ผ้าขาวม้า ความงามทางวัฒนธรรมของภาคใต้เวียดนาม

Hồng Phương
Chia sẻ

(VOVWORLD) - การใช้ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและกลายเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชนในเขตตะวันตกภาคใต้  เมื่อเร็วๆนี้ นักวิจัย เยิมหุ่ง ได้ระบุผ้าขาวม้าในหนังสือเรื่อง “วัฒนธรรมผ้าขาวม้า” เพื่อเผยแพร่เอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตตะวันตกภาคใต้

 
ผ้าขาวม้า ความงามทางวัฒนธรรมของภาคใต้เวียดนาม - ảnh 1การสวมใส่ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวันได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและกลายเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชนในเขตตะวันตกภาคใต้ 

ในพิธีเปิดตัวหนังสือเรื่อง“วัฒนธรรมผ้าขาวม้า”เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา นักวิจัย เยิมหุ่งได้เผยว่า ตั้งแต่ยุคบุกเบิกแผ่นดินภาคใต้ ชนเผ่าเหวียด ฮวา เขมรและจามในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้นิยมใช้ผ้าขาวม้าในชีวิตประจำวัน ทำให้พัฒนาเป็นวัฒนธรรมผ้าขาวม้าในท้องถิ่น ซึ่งหนังสือเล่มนี้มี 3 บท ประกอบด้วย “กระบวนการวัฒนธรรมผ้าขาวม้า”ที่ระบุถึงการสวมใส่ผ้าขาวม้าในการทำงาน ไปตลาด ไปเที่ยว รวมถึงวิถีชีวิตสายน้ำ ครอบครัว ทหารและชุมชนต่างๆในแผ่นดินภาคใต้  บทที่ 2 มีหัวข้อ“ผ้าขาวม้ากับกิจกรรมวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว”ที่ระบุถึงการสวมใส่ผ้าขาวม้าในการแสดงละครเวที ภาพยนตร์ การเดินแฟชั่นโชว์ การประกวดนางงาม การออกแบบชุดอ๊าวหย่ายและอ๊าวบ่าบาจากผ้าขาวม้าและการมอบผ้าขาวม้าเป็นของฝากสำหรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการเชื่อมโยงที่ใกล้ชิดระหว่างชุดอ๊าวบ่าบา ผ้าขาวม้าและงอบเวียดนาม  ส่วนสำหรับบทที่ 3 มีหัวข้อ “สื่อมวลชนกับความรักผ้าขาวม้า”ที่ระบุถึงบทความเกี่ยวกับผ้าขาวม้าที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า นักวิจัย เยิมหุ่ง ได้เผยว่า

ผ้าขาวม้ามีอายุหลายร้อยปี โดยได้รับการพัฒนาให้เหมาะกับยุคปัจจุบัน ผมเชื่อมั่นว่า ผ้าขาวม้าจะทรงคุณค่าตลอดกาลในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งผ่านหนังสือเล่มนี้ ผมขอฝากความเชื่อมั่นและความหวังของชาวบ้านไว้ที่คนรุ่นใหม่ที่รักวัฒนธรรมพื้นบ้าน รวมถึงผ้าขาวม้าเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและประเทศให้ก้าวรุดหน้าต่อไปบนพื้นฐานของการอนุรักษ์วัฒนธรรมของประชาชาติ”

ส่วนดร. เจิ่นฮิวเหียบ รองประธานสมาคมการท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เผยว่า หนังสือเรื่อง “วัฒนธรรมผ้าขาวม้า” ของนักวิจัย เยิมหุ่ง ได้ดึงดูดใจผู้อ่านเนื่องจากสื่อถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแผ่นดินภาคใต้

ผ้าขาวม้ามีความผูกพันกับการพัฒนาแผ่นดินภาคใต้ โดยตั้งแต่ยุคบุกเบิกของคนรุ่นก่อน สงครามครั้งต่างๆมาจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งมีการผสมผสานแฟชั่นสมัยใหม่ โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ชื่นชอบสวมใส่ผ้าขาวม้าเป็นจำนวนมาก”

ผ้าขาวม้า ความงามทางวัฒนธรรมของภาคใต้เวียดนาม - ảnh 2นักวิจัย เยิมหุ่งกับหนังสือเรื่อง “วัฒนธรรมผ้าขาวม้า” 

ก่อนเปิดตัวหนังสือเรื่อง “วัฒนธรรมผ้าขาวม้า”  นักวิจัย เยิมหุ่ง ได้เป็นที่ปรึกษาให้แก่กลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย FPT เกิ่นเทอจัดงานนิทรรศการและการเดินแฟชั่นโชว์งาน “ผ้าขาวม้า” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิดชูคุณค่าของผ้าขาวม้าการใช้ผ้าขาวม้าอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตปัจจุบันซึ่งมิใช่เป็นแค่ผ้าพันคอหรือผ้าโพกศีรษะเหมือนเช่นเคย คุณ เหยียวหมี หัวหน้ากลุ่มนักศึกษาที่จัดงานนิทรรศการ “ผ้าขาวม้า”ได้เผยว่า

“ดิฉันขอขอบคุณนักวิจัย เยิมหุ่ง เป็นอย่างมากที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของเขตตะวันตกภาคใต้  ซึ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นเมืองและการช่วยเหลือสนับสนุนของนักวิจัยเยิมหุ่งในการปฏิบัติโครงการนี้ทำให้เราชื่นชอบผ้าขาวม้ามากขึ้น โดยผ้าขาวม้ามีคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์และสะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น”

 ในชีวิตปัจจุบัน ภาพของชุดอ๊าวบ่าบาและผ้าขาวม้าปรากฎอย่างแพร่หลายในกิจกรรมการท่องเที่ยววิถีสายน้ำและการท่องเที่ยวสวนผลไม้ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง นาย เหงวียนแค้งตุ่ง หัวหน้าสถาบันเศรษฐศาสตร์และสังคมนครเกิ่นเทอได้ให้ข้อสังเกตว่า

“เมื่อเอ่ยถึงเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ก็ต้องพูดถึงชุดอ๊าวบ่าบา งอบ ผ้าขาวม้า ตลาดน้ำและการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื๋อ ซึ่งหลังการเปิดตัวหนังสือเรื่อง“วัฒนธรรมผ้าขาวม้า” หน่วยงานภาครัฐและทางการปกครองท้องถิ่นควรมีนโยบายอนุรักษ์และส่งเสริมการผลิตและหมู่บ้านทำผ้าขาวม้า อีกทั้งมีนโยบายพิเศษสำหรับคนรุ่นใหม่และช่างทอผ้าในการพัฒนาอาชีพเพื่อช่วยให้ผ้าขาวม้าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น”

ทั้งนี้ หนังสือเรื่อง “วัฒนธรรมผ้าขาวม้า”  เป็นผลงานลำดับที่ 31 ของนักวิจัย เยิมหุ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมืองของแผ่นดินภาคใต้ อันเป็นการยืนยันถึงผ้าขาวม้าที่เป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมในคลังวัฒนธรรมที่หลากหลายของแผ่นดินภาคใต้.

คำติชม