(VOVWorld)-
หมู่บ้านต่างๆของเวียดนามมีต้นกำเนิดจากอารยธรรมการปลูกข้าวนาดำ โดยมีเอกลักษณ์ของหมู่บ้านทำการเกษตร โครงสร้างแผนผังของหมู่บ้านมีความผูกพันธ์กับวิถีชีวิตและอาชีพการปลูกข้าวของชาวบ้าน ซึ่งสร้างบรรยากาศชนบทที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวเวียดนาม
หมู่บ้านโบราณเวียดนามมีโครงสร้างไม่ใหญ่นัก โดยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหรือในบริเวณใกล้แหล่งน้ำ ในบริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีทุ่งนา ซึ่งเป็นเขตผลิตของชาวบ้าน ในเขตที่ราบลุ่มภาคเหนือ หมู่บ้านแต่ละแห่งต่างมีทิวไผ่ที่ล้อมรอบหมู่บ้าน เปรียบเสมือนแนวป้องกันศัตรูและยังเป็นแหล่งจัดสรรวัตถุดิบในการสร้างบ้านและสิ่งปลูกสร้างสาธารณะ ทางเข้าหมู่บ้านต้องผ่านซุ้มประตูใหญ่ที่ก่อสร้างด้วยอิฐ มีบานประตูไม้ที่หนาและหนักแน่น ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ระบุอาณาเขตหมู่บ้านและเป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะของหมู่บ้านสัญลักษณ์และความสวยงามของหมู่บ้าน ดอกเตอร์ ดิงห่งหายจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยได้เผยว่า“หมู่บ้านแต่ละแห่งมี๒ประตู ประตูหลักเข้าหมู่บ้านมีสถาปัตยกรรมที่น่าชม โดยมีรูปปั้นและตั้งป้ายชื่อของหมู่บ้าน ส่วนประตูเข้าด้านหลังหมู่บ้านถูกใช้สำหรับงานศพ โดยมีสิ่งปลูกสร้างเชิงจิตวิญญาณต่างๆ”
เมื่อก้าวผ่านซุ้มประตูเข้าหมู่บ้าน ก็จะเป็นถนนด้วยอิฐมีลักษณะเหมือนก้างปลา โดยเส้นทางหลักของหมู่บ้านมุ่งหน้าสู่ศาลาบูชาเจ้าพ่อหลักเมืองที่อยู่ใจกลางของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเชิงจิตวิญญาณที่โดดเด่นและเป็นความภาคภูมิใจของหมู่บ้านเนื่องจากเป็นที่บูชาผู้ก่อตั้งหมู่บ้านและวีรชนที่มีคุณูปการต่อชาติบ้านเมืองและยังเป็นสถานที่จัดกิจกรรมที่สำคัญและเทศกาลต่างๆของหมู่บ้าน นาย เลกวางหงอก สถาปนิกได้เผยว่า “ศาลาของหมู่บ้านมีขนาดใหญ่และตั้งอยู่ใจกลางหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านที่ร่ำรวยศาลเจ้าจะมีขนาดใหญ่ ส่วนหมู่บ้านที่ยากจน ศาลากลางจะมีขนาดเล็ก”
บ่อน้ำ
|
ในโครงสร้างของหมู่บ้านโบราณ ยังมีสถาปัตยกรรมต่างๆที่มีความกลมกลืนกับบรรยากาศชนบท นั่นคือต้นไทรที่ปลูกข้างๆประตูทางเข้าด้านหน้าหมู่บ้านเป็นสถานที่ที่เกษตรกรใช้พักผ่อนในช่วงกลางวัน บ่อน้ำเป็นแหล่งจัดสรรน้ำของทั้งหมู่บ้านและมีความหมายทางจิตวิญญาณคือเป็นดวงตาของหมู่บ้าน เป็นสักขีพยานให้แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านหลายรุ่น นอกจากนั้น ความสวยงามของสถาปัตยกรรมอื่นๆในหมู่บ้านเช่น วิหาร ศาลเจ้าและวัดวาอารามพร้อมหลังคามุงกระเบื้องที่เชิดงอนขึ้นก็ช่วยสร้างเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านและยังแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาของชาวบ้าน
ในประวัติศาสตร์แห่งการพัฒนาของหมู่บ้าน ชาวบ้านมักจะสร้างบ้านติดกันเป็นแถวเลียบตามถนนของหมู่บ้านแต่บ้านแต่ละหลังมีขนาดที่แตกต่างกันและมีสวนหน้าบ้าน บ้านไหนที่มีฐานะดีจะมี๕-๗ห้อง ส่วนบ้านไหนที่ยากจนก็มีเพียง๓ห้องแต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ในแต่ละบ้านคือ หิ้งบูชาบรรพบุรุษต้นตระกูลที่ตั้งอยู่ตรงกลางหันหน้าไปทางประตู ส่วนแท่นนั่งบูชาตั้งไว้ด้านหน้าหิ้งบูชาเพื่อใช้สำหรับนั่งทำพิธีหรือเป็นที่ต้อนรับแขก
เวลาได้ผ่านพ้นไป โครงสร้างของหมู่บ้านและขนมธรรมเนียมประเพณีได้สร้างบรรยากาศชีวิตชนบทที่สงบสุข ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องอยู่ห่างไกลบ้านเกิด ภาพลักษณ์ของหมู่บ้านได้ช่วยปลูกฝังจิตสำนึกแห่งความภาคภูมิใจเกี่ยวกับเกียรติประวัติของปิตุภูมิ.