เยี่ยมเยือนสุสานเจื่องเซินในเดือนกรกฎาคม

Vinh Phong – VOV5
Chia sẻ

( VOVworld )- เส้นทางสู่สุสานเจื่องเซินที่ตำบลหวิงเจื่อง อำเภอยอลินห์ จังหวัดกว่างจิ่ในภาคกลางเวียดนามเดือนกรกฎาคมเต็มไปด้วยรถราพาผู้คนมาเยี่ยมเยือนและจุดธูปถวายดวงวิญญาณผู้บังคับบัญชาและทหารที่ได้สละชีพบนเส้นทางโฮจิมินห์หรือเส้นทางเจื่องเซินในอดีต  ในจำนวนคนที่หลั่งไหลมานั้นมีทหารผ่านศึกที่ผมเปลี่ยนเป็นสีขาวมาเยี่ยมเยือนที่เก็บอัฐิของเพื่อนทหาร ภรรยามาจุดธูปหน้าที่ฝังอัฐิของสามี บุตรมาเยี่ยมที่ฝังอัฐิของพ่อและผู้คนจากทั่วสาทิศมาจุดธูปสำนึกในบุญคุณของทหารพลีชีพเพื่อเอกราชและเสรีภาพของชาติเหล่านี้


( VOVworld )- เส้นทางสู่สุสานเจื่องเซินที่ตำบลหวิงเจื่อง อำเภอยอลินห์ จังหวัดกว่างจิ่ในภาคกลางเวียดนามเดือนกรกฎาคมเต็มไปด้วยรถราพาผู้คนมาเยี่ยมเยือนและจุดธูปถวายดวงวิญญาณผู้บังคับบัญชาและทหารที่ได้สละชีพบนเส้นทางโฮจิมินห์หรือเส้นทางเจื่องเซินในอดีต  ในจำนวนคนที่หลั่งไหลมานั้นมีทหารผ่านศึกที่ผมเปลี่ยนเป็นสีขาวมาเยี่ยมเยือนที่เก็บอัฐิของเพื่อนทหาร ภรรยามาจุดธูปหน้าที่ฝังอัฐิของสามี บุตรมาเยี่ยมที่ฝังอัฐิของพ่อและผู้คนจากทั่วสาทิศมาจุดธูปสำนึกในบุญคุณของทหารพลีชีพเพื่อเอกราชและเสรีภาพของชาติเหล่านี้
เยี่ยมเยือนสุสานเจื่องเซินในเดือนกรกฎาคม - ảnh 1

สุสานเจื่องเซินตั้งอยู่บนเนินเขาเบ๊นตั๊ต ริมทางหลวงหมายเลข ๑๕ ในตำบลหวิงเจื่อง อำเภอยอลินห์ที่อยู่ห่างจากเมืองดงห่า จังหวัดกว่างจิ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว ๓๐ ก.ม.  สุสานนี้สร้างขึ้นเพื่อตอบแทนบุญคุณของกุลบุตรที่ได้สละชีพเพื่อภารกิจการกอบกู้เอกราชและรวมเวียดนามให้เป็นหนึ่งเดียว

พลตรีเลืองสีญูง อดีตผู้บัญชาการกองทหารผสม ๑๒ ที่ได้ร่วมการออกแบบและก่อสร้างสุสานเจื่องเซินเล่าให้พวกเราฟังว่า หลังจากที่ได้ลงนามข้อตกลงปารีสเมื่อเดือนมกราคมค.ศ.๑๙๗๓  ทางกองทหารผสม๕๕๙ ภายใต้การบัญชาการของพลโทด่งสีเงวียนได้มีมติให้ก่อสร้างสุสานแห่งหนึ่งขึ้นและจัดส่งคณะไปค้นหานำอัฐิของทหารพลีชีพบนเส้นทางสายเจื่องเซินมาฝังที่สุสานนี้  สุสานเจื่องเซินเริ่มก่อสร้างในวันที่ ๒๔ตุลาคมค.ศ.๑๙๗๕และเสร็จในวันที่ ๑๐ เมษายนค.ศ.๑๙๗๗ พลตรีญูงกล่าวว่า “ สุสานนี้ออกแบบเพื่อรองรับอัฐิทหารเจื่องเซินที่เสียชีวิต ๓๓,๐๐๐คนที่เสียชีวิตบนเส้นทางสายเจื่องเซินในสงครามต่อต้านสหรัฐเพื่อกอบกู้เอกราชมาให้แก่ประเทศและจะแบ่งพื้นที่สุสานเป็นพื้นที่ฝังอัฐิตามจังหวัด จุดตั้งอนุสาวรีย์ ทางซ้ายมือของอนุสาวรีย์ คือที่ฝังอัฐิของวีรชนพลีชีพเพื่อชาติและสถานที่ฝังอัฐิของทหารพลีชีพนิรนาม ส่วนทางขวามือเป็นพื้นที่ฝังอัฐิของทหารพลีชีพของจังหวัดกว่างจิ่และกว่างบิ่นห์  สุสานนี้มีฮวงจุ้ยสวยงามเพราะตั้งอยู่บนเนินไม่สูงนักและข้างหน้ามีบึงใหญ่ มองจากไกลเนินสุสานเหมือนนกอินทรีย์กำลังบิน  แม้จะมีทหารเสียชีวิตกว่า ๓๓,๐๐๐นายแต่ก็สามารถค้นหาอัฐิได้เพียง๑๓,๐๐๐ชุดเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากอัฐิที่เหลือสูญหายหรือไม่สามารถค้นหาได้เพราะระเบิดหรือน้ำหลาก

