แจ่วคือการแสดงละครเวทีพื้นเมืองของเวียดนาม (VNP) |
แจ่วคือการแสดงละครเวทีพื้นเมืองของเวียดนาม โดยแสดงในเทศกาลพื้นเมืองต่างๆเพื่อขอบคุณเทพเจ้าทั้งหลายที่คอยดูแลปกป้องและให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ตามเอกสารต่างๆ ศิลปะแขนงนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 10 ที่กรุงเก่าฮวาลือในจังหวัดนิงบิ่งและได้รับการเผยแพร่ทั่วเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง โดยเฉพาะจังหวัดท้ายบิ่ง เมืองท่าไฮฟอง จังหวัดห่านาม จังหวัดฮึงเอียน กรุงฮานอย รวมถึงเขตภาคกลางตอนบนและเขตเขาภาคเหนือ
ถึงแม้จังหวัดนิงบิ่งคือถิ่นกำเนิดของศิลปะการแสดงแจ่ว แต่หมู่บ้านควกในตำบลฟองโจว์ อำเภอดงฮึง จังหวัดท้ายบิ่งกลับเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาของศิลปะการแสดงแจ่วมากที่สุดและสามารถอนุรักษ์เพลงทำนองแจ่วโบราณหลายเพลง ศิลปินยอดเยี่ยม ฝ่ามถิเก่ย ได้เผยว่า
“หมู่บ้านควกสามารถอนุรักษ์เพลงทำนองแจ่วโบราณ 18 เพลงและเทคนิคการร้องเพลงแบบดั้งเดิม ซึ่งสำหรับเพลงเหล่านี้ ร้องค่อนข้างยาก”
ทั้งนี้ เพลงทำนองแจ่วมีเนื้อร้องที่ใช้คำหลายความหมายและการเปรียบเทียบที่บรรยายเรื่องต่างๆ วิถีชีวิตในชนบท ยกย่องคุณสมบัติอันสูงส่ง วิจารณ์สิ่งไม่ดี ความอยุติธรรม แสดงความรัก ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความเมตตา เมื่อก่อน ได้มีการแสดงแจ่วบริเวณด้านหน้าศาลาประจำหมู่บ้าน วัดและบ้านของครอบครัวที่มีฐานะ โดยการจัดฉากบนเวทีเรียบง่ายมาก ปูเสื่อบนพื้นและเตรียมฉากข้างหลัง นักดนตรีจะนั่งเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น กลอง ขลุ่ย ซออู้ ด่านแจงหรือจีนเรียกว่า กู่เจิง ที่ด้านข้างฉากส่วนผู้ชมยืนชมการแสดงทั้งบริเวณด้านหน้าและสองข้างของฉาก ปัจจุบัน มีการแสดงแจ่วบนเวทีขนาดใหญ่ที่มีการใช้ระบบแสงสีเสียงที่ทันสมัยและมีการปรับปรุงเนื้อหาบทละครให้เหมาะกับผู้ชมในปัจจุบัน
ศิลปินยอดเยี่ยม ฝ่ามถิเก่ย |
ถึงแม้มีการปรับปรุงต่างๆให้สอดคล้องกับการพัฒนาในปัจจุบัน แต่การแสดงแจ่วยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของศิลปะพื้นเมืองที่ประกอบด้วย การร้อง รำและการแสดงละคร รองศ.ดร. ห่าถิฮวา จากมหาวิทยาลัยครุศาสตร์นาฏศิลป์ส่วนกลางได้วิเคราะห์ว่า
“แจ่วคือละครร้อง ซึ่งแสดงในงานเทศกาล โดยมีการร้องเพลงทำนองซวาน ทำนอง “วัน” ทำนอง “ghẹo” ทำนอง “đúm” และทำนองกวานเหาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ส่วนเนื้อร้องและชุดแต่งกายของศิลปินก็สะท้อนภูมิปัญญาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ”
ในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก เวียดนามกำลังผลักดันการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของศิลปะการแสดงแจ่ว รวมถึงการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับศิลปะการแสดงแจ่วให้ยูเนสโกรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ รองศ.ดร. ห่าถิฮวา จากมหาวิทยาลัยครุศาสตร์นาฏศิลป์ส่วนกลางได้เผยต่อไปว่า
“นี่เป็นโอกาสที่ดีเพื่อประชาสัมพันธ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติในประเทศต่างๆทั่วโลก อีกทั้งเป็นโอกาสให้ศิลปินและนักวิจัยได้เรียนรู้ในเชิงลึกและประชาสัมพันธ์การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของศิลปะการแสดงแจ่วอย่างกว้างขวางมากขึ้น”
แจ่วคือศิลปะการแสดงละครเวทีพื้นเมืองที่กล่าวถึงวิถีชีวิตในชนบท การอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแจ่วเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติและมีส่วนร่วมอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในโลก.