เวียดนามอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมือง

Chia sẻ

(VOVWORLD) -นาฏศิลป์พื้นเมืองถือเป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่ ซึ่งนาฏศิลป์พื้นเมืองไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการทางจิตใจของประชาชนเท่านั้นหากยังแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติอีกด้วย  ในสภาวการณ์ที่เวียดนามกำลังสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ก้าวหน้าและเป็นเอกลักษณ์ หน่วยงานวัฒนธรรมเวียดนามได้ให้ความสนใจพิเศษต่องานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมความดีเลิศของนาฏศิลป์พื้นเมือง

 
 
เวียดนามอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมือง - ảnh 1การฟ้อน Xòe พื้นเมืองของชาวเผ่าไทในอำเภอโหมกโจว จังหวัดเซินลา (Photo: TTXVN)

เวียดนามมี 54 ชนเผ่าและแต่ละชนเผ่าก็มีนาฏศิลป์พื้นเมืองของตนเอง ซึ่งรูปแบบการแสดงมักสะท้อนวิถีชีวิต การทำงานและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของแต่ละชุมชน แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และความงามของชุมชน นอกจากการมีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่าแล้ว นาฏศิลป์พื้นเมืองยังแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของภาคต่างๆ เช่น การระบำของชาวเตยเงวียนมีท่ารำที่อ่อนช้อย  ส่วนนาฏศิลป์พื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในเขตตะวันตกเฉียงเหนือจะมีความคึกคัก  ส่วนของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงจะเน้นท่ารำที่อ่อนช้อย ชาวเผ่าเหมื่องนิยมการระบำไม้ไผ่ ชาวเผ่าไทมีการรำงอบและการฟ้อน xoe    ชาวเผ่าเขมรมีการระบำ Xayăm และโหร่มวง เป็นต้น     ส่วนนาฏศิลป์พื้นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆ ก็มีเช่น การระบำในพิธีเข้าทรง กิมปางแทนของชาวเผ่าไท หรือการระบำในพิธีเกิ๊บซักของชาวเผ่าเย้า เป็นต้น  นอกจากนี้ ก็ยังมีนาฏศิลป์ชาววังของชุมชนชาวเวียดและชาวเผ่าจามอีกด้วย 

ในสังคมสมัยใหม่ นาฏศิลป์พื้นเมืองมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาศิลปินในสาขาดังกล่าว  ดังนั้น การอนุรักษ์ ส่งเสริมคุณค่าของนาฎศิลป์พื้นเมืองจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสำนักงานที่เกี่ยวข้อง นาง เจืองถิหงอกบิ๊ก หัวหน้าสาขาวิชานาฏศิลป์ สถาบันนาฏศิลป์เวียดนาม เห็นว่า

ขั้นตอนแรกของการอนุรักษ์ คือการรวบรวมและทำวิจัยเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีและแหล่งที่มาของการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองต่าง ๆถ้าอยากอนุรักษ์  การบริหารและการปฏิบัติต้องมีความพร้อมเพรียง ต้องมีการจัดการสัมมนาและการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ด้านนาฏศิลป์ 

ระบำพื้นเมืองนับพันรูปแบบของชนเผ่าต่างๆในเวียดนามได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักออกแบบท่าเต้นในการผลิตผลงานศิลปะต่างๆ ศิลปินประชาชน เหงวียนวันกวาง เผยว่า การยกระดับนาฏศิลป์พื้นเมืองให้มีความเป็นมืออาชีพในเวียดนามมีเป้าหมายเพื่อป้องกันรักษาคุณค่าและไม่ให้การแสดงเหล่านี้สูญหายไป ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของนักออกแบบท่าเต้นรุ่นใหม่ของเวียดนาม

เวียดนามอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์พื้นเมือง - ảnh 2สตรีชนเผ่าเหมื่องระบำไม้ไผ่

นาฏศิลป์พื้นเมืองถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่อันล้ำค่า เป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนานาฏศิลป์ของชาวเวียดนาม ศิลปะเภทนี้ต้องได้รับการอนุรักษ์และพัฒนา นาง เจืองถิหงอกบิ๊ก หัวหน้าสาขาวิชานาฏศิลป์ สถาบันนาฏศิลป์เวียดนาม เห็นว่า

“ต้องธำรงบทบาทที่สำคัญของนาฏศิลป์พื้นเมืองซึ่งถือเป็น soft power ที่สามารถใช้พัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมชื่อเสียงและสถานะของเวียดนามในเวทีระหว่างประเทศ เวียดนามมีความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประชาชาติ”

เพื่อส่งเสริมคุณค่าและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของนาฏศิลป์พื้นเมืองต้องมีแนวคิดและวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ให้แก่การพัฒนาหน่วยงานนาฏศิลป์เวียดนาม ซึ่งในนั้น การลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อให้บรรดาศิลปินได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาให้มีความเป็นมืออาชีพ    ยกระดับคุณค่าของนาฏศิลป์พื้นเมืองถือเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม  ควบคู่กันนั้น ต้องใช้ประโยชน์และส่งเสริมคุณค่าของนาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคและชนเผ่าต่างๆอย่างเหมาะสมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเพื่อเผยแพร่ศิลปะนี้ทั้งภายในและต่างประเทศ นี่เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของการระบำพื้นเมืองของชนเผ่าต่างๆในสภาวการณ์ปัจจุบัน.


คำติชม