เยี่ยมเยือนสุสานเจื่องเซินในเดือนกรกฎาคม - ảnh 2

ปัจจุบัน  สุสานเจื่องเซินมีที่ฝังศพของทหารพลีชีพเพื่อชาติกว่า ๑๐,๐๐๐ ศพ คนเหล่านี้เป็นหญิงสาวและชายหนุ่มอายุระหว่าง ๑๘-๒๐ปีที่ได้เสียชีวิตในการบุกเบิกและก่อสร้างเส้นทางเจื่องเซินในเวลาหกพันวันและหกพันคืน  สุสานตั้งอยู่ในพื้นที่ ๑๔๐,๐๐๐ตารางเมตรประกอบด้วยที่ฝังศพ อนุสรสถานที่ตั้งอยู่ในใจกลางบนยอดเนินสูง ๓๒ เมตรนับจากประตูทางเข้า ที่นั่นมีแผ่นศิลาจารึกที่แกะสลักภาพเหล่าทหารเจื่องเซินที่ใช้คำขวัญว่า บุกเบิกเพื่อเปิดทางสู้รบ ต่อต้านศัตรูเพื่อเดินต่อไป  อนุสาวรีย์หินขาวสูงยืนตระหง่าตั้งอยู่ตรงกลางสุสาน ต้นโพธิ์ใหญ่หลายคนโอบด้านหลังอนุสาวีย์ให้ความร่มรื่นตลอดทั้งปี ทางเดินภายในสุสานปูด้วยหินและอิฐ มีสวนดอกไม้และต้นไม้อยู่ทั่วไปให้ความร่มเย็นและทำให้สุสานดูตระการตา  นอกจากนี้ยังมีระฆังขนาดใหญ่ พื้นที่ฝังอัฐิของแต่ละจังหวัดต่างมีสถานที่บูชาที่ได้รับการก่อสร้างตามแบบอย่างของจังหวัดนั้นๆ พลตรีเลืองสีญูงเปิดเผยว่า  “ สุสานเจื่องเซินมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หน่วยทหารเจื่องเซินเป็นผู้ออกแบบ วางผัง ก่อสร้างและดูแลสุสานนี้ ขณะที่พวกเรายังคงสืบหาอัฐิของทหารพลีชีพตามป่าเขาเจื่องเซินและในลาวเพื่อนำมาฝังที่สุสานนี้

แต่ละปีมีผู้คนมาเยี่ยมสุสานเจื่องเซินกว่า ๔ ล้านคน คณะผู้บริหารสุสานเปิดเผยว่า มีบางครอบครัวที่อยู่ทางเหนือสุดหรือใต้สุดของประเทศเช่น จังหวัดเขตภูเขาตอนบนหล่างเซินและห่ายาง หรือจังหวัดใต้สุดก่าเมา กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์มาที่นี่จุธูปบูชาทุกปี  ส่วนสำนักงานหรือองค์การมวลชนมักจะจัดให้คณะเจ้าหน้าที่ข้าราชการเดินทางผ่านทางไกลถึงพันกิโลเมตรเพื่อมาจุดธูปถวายดวงวิญญาณของวีรชนพลีชีพเพื่อชาติ

เยี่ยมเยือนสุสานเจื่องเซินในเดือนกรกฎาคม - ảnh 3
พื้นที่สุสานจังหวัดเขตเขากาวบั่ง

พันเอกเหงวียนยากาม นายทหารผ่านศึกหน่วนทหารผสม ๕๕๙ เล่าว่า ท่านมาที่นี่จุดธูปถวายเพื่อนทหารมากว่า ๒๐ ปี ที่นี่ยังมีสถานที่ฝังอัฐิเพื่อนสนิทของท่านตั้งแต่เยาว์วัยจนเข้าประจำการทหารและเข้าร่วมกองกำลังเจื่องเซินในเวลาต่อมา พันเอกกามกล่าว  “ เราสองคนเติบโตและเข้าประจำการทหารและเดินทัพสู่สมรภูมิพร้อมกัน ดังนั้นทุกครั้งเมื่อกลับมาที่นี่ผมรู้สึกบอกไม่ถูก เมื่อไปถึงกว่างจิ่ ผมต้องจุดธูปถวายดวงวิญญาณเพื่อทหารที่เสียชีวิตเป็นงานแรก ทุกครั้งที่มาสุสานเจื่องเซิน ผมจะอธิฐานให้แก่เพื่อนทหารที่ได้สละชีพแต่อัฐิยังอยู่ที่เทือกเขาเจื่องเซินหรือสุสานอื่นๆ โดยขอให้มีความมั่นใจในคนที่ยังมีชีวิตในการที่จะสืบสานเกียรติประวัติของทหารเจื่องเซินและทหารลุงโฮตลอดจนความสละชีพของเพื่อนทหารโดยสั่งสอนลูกหลานต้องปกกป้องเอกราชและเสรีภาพของประเทศ

เยี่ยมเยือนสุสานเจื่องเซินในเดือนกรกฎาคม - ảnh 4

แต่ละปีญาติของทหารพลีชีพเพื่อชาติ คณะผู้แทนพรรค รัฐ ท้องถิ่น ชาวเวียดนามและชาวต่างชาติมาเยี่ยมสุสานเจื่องเซินตามประเพณีของชาวเวียดนามคือ ดื่มน้ำต้องคิดถึงแหล่งที่มาของน้ำ กินผลไม้ต้องนึกถึงคนปลูก ./.

คำติชม