อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ในจังหวัดด่งทาบ

Ngoc Anh
Chia sẻ
(VOVWORLD) - อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่เป็นอาชีพเก่าแก่ในตำบลหมีจ่า เมืองกาวแหลง จังหวัดด่งทาบ ผ่านความผันผวนของกาลเวลาทางประวัติศาสตร์ อาชีพนี้ก็เกือบสูญหายไป แต่ไม่นานมานี้อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ของที่นี่ก็กลับมาพัฒนาอย่างเข้มแข็ง และช่วยให้ผู้ที่สืบทอดอาชีพนี้ต่างมีความสุขเพราะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ในจังหวัดด่งทาบ - ảnh 1อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ในจังหวัดด่งทาบ

 

สำหรับประชาชนในเขตตะวันตกภาคใต้ อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคยกันดี  โดยสามารถประยุกต์เป็นกระบุงข้าว ทำเป็นผนังบ้าน หรือนำไปขายที่กัมพูชาซึ่งเป็นที่เก็บข้าว ตากลำไยและลิ้นจี่อบแห้ง

หมู่บ้านประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่หมีจ่าก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีก่อน เมื่อเดินทางมาเยือนตำบลหมีจ่าและเขตชุมชนหมีถ่วน แขวงหมีฟู้ บรรยากาศการทำงานของชาวบ้านมีความคึกคักมาก โดยเฉลี่ยแต่ละวัน ช่างแต่ละคนสามารถทำกระบุงข้าวขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้ 8 ถึง 10 ใบ ขายที่ราคา 10,000 - 15,000 ด่งต่อใบ จากการประกอบอาชีพนี้ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

“ผมแก่แล้วและไม่มีใครจ้าง แต่การประกอบอาชีพนี้ทำง่าย ผมทำงานหนักไม่ได้”

“ถ้าไปทำงานเป็นลูกจ้าง ก็ไม่มีใครจ้าง ตอนนี้ร่างกายยังแข็งแรง ผมก็ประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ได้”

นาย เหงวียนวันเมอ ในตำบลหมีจ่า มีอายุเกือบ 80 ปี ประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่มาเป็นเวลา 70 ปี เขามีลูก 8 คน โดยมีลูก 7 คนสานต่ออาชีพนี้ ถึงแม้ว่าอาชีพนี้จะค่อยๆ สูญหายไป แต่ครอบครัวของนาย เมอ ยังคงพยายามอนุรักษ์อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่มาจนถึงทุกวันนี้

“อาชีพเสริมของชาวท้องถิ่นคือการสานแผ่นไม้ไผ่ ถ้าทำด้วยมือจะมีของขายน้อยได้เงินไม่มากนัก แต่ถ้าหากใช้เครื่องจักรช่วยก็จะขายได้มากขึ้นและมีเงินมากขึ้น เช่น ผมกับภรรยา หักค่าใช้จ่ายแล้ว มีรายได้ 100,000 ด่งต่อวัน การใช้เครื่องจักรทำช่วยประหยัดแรง”

อาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ในจังหวัดด่งทาบ - ảnh 2เฉลี่ยแต่ละคนมีรายได้ 80 - 140,000 ด่งต่อวันจากการประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่

ถึงแม้ว่าอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ไม่ใช้อาชีพที่ทำยาก แต่ต้องใช้เวลาเนื่องจากกระบวนการผลิตค่อนข้างซับซ้อน เพราะการจะได้เสื่อไม้ไผ่ที่คงทนและสวยงามต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยผู้ชายที่แข็งแรงมีหน้าที่ตอกไม้ไผ่และเหลาไม้ไผ่ ผู้หญิงทำหน้าที่สานอย่างชำนาญ ไม้ไผ่ที่ซื้อมาจะต้องแช่น้ำประมาณครึ่งวัน จากนั้นเหลาเป็นแผ่นใหญ่และตากให้แห้งประมาณหนึ่งวันแล้วค่อยนำมาเหล่าให้เป็นเส้นเล็กๆ ปัจจุบัน เฉลี่ยแต่ละคนมีรายได้ 80 - 140,000 ด่งต่อวัน ครอบครัวของนาง เลถิเฟียน ในตำบลหมีจ่า ซึ่งเมื่อก่อนเป็นครอบครัวยากจน แต่หันมาทำอาชีพนี้เป็นงานเสริมก็ช่วยให้เธอมีรายได้เพิ่มขึ้นและหลุดพ้นจากความยากจน นาง เลถิเฟียน เผยว่า

“ดิฉันสานต่ออาชีพนี้จากคุณพ่อคุณแม่และนับวันมีความหลงใหลอาชีพนี้มากขึ้น เมื่อดิฉันแต่งงานและมีครอบครัว ดิฉันรับจ้างเกี่ยวข้าว เมื่อหมดฤดูเกี่ยวข้าว ดิฉันก็กลับมาประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ ดิฉันมีประสบการณ์จึงได้รับการชื่นชมจากลูกค้า เนื่องจากประกอบอาชีพสานเสื่อไม้ไผ่มานานจึงสามารถทำผลิตภัณฑ์ได้ทุกชนิด”

ในอดีต อาชีพทำแผ่นไม้ไผ่สานได้ช่วยให้หลายครอบครัวพัฒนาฐานะความเป็นอยู่ ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่สานได้รับการจำหน่ายค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปใช้สำหรับเก็บข้าว ทำผนังบ้านและประตูบ้าน ปัจจุบัน แผ่นไม้ไผ่สานได้รับความนิยมในตลาด   ผู้ประกอบอาชีพนี้ได้ซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต  จนถึงปัจจุบัน ตำบลหมีจ่ามีกว่า 170 ครอบครัวที่ประกอบอาชีพสานแผ่นไม้ไผ่ ซึ่งดึงดูดแรงงานหลายร้อยคนมาประกอบอาชีพนี้ นาย หวอวันเถาะ ผู้ที่ประกอบอาชีพมาเป็นเวลา 30 ปีได้เผยว่า

“การประกอบอาชีพนี้สามารถทำเงินและเป็นงานหลักได้ สินค้าก็ขายดี เช่น ในกรณีที่พื้นผิวถนนได้รับความเสียหาย ก็มีคนซื้อแผ่นไม้ไผ่สาน 20-30 แผ่นแล้วอัดดินเพื่อซ่อมแซมถนน”

เมื่อปี 2003 คณะกรรมการประชาชนจังหวัดด่งทาบได้รับรองหมู่บ้านศิลปาชีพทำแผ่นไม้ไผ่สานหมีห่าเป็นหมู่บ้านศิลปาชีพ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์แผ่นไม้ไผ่สานได้รับการจำหน่ายในหลายจังหวัดทั่วประเทศ เช่น จังหวัดอานยาง เกียนยาง เตี่ยนยาง รวมทั้งในตลาดต่างประเทศคือกัมพูชา./.

คำติชม