(VOVworld)-บทกลอนต่างๆที่บันทึกบนสถาปัตยกรรมของพระราชวังกรุงเก่าเว้เป็นหนึ่งในมรดกสองรายการของเวียดนามที่เพิ่งได้รับการรับรองเป็นมรดกด้านข้อมูลโลกเมื่อวันที่19พฤษภาคมโดยโครงการความทรงจำแห่งโลกย่านเอเชียแปซิฟิก ซึ่งในการประชุมที่จัดขึ้น ณ กรุงเก่าเว้ระหว่างวันที่18-21พฤษภาคม บรรดาผู้เชี่ยวชาญมรดกด้านข้อมูลโลกได้ชื่นชมบทกลอนต่างqที่ถูกจารึกไว้ในระบบสถาปัตยกรรมของพระราชวังเว้พร้อมทั้งประเมินว่า คุณค่าของมรดกโลกเขตโบราณสถานกรุงเก่าเว้ไม่เพียงแต่มีความกลมกลืนระหว่างสถาปัตยกรรมและธรรมชาติเท่านั้นหากยังมีลวดลายการแกะสลักที่โดดเด่นตามสถาปัตยกรรมต่างๆอีกด้วย
|
เมื่อปี1993 องค์การยูเนสโกได้รับรองเขตโบราณสถานกรุงเก่าเว้เป็นมรดกวัฒนธรรมโลก อีก10ปีต่อมา ศิลปะการแสดงดนตรีพระราชวังเว้ก็ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมที่เป็นตัวแทนของมนุษยชาติ และปี2016บทกลอนที่บันทึกไว้บนสถาปัตยกรรมของพระราชวังเว้ก็ได้กลายเป็นมรดกโลกรายการที่สามของเว้และเป็นหนึ่งใน6มรดกด้านข้อมูลของเวียดนามที่ได้รับการรับรอง อันเป็นการยืนยันว่าท่ามกลางบรรยากาศของมรดกที่เป็นรูปธรรมของโลกคือกรุงเก่าเว้ยังมีการอนุรักษ์มรดกด้านข้อมูลของมนุษยชาติที่มีคุณค่าพิเศษคือบทกลอนที่เขียนเป็นภาษาฮั่น ลวดลายการสลักที่มีคุณค่าทางศิลปะเฉพาะแบบเวียดนามที่มีเป็นที่เดียวในโลก ดร.ฟานแทงหาย ผู้อำนวยการศูนย์การอนุรักษ์เขตโบราณสถานกรุงเก่าเว้เผยว่า การรับรองมรดกอีกรายการที่อยู่ในเขตโบราณสถานที่ได้รับรองเป็นมรดกโลกแล้วถือเป็นการยกย่องคุณค่าที่ล้ำลึกและหลากหลายของมรดกต่างๆของเว้
บทกลอนที่เขียนบนสถาปัตยกรรมพระราชวังเว้ล้วนเป็นผลงานที่ดีเลิศของพระมหากษัตริย์รัชกาลต่างๆที่ถูกสลักหรืองาน โมเสก ซึ่งใช้เศษแก้ว หิน หรือกระเบื้องชิ้นเล็กๆ เพื่อตกแต่งลวดลายหรือภาพต่างๆในระบบพระราชวังของเว้ตั้งแต่ปี1802-1945 ซึ่งสามารถตอบสนองเงื่อนไขต่างๆที่ยูเนสโกได้กำหนดเช่นมีความโดดเด่นในด้านข้อมูล มีความเป็นเอกลักษณ์เพียงหนึ่งเดียว มีความหมายทั้งในระดับชาติและภูมิภาค นางหวูถิมิงเฮือง รองประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยโครงการความทรงจำย่านเอเชีย-แปซิฟิกได้เผยว่า“ต้องย้ำถึงเงื่อนไขของความเป็นหนึ่งเดียวเพราะข้อมูลที่ระบุในเอกสารต่างๆได้สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งนี้มีอยู่ที่เวียดนามเพียงที่เดียว แม้ในประเทศต่างๆที่อยู่ใกล้เวียดนามอย่างเช่นญี่ปุ่นหรือสาธารณรัฐเกาหลีที่มีโบราณสถานคล้ายกับที่กรุงเก่าเว้แต่ก็ไม่มีการตกแต่งที่น่าประทับใจเหมือนที่เวียดนาม”
|
ในระบบสถาปัตยกรรมของพระราชวังเว้ พระตำหนักลองอานในวังบ๋าวดิ๋งห์ ถูกก่อสร้างตั้งแต่ปี1845สมัยกษัตริย์เถียวตริ ซึ่งเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่มีพระราชนิพนธ์ทั้งเป็นวรรณคดีและบทกวีหลายผลงานดังนั้นที่นี่จึงมีการสลักกวีพระราชนิพนธ์สองบทที่มีชื่อเสียงของพระองค์คือ หวูจูงเซินถวี และเฟือกเวียนวันโหยเลืองยะหมานเงิม ที่เป็นภาษาฮั่น หรือที่พระตำหนักท้ายหว่า ซึ่งเป็นกิจการที่มีความหรูหราสวยงามที่สุดของกรุงเก่าเว้ยังคงเก็บรักษาบทกลอนกว่า300บทที่สลักไว้บนไม้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ ซึ่งมีกลอนหลายบทที่มีเนื้อหายืนยันอธิปไตยของเวียดนาม ยกย่องเอกราชแห่งชาติ ความปรารถนาแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
ปัจจุบันในเขตพระราชวังกรุงเก่าเว้ยังเก็บรักษาแผ่นไม้ลงรักปิดทองกว่า3พันชิ้นที่มีการแกะสลักบทกวีพระราชนิพนธ์ ผลงานกวีที่เขียนบนวัสดุที่เคลือบสีและบทกวีที่เป็นงาน โมเสก ที่ใช้กระเบื้องชิ้นเล็กๆมาประดับรวมกว่า 200ผลงาน และสิ่งที่บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่ามีความโดดเด่นคือลักษณะการตกแต่งเป็นแบบผสมบทกวีประกอบด้วยภาพซึ่งเห็นว่าจะมีอยู่ในสถาปัตยกรรมของกรุงเก่าเว้เพียงที่เดียว ดร.ฟานแทงหาย ผู้อำนวยการศูนย์การอนุรักษ์เขตโบราณสถานกรุงเก่าเว้เผยว่า “สำหรับประเทศอื่นๆ การตกแต่งส่วนใหญ่มีลักษณะของการแขวนภาพหรือเขียนคำกลอนคู่ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปที่อื่นได้ ส่วนกวีร้อยแก้วร้อยกลองบนสถาปัตยกรรมของเว้นั้นได้รับการสลักตามผนังต่างๆทั้งด้านนอกและด้านใน จนไปที่ไหนก็เห็นบทกวี”
จนถึงปัจจุบัน ผลงานด้านวรรณกรรมต่างๆที่สลักไว้ในระบบสถาปัตยกรรมเว้นั้นยังมีความสมบูรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงซึ่งนับเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความถูกต้องและหลากหลายเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาของวรรณกรรมเวียดนามในสมัยต่างๆพร้อมทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นผลงานด้านวิจิตศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียดนามและมีอยู่ที่เวียดนามเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น.