(VOVWorld)-
หมู่บ้านต่างๆในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีสายเลือดเดียวกันและผู้ที่ทำมาหากินร่วมกัน ความผูกพันระหว่างชาวบ้านไม่เพียงแต่ปรากฎให้เห็นผ่านความสัมพันธ์เกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิที่ดินและมรดกสถาปัตยกรรมของหมู่บ้านเท่านั้น หากยังรวมถึงความผูกพันในชีวิตทางจิตวิญญาณและบรรทัดฐานทางสังคมอีกด้วย
ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน
|
เขตที่ราบลุ่มภาคเหนือมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดด้านวัฒนธรรมและอารยธรรมของชาวเวียดนามและอนุรักษ์เอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมือง ประชาชนในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกข้าวนาดำเป็นหลัก ชีวิตของชาวบ้านมีความกลมกลืนกับธรรมชาติและได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาและลัทธิขงจื๊อ ให้ความสำคัญต่อลำดับชั้นของครอบครัว เป็นต้น บนพื้นฐานเงื่อนไขทางธรรมชาติและสังคมนั้น ขนบธรรมเนียมประเพณีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆในเขตภาคเหนือได้รับการจัดตั้ง โดยมีทิวใผ่ล้อมรอบหมู่บ้าน ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน เส้นทางในหมู่บ้าน บ้านและสิ่งปลูกสร้างทางศาสนา เช่น ศาลาประจำหมู่บ้าน วิหารและวัด เป็นต้น
ในหมู่บ้านต่างๆของภาคเหนือ ต้นไทรเป็นสักขีพยานของความผันผวนทางประวัติศาสตร์ โดยถูกปลูกในบริเวณด้านหน้า ด้านหลังหมู่บ้านและบริเวณโดยรอบเขตโบราณสถานต่างๆ เช่น วิหารและวัด หมู่บ้านต่างๆในภาคเหนือเวียดนามมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ก่อนที่จะเข้าหมู่บ้าน เช่น สะพานหลังคามุงกระเบื้อง สะพานเซรามิกและสะพานหิน แต่อย่างไรก็ดี ภาพลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดคือ ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดได้ในหมู่บ้านภาคเหนือ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นสถาปัตยกรรมทางศิลปะที่โดดเด่นเท่านั้นหากยังมีคุณค่าทางวัฒนธรรมอีกด้วย ชื่อของหมู่บ้านและคำกลอนคู่สองข้างซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านได้บอกเล่าเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด วัฒนธรรมประวัติศาสตร์และความภาคภูมิใจของชาวบ้าน ดอกเตอร์ เจิ่นหึวเซิน สมาชิกสมาคมศิลปะพื้นเมืองเวียดนามได้เผยว่า “ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านมีความผูกพันกับหมู่บ้าน ในตอนแรก ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านเพียงแค่เป็นสิ่งกำหนดเขตพื้นที่ของหมํ่บ้าน
มาภายหลังเมื่อเศรษฐกิจของหมู่บ้านได้รับการพัฒนา หมู่บ้านที่มีตระกูลมีผู้ที่มีชื่อเสียงอาศัยอยู่ ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านจึงได้รับการก่อสร้างอย่างสวยงาม”
เส้นทางในหมู่บ้าน
|
ศาลาประจำหมู่บ้านเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่มีสถาปัตยกรรมที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน ศาลาประจำหมู่บ้านเป็นสถานที่บูชาเจ้าพ่อหลักเมือง ผู้ที่มีส่วนอุทิศในการสร้างชาติและปกป้องประเทศที่เป็นคนในหมู่บ้านของตนเองหรือผู้สร้างอาชีพพื้นเมืองให้แก่ชาวบ้าน ในโอกาสเทศกาลต่างๆ ชาวบ้านจะจัดพิธีการแห่เกี้ยวท่ามกลางเสียงกลองและฆ้องต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการสำนึกในส่วนอุทิศของเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งพิธีแห่เกี้ยวนี้ช่วยสร้างความสามัคคีในชุมชนชาวบ้านด้วย ศาลาประจำหมู่บ้านก็เป็นสักขีพยานการดำรงชีวิตของชาวบ้านและความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน
นอกเหนือจากศาลาประจำหมู่บ้าน หมู่บ้านส่วนใหญ่ต่างบูชาพระพุทธเจ้า วัดมีความผูกพันกับชีวิตทางจิตวิญญาณของชาวบ้าน พระครู ทิ๊กเตี๊ยนดาด วัดกื๋อด่าในเขตชานเมืองกรุงฮานอยได้เผยว่า “ พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้าสู่เวียดนามมานานแล้ว ดังนั้น หมู่บ้านไหนๆก็มีวัดและวิหาร ซึ่งเป็นสถาบันด้านวัฒนธรรมที่ขาดไม่ได้ในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ วัดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของชาวบ้าน แสดงความคาดหวังและความปรารถนาในชีวิตของชาวบ้าน ซึ่งเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรมของชาวบ้าน”
ในบริเวณใกล้บ่อน้ำ มีศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ในโอกาสเทศกาลต่างๆ ชาวบ้านจะมาที่นี่เพื่อทำพิธีขอพรและนำน้ำในบ่อน้ำแห่งนี้ไปใช้ในพิธีกรรม
บ้านในหมู่บ้านพื้นเมืองมีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ในบริเวณรอบๆหมู่บ้านนิยมปลูกต้นชบา ส่วนหน้าหมู่บ้านจะปลูกต้นหมาก ส่วนต้นกล้วยจะปลูกด้านหลังหมู่บ้าน บ้านแต่ละหลังมีขนาดแตกต่างกัน โดยบ้านไหนมีฐานะดีจะสร้าง๕-๗ห้อง ส่วนบ้านไหนที่มีฐานะค่อนข้างยากจนก็จะสร้างเพียง๓ห้อง
หมู่บ้านแต่ละแห่งจะก่อสร้างสุสานในบริเวณด้านนอกหมู่บ้าน ส่วนหมู่บ้านบางแห่ง ชาวบ้านจะฝังศพคนตายในทุ่งนาของครอบครัว ซึ่งชาวบ้านให้ความสำคัญต่อพื้นที่ดังกล่าวมาก
เวลาได้ผ่านพ้นไป ภาพลักษณ์ของหมู่บ้านพื้นเมืองได้มีความผูกพันกับชีวิตและจิตใจของชาวเวียดนามทุกรุ่น แม้ปัจจุบันนี้ ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงใหม่แต่หมู่บ้านต่างๆในภาคเหนือก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหมู่บ้านตนไว้ได้.