หลังการอนุมัติดังกล่าวของสภายุโรป นาย ฌอง-โคลด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมการยุโรปได้กล่าวชื่นชมการตัดสินใจของบรรดาประเทศสมาชิกอียู เวียดนามเป็นประเทศที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากสิงคโปร์ที่ได้ลงนามข้อตกลงสองฉบับนี้กับอียู ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวเดินใหม่ในการเชื่อมโยงในภูมิภาคนี้ของยุโรป
ส่วนข้าหลวงใหญ่ด้านการค้า Cecilia Malmstromได้ชื่นชมศักยภาพของเวียดนามโดยให้ข้อสังเกตว่า เวียดนามเป็นตลาดที่คึกคักและมีศักยภาพเนื่องจากมีลูกค้าถึง 95 ล้านคน และเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากผลประโยชน์ด้านเศรษบกิจ ข้อตกลงสองฉบับดังกล่าวยังมุ่งสู่การผลักดันการให้ความเคารพสิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิผลประโยชน์ของแรงงาน
ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์ WTO และการผสมผสานเข้ากับกระแสโลก สังกัดหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามให้ข้อสังเกตว่า ในข้อตกลงอีวีเอฟทีเอ เวียดนามให้คำมั่นเปิดประเทศให้แก่สหภาพยุโรปมากกว่าคำมั่นกับ WTO ซึ่งในด้านต่างๆ เช่น การให้บริการประกอบธุรกิจ การดูแลสุขภาพ สิ่งแวดล้อม การศึกษา เป็นต้น อีวีเอฟทีเอจะช่วยเปิดตลาดการบริการของเวียดนามให้แก่บริษัทต่างๆของอียู บริษัทต่างๆของอียูจะได้รับผลประโยชน์มากมายจากคำมั่นต่างๆของเวียดนาม เช่น การลดกำแพงภาษีในอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น เมื่ออีวีเอฟทีเอได้รับการลงทุนและมีผลบังคับใช้ การค้าระหว่างเวียดนามกับอียู ซึ่งเป็นสองตลาดที่มีผลิตภัณฑ์สนับสนุนกันจะได้รับการผลักดันมากขึ้น.