(VOVworld)-ความต้องการและวัฒนธรรมการอ่านหนังสือกำลังกลับมากลายเป็นความนิยมอย่างแพร่หลายในสังคมยุคดิจีต้อลปัจจุบัน การส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านหนังสือไม่เพียงแต่ต้องเริ่มจากจิตสำนึกของแต่ละบุคคลและได้รับการสนับสนุนของครอบครัวและโรงเรียนเท่านั้นหากยังต้องมาจากสิ่งพิมพ์ต่างๆที่มีคุณค่าอีกด้วย ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถตอบสนองเป้าหมายดังกล่าวหนังสือแต่ละเล่มต้องจุดประกายความรักความสนใจในการอ่านเพื่อค้นคว้าแหล่งความรู้ที่หลากหลาย
|
ในหลายปีมานี้ งานวันหนังสือเวียดนามที่เปิดขึ้นประจำทุกปีได้ดึงดูดความสนใจของคนทุกเพศทุกวัยที่มาชมและซื้อหนังสือจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งผู้ปกครองที่พาลูกหลานมาซื้อหนังสือไปอ่านหรือเป็นของขวัญมอบให้แก่เพื่อนๆ ส่วนนักศึกษาที่มานั้นนอกจากหาซื้อหนังสือที่ต้องการในราคาถูกแล้วยังอยากร่วมการสัมมนาต่างๆเกี่ยวกับหนังสือที่จัดขึ้นในกรอบของงาน ส่วนตามท้องถิ่นต่างๆ งานวันหนังสือก็มิใช่สิ่งที่แปลกใหม่เพราะได้รับการเผยแพร่ผ่านรูปแบบที่เป็นรูปธรรมต่างๆเช่น ตู้หนังสือชุมชน วันงานแลกเปลี่ยนหนังสือเก่า เปิดวันงานอ่านหนังสือประจำในโรงเรียนหรือในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่น่ายินดีที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการอ่านหนังสือและวัฒนธรรมการอ่านยังคงได้รับการธำรงส่งเสริมต่อไปแถมยังได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยที่มีทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นายโด๋กวี๊หยวาน ประธานสหพันธ์สำนักพิมพ์เวียดนามยืนยันว่า “ความต้องการอ่านหนังสือของประชาชนนับวันยิ่งสูงขึ้น อย่างเช่นในงานวันหนังสือนครโฮจิมินห์ที่เพิ่งเสร็จสิ้นลงนั้นผู้ที่สนใจมาร่วมงานมีทั้งผู้สูงอายุ เยาวชน ครอบครัวทั้งพ่อแม่และเด็กๆ โดยเฉพาะการจัดเสวนากลางแจ้งเกี่ยวกับหนังสือก็มีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก มีหนังสือหลายเล่มของนักเขียนดังๆอย่างเหงวียนเญิดแอ๊งได้สร้างความสนใจให้แก่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า หนังสือก็มีส่วนช่วยส่งเสริมการศึกษาหาความรู้และสิ่งที่งดงามในชีวิตของมนุษย์”
ทุกปี มีการพิมพ์จำหน่ายหนังสือหลายหมื่นหัวทั้งแบบสิ่งพิมพ์และแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้อ่านในการหาหนังสือที่เหมาะสม นายเหงวียนแองหวู ผู้อำนวยการสำนักพิมพ์วรรณคดีเผยว่า“เราเป็นหน่วยงานธุรกิจจึงต้องตอบสนองความต้องการที่มากมายหลายแบบของลูกค้า ดังนั้นถ้าหากผู้อ่านต้องการอ่านเพื่อคลายเครียดเราก็มีหนังสือในเชิงบันเทิง ส่วนสำหรับนักศึกษาหรือนักวิชาการที่อยากหาข้อมูลความรู้ก็มีหนังสือวิชาการตามแขนงต่างๆ ซึ่งแม้จะเป็นหนังสือประเภทไหนเราก็ต้องเน้นเรื่องคุณภาพของหนังสือเป็นหลัก”
ทั้งนี้สามารถยืนยันได้ว่าการส่งเสริมการอ่านหนังสือเพื่อไปสู่การพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านนั้นไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้อ่านและการส่งเสริมของทั้งชุมชนเท่านั้น หากหนังสือที่มีคุณภาพก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อย นายเหงวียนกวางแถก หัวหน้าโครงการส่งเสริมการอ่านหนังสือในชนบทได้กล่าวว่า“เราจะตั้งกลุ่มตรวจสอบหนังสือที่ขาดคุณภาพ หนังสือที่ให้ข้อมูลผิดพลาดเพื่อให้ชมรมผู้อ่านได้รู้และเลือกอ่านหนังสือที่ถูกต้อง”
นักเขียนพบปะกับผู้อ่านเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับหนังสือ
ถ้าหากเมื่อก่อนสำนักพิมพ์ต่างๆสามารถตีพิมพ์หนังสือเฉลี่ยได้หลายสิบหัวเรื่องเท่านั้นแต่ปัจจุบันตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นหลายร้อยหัวเรื่อง แต่ในขณะเดียวกันผู้อ่านก็มีความหวังว่าการเพิ่มจำนวนหนังสือที่ออกสู่สายตาผู้อ่านก็ต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับการเพิ่มคุณภาพของหนังสือด้วย ดังนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักพิมพ์ต่างๆก็คือต้องทำการคัดเลือกเพื่อที่จะสามารถสนองหนังสือดีๆให้แก่ผู้อ่าน เพื่อให้หนังสือสมกับเป็นอาหารทางจิตใจที่มีประโยชน์ มีส่วนร่วมยกระดับองค์ความรู้และคุณค่าที่งดงามของมนุษย์.