( VOVworld )-
สงครามทำให้กุลบุตรที่ยอดเยี่ยมของภาคเหนือต้องทิ้งการเรียนหนังสือเก็บความรักต่อครอบครัวและอำลาคนรักเพื่อนเดินทางเข้าสมรภูมิภาคใต้โดยไม่รู้ว่าสงครามจะยุติลงเมื่อไหร่และจะได้กลับบ้านเกิดหรือไม่ แม้จะอยู่ห่างไกลกันหลายพันกิโลเมตรแต่สองฝ่ายยังติดต่อกันด้วยจดหมายยามสงคราม จดหมายทุกฉบับไม่เพียงแต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความรักที่ซื่อสัตย์ของคู่รัก สามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานและเรื่องราวของบุตรที่ต้องห่างเหินครอบครัวไปเท่านั้น หากยังเปรียบเสมือนหนังสือความทรงจำและภาพยนตร์สารคดีที่มีชีวิตชีวาสะท้อนช่วงเวลาสงครามที่ต้องห่างเหินกัน ซึ่งจดหมายหลายพันฉบับของคู่สามีภรรยานายแพทย์เหงวียนวันอิ๊กและแพทย์หญิงหวู่ถิ่ญือเหี่ยนที่ส่งถึงกันช่วงปีค.ศ.๑๙๖๒-๑๙๗๕นอกเหนือจากเป็นสายใจรักระหว่างกันแล้ว ก็ยังถือเป็นหนังสือความทรงจำเกี่ยวกับสงครามอีกด้วย
คุณลุงอิ๊กกับคุณป้าเหี่ยนเปิดดูของที่เป็นอนุสรณ์
สามีภรรยานายแพทย์เหงวียนวันอิ๊กและแพทย์หญิงหวูถิ่ญือเหี่ยนให้การต้อรับพวกเราในห้องชุดคอนโดมีเนี่ยมนามด่ง เขตด๊งดา กรุงฮานอยและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับช่วงเวลาสงครามที่ดูเหมือนว่ามันเพิ่งผ่านไปหมาดๆเท่านั้น นายแพทย์เหงวียนวันอิ๊กเล่าให้ฟังไปพร้อมเปิดดูของที่เป็นอนุสรณ์และจดหมายไปว่า ช่วงนั้น ภารกิจการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยภาคใต้และรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวเป็นภารกิจอัสูงส่งที่สุดของประชาชนทั้งชาติ ปีค.ศ.๑๙๖๒ นายเหงวียนวันอิ๊กเดินทางเข้าสมรภูมิภาคใต้ทิ้งภรรยาที่เป็นแม่ศรีเรือน แม่ที่แก่แล้วและลูกเล็ก ๓ คน คุณลุงอิ๊กเล่าต่อไปว่า “ ผมเป็นเยาวชนเดินทางเข้าสมรภูมิภาคใต้ตามความเรียกร้องของประเทศและปักใจที่จะต่อสู้เพื่อกอบกู้เอกราชมาให้แก่ประเทศ ภรรยาผมและผมร่วมกันแข่งขัน ให้กำลังใจกันเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้ประสบความสำเร็จและนัดพบกันในวันประเทศได้รับเอกราช ทั้งนี้ทำให้ผมกล้าสละทุกอย่าง ”
ก่อนเดินทางนายอิ๊กกับภรรยาถ่ายรูปคู่กันและแล้วสองคนต้องอยู่ห่างไกลทางภูมิศาสตร์โดยคนหนึ่งอยู่ที่ภาคใต้ส่วนอีกคนหนึ่งอยู่ที่ภาคเหนือแต่ใจยังส่งถึงกันผ่านจดหมาย ด้านหลังภาพถ่ายคุณป้าเหี่ยนได้เขียนไว้ว่า “ ขอให้พี่ปฏิบัติหน้าที่อันสูงส่งให้สำเร็จ ดิฉันกับลูกๆรอคอยพี่กลับมา ” แม้เป็นประโยคสั้นๆแต่ก็สะท้อนความรักของภรรยาต่อสามีที่จะเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่อันหนักหน่วง คุณป้าเหี่ยนเล่าว่า คืนวันอำลากันทั้งสองคนนอนไม่หลับ เขากับสามีเตรียมจัดกระเป๋า พวกเขาต่างตั้งความหวังในวันที่ประเทศจะได้รับเอกราชแม้จะยังไม่รู้ว่า วันนั้นจะมาถึงเร็วหรือช้าเป็นสิบปีเพราะในสมรภูมิที่เต็มไปด้วยกระสุนปืนนั้นคนเราอาจตายเมื่อไหร่ก็ได้ แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือ คำเรียกร้องของมาตุภูมิ คุณป้าเหี่ยนเล่าว่า “ เนื่องจากเป็นสตรีเหมือนสตรีคนอื่นๆทั่วไปและสามีกำลังจะเดินทางเข้าสมรภูมิดุเดือดดิฉันจึงรู้สึกเป็นห่วงและบอกไม่ถูกจนต้องปลอบใจตัวเอง แต่หาดไม่มีคนเข้าร่วมสมรภูมิดังสามีของดิฉัน สงครามที่โชกโชนจะสู่ความสำเร็จคือการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวได้หรือไม่ ”
