ภาพยนตร์เรื่อง “Dreamy Eyes” (vietnamplus.vn) |
วรรณศิลป์ถือเป็นปัจจัยหลักและเป็นแหล่งพลังให้แก่อุตสาหกรรมวัฒนธรรม แม้จะสร้างรายได้ไม่มาก แต่ก็จัดสรรบทภาพยนตร์และพัฒนาตัวละครที่เอื้อให้แก่การพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม อีกทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาพยนตร์และการแสดงละครเวที โดยในเวลาที่ผ่านมา มีการนำผลงานวรรณกรรมต่างๆไปสร้างเป็นภาพยนตร์ เช่น “The Floating Lives” “Quyen” “Dreamy Eyes” “The Girl From Yesterday”และ “Yellow Flowers on the Green Grass” ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก ส่วนองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ดนตรีประกอบภาพยนตร์ สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ ของที่ระลึก แบรนด์สินค้าที่ถูกระบุในผลงานวรรณคดีและศิลปะก็ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นอย่างมาก
ผลงานวรรณคดีและศิลปะสะท้อนความคิดสร้างสรรค์และความสามารถของมนุษย์ อีกทั้งเป็นผลงานที่มีค่ามาก ซึ่งการนำผลงานวรรณคดีและศิลปะมาใช้พัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมจะมีส่วนร่วมยกระดับสถานะของประเทศ โดยการสร้าง “ซอฟเพาเวอร์”ที่ส่งผลในระดับโลกและมีส่วนร่วมประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศ คนและวัฒนธรรมเวียดนาม รองศ.ดร. เหงวียนเท้กี๊ ประธานสภาทฤษฎี วิจารณ์วรรณกรรมและศิลปะส่วนกลางได้เผยว่า
“เพื่อสร้างสรรค์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม ต้องมีการเข้าร่วมของหน่วยงานต่างๆและพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะวรรณศิลป์ที่ส่งผลต่อความคิดริเริ่มและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสำหรับสิ่งนี้มีบทบาทสำคัญมาก กิจกรรมวัฒนธรรมที่ผสานปัจจัยต่างๆของวรรณศิลป์จะเพิ่มมูลค่า ความน่าสนใจและแรงจูงใจมากขึ้น อีกทั้งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมอย่างมั่นคงและเข้มแข็ง”
บรรดาผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า วงการวรรณศิลป์ของเวียดนามมีศักยภาพการพัฒนาอีกมาก ซึ่งควรได้รับการส่งเสริมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม โดยเฉพาะในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณคดีและศิลปะอย่างเข้มแข็งในปัจจุบัน โดยศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ดิจิทัลได้สร้างโอกาสใหม่ให้แก่นักเขียนในการสร้างผลงานที่ดีและน่าสนใจเป็นอย่างมาก นักข่าวและกวี เหงวียนกวางฮึง รองหัวหน้าคณะกรรมการนักเขียนรุ่นใหม่สังกัดสมาคมนักเขียนเวียดนามได้เผยว่า
“การเขียนและวิจารณ์วรรณคดีและตลาดวรรณกรรมในปัจจุบันมีการพัฒนาที่คึกคัก โดยสะท้อนให้เห็นจากการพัฒนาผลงานวรรณคดีที่ลงบนหนังสือพิพม์และทางอินเตอร์เน็ตในหลากหลายรูปแบบและมุมมอง การเผยแพร่ผลงานวรรณคดีแบบใหม่และกิจกรรมของวงการวรรณศิลป์ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่วนสำหรับเนื้อหาของผลงานวรรคดีต่างๆก็น่าสนใจมาก”
รองศ.ดร. เหงวียนเท้กี๊ ประธานสภาทฤษฎี วิจารณ์วรรณกรรมและศิลปะส่วนกลาง (dangcongsan.vn) |
ปัจจุบัน ความต้องการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการบันเทิง รวมถึงวรรณศิลป์ของประชาชนนับวันเพิ่มขึ้น ดังนั้น นอกจากทุ่มเทให้กับการสร้างสรรค์ผลงานวรรณคดีและศิลปะที่ดีและน่าสนใจแล้ว บรรดานักเขียนและศิลปินต้องศึกษาตลาด ความต้องการของประชาชนและเข้าร่วมอุตสาหกรรมวัฒนธรรมอย่างจริงจัง นักข่าวและกวี เจิ่นฮิวเหวียด สมาชิกคณะกรรมการบริหารสมาคมนักเขียนเวียดนามได้ย้ำว่า
“แหล่งพลังที่สำคัญที่สุดในด้านวรรณศิลป์คือมนุษย์ ซึ่งเราต้องมีกลไกและนโยบายเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยนอกจากอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่มีความสามารถแล้ว ต้องสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและความกระตือรือร้นในการเพิ่มความรู้ ทักษะ ทัศนะและความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานด้านวรรณศิลป์อย่างเต็มที่และยั่งยืน”
ส่วนนาย บุ่ยหว่ายเซิน สมาชิกคณะกรรมาธิการวัฒนธรรมและการศึกษาของสภาแห่งชาติได้กล่าวถึงกลไกและนโยบายพัฒนาวรรณศิลป์เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมว่า
“พวกเราต้องถือวรรณคดีเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมในมุมมองของการเขียนผลงานวรรณคดี การวิจารณ์วรรณคดี การเผยแพร่ผลงานวรรณคดีและการสะท้อนเสียงพูดของสังคม อีกทั้งสร้างกรอบทางนิตินัยให้แก่การพัฒนาวรรณคดี”
ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า วรรณศิลป์มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ดังนั้น การมีผลงานวรรศิลป์ที่มีคุณค่าจะมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของเวียดนามในเวลาที่จะถึง.