(VOVworld)-การร้องและรำอ๋ายลาวเป็นพิธีกรรมด้านความเลื่อมไสที่มีขึ้นในเทศกาลเทพย้องของหมู่บ้านฝู่ด๋ง อ.ยาเลิม กรุงฮานอย โดยคณะศิลปะอ๋ายลาวจากหมู่บ้านโหยซ้าเขตลองเบียนเป็นผู้แสดง ซึ่งนับเป็นการร้องรำแบบโบราณที่ยังคงได้รับการสืบสานและอนุรักษ์อย่างสมบูรณ์จนถึงทุกวันนี้ เพราะศิลปะการร้องรำอ๋ายลาวนี้ไม่เพียงแต่มีลีลาคำร้องและท่ารำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเท่านั้นหากยังมีความหมายด้านความเลื่อมไส มีคุณค่าด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ควรได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป
การร้องและรำอ๋ายลาวเป็นหนึ่งในพิธีกรรมสำคัญของเทศกาลเทพย้อง(dangcongsan.vn)
|
ตามตำนานที่ชาวบ้านเล่าขานกัน การตั้งคณะศิลปะอ๋ายลาวมีความผูกพันกับตำนานเทพย้องคือในยุคกษัตริย์หุ่งเวืองที่6 ประเทศวัลลางถูกศัตรูจากทางเหนือรุกรานที่หมู่บ้านฝู่ด๋งก็ได้ปรากฎเทพย้องที่ขี่ม้าเหล็กขับไล่ศัตรูจนประสบชัยชนะ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจเทพย้องก็บินขึ้นสวรรค์ ซึ่งมารดาของเทพย้องที่อยู่ในหมู่บ้านฝู่ด๋งนั้นคิดถึงลูกของตนมาก กษัตริย์วัลลางที่6จึงทรงเห็นใจและสั่งให้เด็กๆในหมู่บ้านโหยซ้ามาร้องรำทำเพลงให้มารดาของเทพย้องได้คลายความคิดถึงลูกบ้าง และการร้องและรำอ๋ายลาวก็เริ่มปรากฎนับตั้งแต่ตอนนั้น นายเหงวียนจ๋องฮวิง หัวหน้าคณะอ๋ายลาวเผยว่า ปัจจุบันคณะของเขายังสามารถรักษาบทร้องโบราณได้12บท โดยแต่ละบทจะใช้ประกอบพิธีที่แตกต่างกัน เช่นบทร้องในพิธีถวายธูปเทียน บทร้องเพื่อสักการะที่วิหารเจ้าแม่ผู้ให้กำเนิดเทพย้อง หรือบทร้องที่เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาของตำนานเทพย้องและบทร้องแห่งชัยชนะ “การร้องอ๋ายลาวได้สร้างทำนองกลอนจาก2ประโยคเป็นสามประโยคด้วยการเสริมคำซ้ำคำซ้อน เครื่องดนตรีประกอบก็มีกลองมีเครื่องเคราะที่ควบคุมจังหวะร้อง”
การร้องและรำอ๋ายลาวไม่เพียงแต่มีความโดดเด่นเฉพาะในวิธีการร้องเท่านั้นหากเนื้อหาและคำศัพท์ก็แฝงไว้ซึ่งความหมายด้านจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งด้วย ซึ่งได้ช่วยสร้างบรรยากาศที่ฮึกเหินให้แก่งานเทศกาล รองศ.ดร.เหงวียนวันฮวี รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเผยว่า“การร้องรำแบบอ๋ายลาวเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมส่วนหนึ่งที่มีส่วนร่วมสร้างเอกลักษณ์พิเศษให้แก่เทศกาลเทพย้อง โดยทั้งแท้งย้องและผู้ที่ให้กำเนิดแท้งย้องต่างได้รับการยกย่องให้เป็นเทพ มีการสื่อถึงประวัติศาสตร์และความเลื่อมไสของชาวเวียดนาม ดังนั้นหากไม่ได้รับการถ่ายทอดให้ครบทุกบทร้องก็ทำให้การประกอบพิธีกรรมในงานไม่สมบูรณ์ ทำให้บทร้องเสียคุณค่าและอาจจะถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา”
(cand.com.vn)
|
นอกจากจุดเด่นในการผันคำศัพท์ในบทร้องแล้ว การแสดงก็มีกฎระเบียบที่เคร่งครัดคือต้องเป็นชายหนุ่มที่อาศัยในหมู่บ้านเท่านั้น นายเหงวียนบ๊าจ๋าน ผู้ที่มีประสบการณ์ในการร้องอ๋ายลาวมากว่า30ปีเผยว่า “มีแต่ชายหนุ่มของหมู่บ้านเท่านั้นที่สามารถเข้าคณะร้องรำอ๋ายลาวได้ ซึ่งปัจจุบันเราก็ต้องคิดเรื่องการสอนให้ชนรุ่นใหม่รู้จักเพราะผู้ที่รู้จักศิลปะนี้ในคณะมีอายุมากแล้ว หากได้รับการเผยแพร่ในโรงเรียนก็ถือเป็นเรื่องดี เมื่อเด็กๆได้เรียนรู้เราก็สามารถคัดเลือกคนที่มีความสามารถได้ง่ายขึ้น”
โดยที่ตระหนักดีถึงคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมนามธรรมนี้ ตั้งแต่ปี2015 สำนักงานวัฒนธรรมและกีฬาฮานอยได้ประสานกับศูนย์วิจัยและพัฒนาคุณค่าวัฒนธรรมดำเนินโครงการวิจัยและอนุรักษ์ประเพณีพื้นเมืองรวมทั้งการร้องและรำอ๋ายลาว” โดยจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมบทร้อง12บทพร้อมทั้งสร้างสารคดีเกี่ยวกับคุณค่าของศิลปะการแสดงดังกล่าวตลอดจนได้จัดทำเอกสารเพื่อยื่นให้กระทรวงวัฒนธรรมกีฬาและท่องเที่ยวพิจารณาระบุศิลปะการร้องอ๋ายลาวเข้าในรายชื่อมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การอนุรักษ์และพัฒนาตามแนวทางที่ยั่งยืน.