สำคัญของ GMS ได้รับการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย รวมทั้งการเปิดใช้งานของระบบคมนาคมหลักๆ ที่สนับสนุนให้แก่การเดินทางและขนส่งสินค้าในอนุภูมิภาค
จากความได้เปรียบในทุกด้านและความพยายามร่วมมืออย่างเข้มแข็ง เวียดนามนับวันมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศต่างๆ ใน GMS มากขึ้น พร้อมทั้งเป็นสมาชิกที่กระตือรือร้นในความร่วมมือระหว่าง GMS กับหุ้นส่วนภายนอก โดยเฉพาะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มใน GMS ดังนั้น ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามจะเสนอเนื้อหาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไปบนพื้นฐานของจุดแข็งและความสามารถของเวียดนามเพื่อเข้าร่วมโครงการร่วมมือต่างๆ ของ GMS ได้อย่างเข้มแข็ง โดยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสานงานในการใช้แหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ปกป้องป่า ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ โดยเฉพาะเวียดนามและผู้นำ GMS จะอนุมัติยุทธศาสตร์การพัฒนาของ GMS ถึงปี 2030 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในความร่วมมือมากขึ้น เพื่อเป้หมายการพัฒนาอนุภูมิภาคแม่โขงที่ยั่งยืนมากขึ้น
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขงหรือACMECS ครั้งที่ 10 การประชุมผู้นำความร่วมมือกัมพูชา-ลาว-เมียนมาร์-เวียดนาม หรือ CLMV ครั้งที่ 11 ซึ่งถือเป็นโอกาสให้ผู้นำทุกท่านหารือเกี่ยวกับการผลักดันความร่วมมือทวิภาคี การขยายตัวของเศรษฐกิจ การเพิ่มโอกาสมีงานทำและการลดช่องว่างเกี่ยวกับรายได้ระหว่างประเทศสมาชิก.