อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ในชุมชน

Hong Bac – Ngoc Anh – VOV.
Chia sẻ
(VOVworld) – เมื่อเร็วๆนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้มอบหนังสือรับรองความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความภาคภูมิใจของคนเวียดนามเท่านั้นหากยังเป็นการยืนยันถึงคุณค่าของมรดกดังกล่าวอีกด้วย


(VOVworld) – เมื่อเร็วๆนี้ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้มอบหนังสือรับรองความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นความภาคภูมิใจของคนเวียดนามเท่านั้นหากยังเป็นการยืนยันถึงคุณค่าของมรดกดังกล่าวอีกด้วย

อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ในชุมชน - ảnh 1

พิธีแสดงความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามประกอบด้วย พิธีบูชา พิธีเข้าทรง  การร้องเพลงทำนองเจิ่ววันและงานเทศกาล ซึ่งเราสามารถเห็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมเหล่านี้ในงานฝูใหญ่ในจังหวัดนามดิ๋งที่มีขึ้นในวันที่๓เดือน๓ตามจันทรคติ แต่อย่างไรก็ตาม พิธีแสดงความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่นั้นมีขึ้นในท้องถิ่นหลายแห่งทั่วประเทศเวียดนาม แต่จังหวัดนามดิ๋งถือเป็นศูนย์กลางของพิธีนี้และมีสถานที่บูชาเจ้าแม่ประมาณ 400 แห่ง

หลังจากที่ความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมปี 2016 หน่วยงานวัฒนธรรมเวียดนามได้ปฏิบัติแผนการต่างๆเพื่อปกป้องและส่งเสริมคุณค่าของมรดกแห่งนี้ ซึ่งประกอบด้วย ทำการวิจัยและเรียบเรียงพิธีกรรมต่างๆ ศ.ดร. เหงียนชี้เบ่น อดีตหัวหน้าสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะเวียดนามอธิบายว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้ที่ทำพิธีแสดงความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่และประชาชนมีความเข้าใจว่า ไม่ใช่มีแค่พิธีเข้าทรงเท่านั้น หากยังมีเทศกาลและความคิดสร้างสรรค์ด้านวรรณกรรมอีกด้วย ต้องแยกระหว่างความเลื่อมใสกับความงมงายในพิธีกรรมนี้ให้ชัดเจน”

ทั้งนี้ นักวิจัยและผู้บริหารด้านวัฒนธรรมของเวียดนามได้จัดทำข้อกำหนดของการจัดพิธีกรรมการเข้าทรง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเส้นไหว้ ชุดแต่งกาย การแต่งหน้า ดนตรี เป็นต้น ดร.ลิวมิงห์จิ นายกสมาคมมรดกวัฒนธรรมทังลอง – ฮานอยแสดงความคิดเห็นว่า “พิธีเข้าทรงต้องมีความถูกต้องและเป็นไปตามตามข้อกำหนด ไม่มีการเลียนแบบทั้งในด้านการเคลื่อนไหว และเนื้อร้อง โดยเฉพาะต้องไม่มุ่งมั่นเรื่องเงิน มิฉะนั้นจะทำให้วัฒนธรรมที่ดีงามของเวียดนามสูญเสีย ดังนั้นต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์และมีการควบคุมอย่างเข้มงวด ปรับปรุงและแสดงความคิดเห็นอย่างค่อยเป็นค่อยไป"

อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ในชุมชน - ảnh 2

ในขณะเดียวกัน กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยวเวียดนามได้ประกาศ “แผนการปฏิบัติแห่งชาติเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมนามธรรมความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ของชาวเวียดนามระยะปี 2017-2020 โดยตั้งแต่ปี 2017-2019 จะยกระดับความรู้ในสังคมเกี่ยวกับพิธีเข้าทรง ฟื้นฟูเทศกาลที่เกี่ยวข้องต่างๆ เรียบเรียง วิจัยและจัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับความเลื่อมใสนี้ ส่วนในช่วงปี 2020-2022 จะผลักดันการสอนการร้องเพลงทำนองเจ่าวัน ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมรดก อัพเดทการตรวจสอบระดับประเทศเกี่ยวกับการแสดงความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่ในเวียดนาม ศ.ดร.โงดึ๊กถิง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและอนุรักษ์วัฒนธรรมความเลื่อมใสในเวียดนามเผยว่า  “ต้องแสวงหาวิธีการควบคุมให้เหมาะสมเพื่อช่วยให้ประชาชนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับคุณค่าของมรดก ถึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและปกป้องมรดกได้ ถ้าหากประชาชนไม่ขานรับอย่างเต็มที่ การอนุรักษ์มรดกของเราจะประสบความล้มเหลว”

การแสดงความเลื่อมใสบูชาเจ้าแม่สะท้อนจิตใจแห่งความไกล่เกลี่ยของประชาชาติ ซึ่งใครก็สามารถเข้าร่วมได้ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้านการเมือง ศาสนา อายุ เพศและอาชีพ การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกนี้จะช่วยยกระดับสถานะและบทบาทของมรดกวัฒนธรรมนี้ต่อสังคม เพิ่มสีสันให้แก่ภาพวัฒนธรรมที่หลากหลายของเวียดนามและมนุษย์.

คำติชม