เยาวชนฮานอยเข้าร่วมขบวนการ ความพร้อม ๓ ประการ
สองคนที่อยู่ในสองภาคของประเทศ ในขณะที่นายแพทย์เหงวียนวันอิ๊กต้องทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อช่วยชีวิตทหารผู้ป่วยและทหารพิการ ส่วนแพทย์หญิงหวู่ถิ่ญือเหี่ยนต้องดูแลแม่ที่สูงอายุกับลูกเล็กๆและร่วมกับประชาชนภาคเหนือทำงานช่วยเหลือภาคใต้ และจดหมายเป็นสายใจรักระหว่างสองคน การที่ได้รับจดหมายของกันนั้นหมายความว่า ตนเองยังมีชีวิตอยู่ คู่สามีภรรยานี้ได้ส่งจดหมายให้แก่กันเดือนละ ๒ – ๔ ฉบับ จดหมายที่นายแพทย์อิ๊กส่งไปให้ภรรยาและลูกมักจะเป็นการให้กำลังใจ เป็นความมั่นใจในการปฏิวัติและวันที่ประเทศได้รับเอกราช คุณลุงเหงวียนวันอิ๊กเล่าว่า “ สมรภูมิช่วงปีค.ศ.๑๙๖๙-๑๙๗๐ดุเดือดมากและขาดแคลนทุกอย่าง มีคนที่ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากแต่ผมพยายามทำให้ดีที่สุด ช่วงปลายปีค.ศ.๑๙๗๑ สถานการณ์ดีขึ้น ผมมั่นใจว่าการขาดแคลนอาหารและถูกศัตรูทำลายล้างเป็นสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ผมอาจทำได้ทุกอย่างและมีความมั่นใจว่าประเทศจะได้รับเอกราช ”
คุณป้าเหี่ยนเปิดจดหมายแต่ละฉบับพรางคุยเรื่องในใจไปว่า จดหมายหลายฉบับจากแนวหลังส่งไปยังแนวหน้าหรือในทางกลับกันจากแนวหน้าส่งไปยังแนวหลังไม่ถึงมือผู้รับ ทหารไปรษณีย์ต้องแบกจดหมายผ่านลำน้ำและเทือกเขาเจื่องเซิน ท่ามกลางฝนตกหนัก ลมมรสุม พายุและห่ากระสุนระเบิดของศัตรู จดหมายแต่ละฉบับจึงเปียกชุ่มไปด้วยหยาดเหงื่อและเลือดของพวกเขา หากไม่ได้รับจดหมายคุณป้าเหี่ยนก็จะรู้สึกเป็นห่วงและกังวลใจ ซึ่งอาการนี้ติดตามคุณป้าเหี่ยนมาตลอด ๑๔ ปีนับตั้งแต่สามีเข้าสมรภูมิ และจดหมายที่มีข่าวดีถูกส่งไปยังคุณป้าเหี่ยนในขณะที่ท่านได้รับข่าวการปลดปล่อยภาคใต้ วันที่ประเทศได้รวมเป็นหนึ่งเดียว นายแพทย์อิ๊กแบกเป้กลับมาชุมนุมกับครอบครัว ณ ฮานอย คุณป้าเหี่ยนกล่าวถึงนาทีที่เปี่ยมด้วยความสุขว่า “ เมื่อกลับมาเป็นทหารสูงอายุเพราะประเทศมีความสงบสุข วันนั้น ทุกคนในครอบครัวมากินข้าวด้วยกัน พูดคุยเรื่องต่างๆ ขณะนั้นดิฉันคิดอย่างเดียวว่าลูกๆได้พบปะกับพ่อ มีความสุขมากๆ ”
สงครามได้เข้าสู่อดีต แต่ของที่เป็นอนุสรณ์เกี่ยวกับสงครามและจดหมายรักยังคงมีอยู่ จดหมายหลายพันฉบับของสามีภรรยานายแพทย์เหงวียนวันอิ๊กเหลือ ๓๐๐ ฉบับเท่านั้นแต่ได้กลายเป็นของอนุสรณ์ที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การทหารเวียดนามและแสดงให้เห็นถึงความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สละความสุขส่วนตัวเพื่อเอกราชของประเทศ ./.