วัดนามตงเขมรในวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร

Ngọc Tươi
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ชนเผ่าเขมรส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนานิกายนามตง โดยวัดนามตงเขมรเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งเป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่าเขมร ดังนั้น จึงมีบทบาทสำคัญในวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร
 
วัดนามตงเขมรในวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร - ảnh 1พิธีเปิดพระอุโบสถของวัด Kinh Xáng จังหวัดจ่าวิง

ชนเผ่าเขมรมีประชากรกว่า 1.3 ล้านคน โดยส่วนใหญ่อาศัยในจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง เช่น อานยาง เกียนยาง ก่าเมา บากเลียว จ่าวิง ซอกจัง เป็นต้น แม้จะอยู่ร่วมกับชนเผ่ากิงห์ ชนเผ่าฮวาและชนเผ่าจาม แต่ชนเผ่าเขมรยังคงอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัดนามตงเขมรมีความผูกพันกับชุมชนเผ่าเขมรตั้งแต่วันที่ลืมตาดูโลกจนวันที่จากโลกนี้ไป นาย แถกเล หัวหน้าคณะบริหารของวัด Khươne ที่ แขวง 7 เมืองจ่าวิง จังหวัดจ่าวิงได้เผยว่า ชนเผ่าเขมรเคารพนับถือพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ดังนั้นวัดจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นศาสนสถานเพื่อให้ทุกคนได้ฝากความคาดหวังต่อชีวิตและอนาคตที่สดใส

“พี่น้องชนเผ่าเขมรไปทำบุญที่วัดในโอกาสงานสำคัญๆ เช่น งานทำขวัญทารกแรกเกิด งานทำขวัญเดือนและงานรับขวัญเด็กครบ 1 ปี สำหรับผู้ชายที่มีอายุครบ 12 ปีบริบูรณ์จะต้องไปบวชที่วัด นอกจากนี้ ยังมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีสวดพระพุทธมนต์”

 นอกจากเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว วัดยังเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและเป็นสถานที่จัดงานเทศกาลต่างๆของหมู่บ้าน

นาง แถกถิเฮียน อาศัยที่หมู่บ้านหยี่ ตำบลเตินหุ่ง อำเภอเตี๊ยวเกิ่น จังหวัดจ่าวิง ได้เผยว่า ชนเผ่าเขมรมีเทศกาลสำคัญๆตลอดทั้งปี เช่น งานปีใหม่ Chol Chnam Thmay ประเพณีแซนโฎนตา เทศกาล Ok Om Bok งานวันเข้าพรรษา ซึ่งเป็นโอกาสเพื่อให้ชาวบ้านพบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ

ชาวบ้านไปทำบุญที่วัดในโอกาสวันงานสำคัญๆ อีกทั้งพบปะสังสรรค์ ศึกษาพระธรรมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งช่วยให้ชาวบ้านสามัคคีกันและเสริมสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นมากขึ้น”

ส่วนนาย แถกยา หัวหน้าคณะบริหารของวัด SôVanhNihKroth Chrêy Phê ที่ตำบลเตินหุ่ง อำเภอเตี๊ยวเกิ่น จังหวัดจ่าวิงได้เผยว่า วัดนามตงเขมรถือเป็นสถานที่เก็บรักษาคุณค่าทั้งด้านวัตถุและจิตใจของชนเผ่าเขมร อีกทั้งเป็นสถานที่ให้การศึกษาพระธรรมเพื่อนำมาใช้ในการครองชีวิต ตลอดจนเป็นสถานที่สอนภาษาเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม ภาษาพูดและภาษาเขียนของชนเผ่าเขมร

“วัดนามตงเขมรเป็นสถานที่อนุรักษ์วัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีผ่านการจัดแสดงเครื่องใช้ในครัวเรือนและแนะนำหมู่บ้านศิลปหัตถกรรม การสอนเล่นเครื่องดนตรีหงูเอิม ภาษาเขมรและพระธรรมให้แก่เด็กๆเพื่อช่วยให้เด็กๆมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับรากเหง้า อีกทั้งมีส่วนร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร”

วัดนามตงเขมรในวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมร - ảnh 2นาย แถกยา หัวหน้าคณะบริหารของวัด SôVanhNihKroth Chrêy Phê (คนที่สองนับจากซ้าย)

ทั้งนี้ จากการเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและกิจกรรมของชุมชนทำให้วัดนามตงเขมรยังเป็นสถานที่เผยแพร่แนวทาง นโยบายและกฎหมายของพรรคและรัฐ พระมหาเถระ เยืองวันนา นายกสมาคมสามัคคีพระภิกษุสงฆ์ที่รักชาติเมืองจ่าวิง จังหวัดจ่าวิงได้ยืนยันว่า

“ในกิจกรรมทางศาสนา นอกจากให้การศึกษาพระธรรมแล้ว ยังมีการเผยแพร่แนวทางและนโยบายของรัฐ ให้คำปรึกษาและแนะนำรูปแบบการประกอบอาชีพต่างๆให้แก่ชาวบ้านเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาบ้านเกิดและประเทศ ตลอดจนเผยแพร่นโยบายใหม่สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์และการยกเลิกประเพณีที่ล้าหลัง”

ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงมีวัดนามตงเขมร 446 แห่ง ซึ่งสะท้อนคุณค่าทางจิตวิญญาณ ความเลื่อมใสศรัทธาและเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรและมีบทบาทที่สำคัญในชีวิตทางจิตใจของชาวบ้าน.

คำติชม