ในโอกาสดังกล่าว รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมเจิ่นต๊วนแองห์ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าวสถานีวิทยุเวียดนามเกี่ยวกับความสะดวกและความท้าทายของกระบวนการเจรจาที่สำคัญนี้
ขอกราบเรียนท่านรัฐมนตรี ถ้ากล่าวถึงความพยายามอย่างเต็มที่ของเวียดนามในการเจรจาอีวีเอฟทีเอในเวลาที่ผ่านมา ท่านอยากจะย้ำประเด็นไหนเป็นพิเศษ
รัฐมนตรี เจิ่นต๊วนแองห์: อันดับแรกคือทักษะความสามารถของเวียดนามในการดำเนินกระบวนการเจรจาด้านเทคนิกที่ต้องตอบสนองเงื่อนไขที่เคร่งครัด หลากหลายและมีความละเอียดลึกซึ้งเพราะข้อตกลงนี้เกี่ยวข้องกับ28ประเทศสมาชิกอียู ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาเข้มแข็งและมีกรอบกฎหมายและการบริหารเศรษฐกิจระดับสูง ดังนั้นกว่าที่เราสามารถมุ่งสู่การลงนามข้อตกลงก็ต้องผ่านกระบวนการที่ยาวนานถึง9ปีพร้อมการชี้นำที่เข้มแข็ง เคร่งครัดรวมทั้งการเข้าร่วมของทั้งระบบการเมือง โดยเฉพาะบทบาทคณะเจรจาของรัฐบาล กระทรวง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อค้ำประกันประสิทธิภาพและผลประโยชน์ของเรา
เมื่อ อีวีเอฟทีเอ ได้รับการลงนามเวียดนามจะได้รับประโยชน์อะไรที่ชัดเจนที่สุด
รัฐมนตรี เจิ่นต๊วนแองห์: สำหรับเวียดนาม เราจะได้รับสิทธิด้านภาษีด้วยการปรับลดภาษีเกือบทั้งหมดภายในเวลา7ปีนับตั้งแต่ข้อตกลงนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งคิดเป็นร้อยละกว่า70ของมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังอียู เพราะนี้เป็นข้อตกลงที่รอบด้านพร้อมเงื่อนไขการให้สิทธิพิเศษต่างๆด้านลิขสิทธิ์ทางปัญญา สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อง เป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสเพิ่มมูลค่าการค้า การนำเข้าส่งออกกับทุกประเทศสมาชิกอียู ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจ นอกจากนั้นเมื่ออีวีเอฟทีเอและอีวีไอพีเอได้รับการลงนาม สถานะของเวียดนามก็ได้รับการยกระดับให้สูงขึ้นบนเวทีโลกในฐานะเป็นประเทศที่มีส่วนร่วมมากมายและมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาของโลกตามแนวทางเปิดการค้าเสรีที่สอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติและระดับการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆในข้อตกลงเหล่านี้
ปัจจุบันมี27ประเทศและดินแดนของอียูมีโครงการลงทุนกว่า3พันโครงการในเวียดนาม รวมยอดเงินทุนประมาณ4หมื่น5พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้ประกอบการอียูจะได้รับประโยชน์อะไรในตลาดเวียดนามหลังการอนุมัติอีวีเอฟทีเอ
รัฐมนตรี เจิ่นต๊วนแองห์: เมื่อได้รับการลงนาม อนุมัติ บรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจในเวียดนามจะได้รับการปรับปรุงเป็นอย่างมากและจะเอื้ออำนวยแก่ผู้ประกอบการอียู รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองการลงทุน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการปฏิบัติมาตรการต่างๆบนพื้นฐานกฎหมายสากลที่สอดคล้องกับกฎหมายของทั้งสองฝ่าย ซึ่งเมื่อบรรยากาศการลงทุนมีความสะดวก บรรดานักลงทุนยุโรปจะมีโอกาสผลักดันโครงการต่างๆในภาคอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งที่เวียดนามต้องการ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกศ หรืออุตสาหกรรมประกอบ เป็นต้น
นอกจากนั้นผู้ประกอบการอียูยังจะมีโอกาสเชื่อมโยงเข้าตลาดอาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆของเวียดนามผ่านเงื่อนไขจากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามเป็นภาคีกับหุ้นส่วนอื่นๆเช่น ซีพีทีพีพีโดยเฉพาะตลาดอาเซียน.
ขอขอบคุณท่านรัฐมนตรี./.