วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ”

To Tuan – VOV5
Chia sẻ
( VOVworld )- ในกรอบการประชุมประจำปีสมาพันธ์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอเชียครั้งที่ ๔หรือเอเอ็นเอ็มเอ ๔ ณ เวียดนาม  พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติเวียดนามได้จัดงานนิทรรศการในหัวข้อ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ”   โดยจัดแสดงวัตถุโบราณ สิ่งของวัตถุและมรดกวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศในแถบเอเชีย  โดยเฉพาะวัตถุโบราณที่ประเมินค่ามิได้ของเวียดนามก็ถูกนำมาจัดแสดง ทั้งนี้ทำให้วัฒนธรรมเอเชียมีสีสันอันหลากหลายมากขึ้น


( VOVworld )- ในกรอบการประชุมประจำปีสมาพันธ์พิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอเชียครั้งที่ ๔หรือเอเอ็นเอ็มเอ ๔ ณ เวียดนาม  พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติเวียดนามได้จัดงานนิทรรศการในหัวข้อ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ”   โดยจัดแสดงวัตถุโบราณ สิ่งของวัตถุและมรดกวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศในแถบเอเชีย  โดยเฉพาะวัตถุโบราณที่ประเมินค่ามิได้ของเวียดนามก็ถูกนำมาจัดแสดง ทั้งนี้ทำให้วัฒนธรรมเอเชียมีสีสันอันหลากหลายมากขึ้น
วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ” - ảnh 1
เครื่องเคลือบดินเผาลายโบราณของเวียดนาม 

งานนิทรรศการสีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชียถูกจัดขึ้นในบริเวณพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอยโดยได้จัดแสดงวัตถุโบราณที่มีค่าและเป็นเอกลักษณ์ของ ๑๐ ประเทศเอเชียได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ไทย อินโดนีเซีย พม่า กัมพูชา ลาวและเวียดนาม ซึ่งเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องตบแต่งและโต๊ะหมู่บูชาที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ทองคำ เซรามิก หิน ดินเผา นายเงวียนก๊วกหุ่ง รองหัวหน้าฝ่ายดูแลการจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติประวัติศาสตร์เวียดนามเปิดเผยว่า “ วัตถุสิ่งของที่นำมาจัดแสดงในงานนิทรรศการครั้งนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นอย่างดีและล้วนมีเอกลักษณ์เช่น ประติมากรรม ศิลปะพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู นอกจากนี้ยังมีศิลปะหัตกรรมพื้นเมืองของแต่ละประเทศแถบเอเชียเช่น ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาของจีน เครื่องแลกเกอร์ของญี่ปุ่น เครื่องประดับมุขของไทยและเครื่องเงินเครื่องทองของเวียดนาม

เวียดนามมีโบราณวัตถุหลายชิ้นจัดวางแสดงในงาน แต่ไฮไลท์คือ กลองมโหระทึกดึกดำบรรพ์ ดงเซินที่มีก่อนหน้านี้ประมาณ ๒,๐๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ ปี ซึ่งเป็นช่วงวัฒนธรรมดงเซินพัฒนาอย่างรุ่งเรืองและถิ่นเกิดคือภาคเหนือและภาคกลางตอนบน บนหน้ากลองสลักรูปดวงอาทิตย์ส่องแสงอันเป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับฤดูปลูกข้าวของคนเวียดนามที่ผูกพันกับการทำนาดำ รูปอื่นๆเช่น วัว ควาย รวงข้าว นาดำ  อีกทั้งยังสลักอาชีพพื้นเมืองต่างๆของคนเวียดนามสมัยนั้นเช่น อาชีพถลุงโลหะ หัตถกรรมและการทำเกษตรอื่นๆได้แก่ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทอผ้า ปลูกผัก ดอกไม้และผลไม้ เลี้ยงสัตว์ ทำการประมง ล่าสัตว์ การค้าทางเรือและการเดินเรือ  ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กลองมโหระทึกดึกดำบรรพ์ที่กำเนิดจากอารยธรรมการปลูกข้าวนาดำและเป็นภูมิปัญญาของชาวเวียดโบราณที่มีความสามารถในการถลุงทองสัมฤทธิ์เป็นอันดับหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ผลงานศิลปะอันโดดเด่นของเวียดนามอีกชิ้นคือ รูปแกะสลักเจ้าแม่กวนอิมพันมือ ซึ่งเป็นที่สุดแห่งศิลปะการแกะสลักของพุทธศาสนาเวียดนามที่ถูกเก็บรักษาในวัดบุ๊ตท้าป ตำบลดิ่งโต่ อำเภอถ่วนแถ่ง จังหวัดบั๊กนินห์ ซึ่งทำจากไม้ขนุนสูง๓.๗ เมตร กว้าง ๒.๑ เมตรและหนา ๑.๑๕ เมตร รูปแกะสลักเจ้าแม่กวนอิมดูมีชีวิตชีวาที่สะท้อนจากดวงตาและมือ อีกทั้งสะท้อนทัศนะคติเกี่ยวกับศิลปะความสวยงามและแฝงปรัชญาแห่งโลกทัศน์ช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ ๑๗   นายเหงวียนเจื่อง ชาวฮานอยมาเยี่ยมชมงานเห็นว่า  “ งานนิทรรศการนี้ช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าใจและสามารถแยกแยะวัฒนธรรมของแต่ละประเทศได้เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมกัมพูชาและเวียดนาม   อีกทั้งยังทำให้เรารู้สึกถึงความเชื่อมโยงด้านวัฒนธรรมของประเทศต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะเครื่องแกะสลักหินของชนเผ่าจามที่มีความใกล้ชิดกัน  นี่เป็นความประทับใจแรกของผมและถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของงานครั้งนี้

วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ” - ảnh 2
งานนิทรรศการสีสันวัฒนธรรมเอเชีย

งานนิทรรศการสีสันวัฒนธรรมเอเชียช่วยให้ผู้เข้าชมเข้าใจเกี่ยวกับเอกลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละชาติและความคล้ายคลึงระหว่างวัฒนธรรมต่างๆในเอเชีย  อีกทั้งได้เข้าใจว่า วัฒนธรรมเวียดนามมีมาช้านานและมีความหลากหลายที่พัฒนาจากวัฒนธรรมพื้นเมืองและได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมจีน อินเดียและประเทศตะวันตก ./.

วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ” - ảnh 3
เครื่องเบญจรงค์

วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ” - ảnh 4
จากอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมเวียดนามในงานนิทรรศการ “ สีสันแห่งวัฒนธรรมเอเชีย ” - ảnh 5
ถ้วยเซรามิกของญี่ปุ่น


คำติชม