|
นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ช่วงเวลาที่ปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดเช่น การแยกตัวและเว้นระยะห่างทางสังคม หลายคนได้กลับมาฟื้นฟูนิสัยการอ่านหนังสือเพื่อคลายเคลียดในช่วงเวลาว่าง โดยกรมห้องสมุด แห่งกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ก็ได้ส่งเสริมโครงการ “อ่านหนังสือกับคุณ” ผ่านการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต่างๆเพื่อพัฒนาทักษะและวิธีการอ่าน ส่วนกิจกรรมแนะนำหนังสือออนไลน์ของห้องสมุดต่างๆทั่วประเทศก็ได้รับการส่งเสริมอย่างเข้มแข็งตลอดจนมีความคิดริเริ่มในการให้บริการผู้อ่านยืมหนังสือทางอีเมลและส่งหนังสือถึงบ้านผู้อ่าน เปิดบริการอ่านหนังสือฟรีสำหรับนักเรียนและนักศึกษาในช่วงที่ต้องหยุดเรียนชั่วคราว รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านในการใช้ห้องสมุดออนไลน์ เป็นต้น ส่วนที่นครโฮจิมินห์มีหลายพันครอบครัวได้รับหนังสือและนิตยสารจากโครงการ "มอบหนังสือในช่วงเว้นระยะห่าง" ซึ่งจัดโดยกองเยาวชนฯนคร ร่วมกับสมาคมสำนักพิมพ์เวียดนาม สำนักงานสารสนเทศและการสื่อสารนครโฮจิมินห์ และบริษัท เดื่องแซก นครโฮจิมินห์ นาย เลหว่าง รองประธานสมาคมสำนักพิมพ์เวียดนามกล่าวว่า “สำหรับผู้ที่อยู่ในเขตแยกตัวความต้องการในการอ่านมีมากขึ้น เราจึงเปิดกิจกรรมนี้และรณรงค์สำนักพิมพ์ บริษัทขายหนังสือเพื่อบริจาคหนังสือกระดาษ, e-book และหนังสือเสียง ที่ส่วนใหญ่เป็นหนังสือวิทยาศาสตร์, หนังสือให้ความรู้, เรื่องสั้น, นวนิยาย, หนังสือเสริมทักษะชีวิต, หนังสือวรรณกรรม, การ์ตูน เป็นต้น ที่เหมาะสำหรับผู้อ่านหลายวัยแล้วส่งมอบสิ่งพิมพ์ให้กับผู้คนในพื้นที่ปิดล้อม โดยจนถึงปัจจุบัน มีหนังสือมากกว่า 10,000 เล่ม, หนังสือวิดีโอ 2,000 เล่ม และ e-book มากกว่า 100 เล่มได้ส่งถึงประชาชน”
การส่งหนังสือถึงครอบครัวต่างๆในช่วงเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นกิจกรรมที่มีความหมายเพื่อช่วยให้ประชาชนเพิ่มอาหารทางใจที่เอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการป้องกันโรค คุณเหงวียนกิมแอวง ในเขตบิ่งแถงเผยว่า เธอรู้สึกอบอุ่นใจมากเมื่อเห็นสมาชิกกองเยาวชนมามอบหนังสือที่บ้านในช่วงปฏิบัติมาตรการเว้นระยะห่าง “การอ่านหนังสือในช่วงเวลาว่างเป็นสิ่งที่มีความหมาย ตัวฉันเองก็อยากจุดประกายความรักการอ่านหนังสือให้แก่เด็ก ดังนั้นแต่ละวันเราให้เวลาอ่านหนังสือกับลูกบ้างเพื่อปลูกฝังนิสัยการอ่านหนังสือให้เด็ก”
การอ่านหนังสือในช่วงเวลาว่างเพื่อป้องกันโรคระบาดเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับการขานรับอย่างเข้มแข็งจากประชาชนหลายท้องถิ่นโดยมีการจัดตั้งกลุ่มผู้อ่านในเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อแลกเปลี่ยนหัวเรื่องที่น่าสนใจ แนะนำหนังสือที่น่าอ่านให้แก่กันตลอดจนได้มีการรณรงค์ขบวนการ “อ่านหนังสือวันละ30นาที” “อ่านหนังสือเพิ่มความสุข” เป็นต้น ที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนจำนวนมาก
“อ่านหนังสือแล้วนำความรู้ไปใช้ในชีวิตก็มีประโยชน์มาก ดิฉันโพสต์หนังสือบน Facebook ให้นักเรียนและพ่อแม่ของพวกเขาร่วมกันดูและยังให้เด็กยืมหนังสือไปอ่าน ที่บ้านเพราะช่วงนี้นักเรียนเรียนออนไลน์ ดังนั้นก็เป็นโอกาสที่จะส่งเสริมการอ่านหนังสือเพื่อช่วยให้มีความเข้าใจและเพิ่มทักษะในการใช้ชีวิตที่ดีด้วย”
“ฉันสั่งซื้อหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านเพิ่มหลายเล่ม เมื่อมีเวลาว่างก็เริ่มไตร่ตรองเรื่องการดำเนินชีวิต แผนการที่วางไว้สำหรับอนาคต ให้การศึกษาแก่ลูกหลานให้รู้จักทำในสิ่งที่ดี การระบาดของโควิด-19 ทำให้เราสนใจหนังสือเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น”
การอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงเว้นระยะห่างทางสังคมถือเป็นงานที่มีประโยชน์ที่ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มพูนความรู้ได้อีกด้วย หนังสือเสมือนเป็นยารักษาทางจิตใจที่ช่วยให้ผู้คนรู้สึกสงบและมั่นใจในงานด้านการป้องกันโรคระบาด ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันตนเองจากโรคระบาด อีกทั้ง มีส่วนร่วมในการเผยแพร่วัฒนธรรมการอ่านให้กว้างขวางมากขึ้นในชุมชน./.