ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อน้ำลึก หายดัง ในตำบลแทงเซิน อำเภอกิมบ๋าง ถูกแนะนำบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช |
สหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อน้ำลึก หายดัง ในตำบลแทงเซิน อำเภอกิมบ๋าง ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2019 โดยรูปแบบการเลี้ยงปลาของสหกรณ์ฯได้ยืนยันถึงคุณภาพของปลาและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลา ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ฯได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาที่ผ่านมา จากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านการขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ผลิตภัณฑ์ของสหกรณ์ฯจึงเข้าถึงตลาดหลายแห่งทั่วประเทศ โดยในแต่ละเดือน สหกรณ์ฯได้ต้อนรับลูกค้ากว่า 100 คนที่มาเยี่ยมชมและซื้อผลิตภัณฑ์ การประกอบธุรกิจที่มั่นคงและการเติบโตของรายได้ที่ดีได้ช่วยสร้างงานทำให้แก่แรงงานในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก นาย เหงวียนวันเฮี้ยว ผู้อำนวยการสหกรณ์ฯ เผยว่า
“เมื่อเราแนะนำผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น จำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นก็ช่วยให้การขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน ทางการปกครองท้องถิ่น สำนักงานและหน่วยงานผลักดันการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลเพื่อช่วยให้สหกรณ์ฯเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เพิ่มรายได้ เพิ่มแรงงานและมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาของท้องถิ่น”
จากการประยุกต์ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ โรงงานผลิตเครื่องเซรามิกเลียนเกี๋ยมในหมู่บ้านทำเครื่องเซรามิกเกวี๊ยตแถ่ง อำเภอกิมบ๋าง จังหวัดห่านาม มีส่วนแบ่งที่มั่นคงในตลาด นาย หลายต้วนเซิน เจ้าของโรงงานฯ เผยว่า
“จากการส่งเสริมการขายและการตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ทำให้เครื่องเซรามิกเลียนเกี๋ยมมีลูกค้าใหม่มากมาย ต้นทุนการขาย ต้นทุนคลังสินค้าและต้นทุนการจัดการลดลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับการขายในรูปแบบดั้งเดิม”
ส่วนที่บริษัท Herbal มิงดึ๊กในตำบลกงลี้ อำเภอลี้เญิน จังหวัดห่านาม เห็ดถั่งเช่าถูกปลูกในโรงเรือนที่มีระบบปรับอากาศ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเทคโนโลยีอัตโนมัติเพื่อบริหารจัดการกระบวนการเจริญเติบโตของเห็ดถั่งเช่าเพื่อค้ำประกันคุณภาพที่ดีที่สุด เห็ดถั่งเช่าของบริษัทฯได้รับใบรับรอง OCOP และเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 3 ดาว ส่วนที่สหกรณ์การเกษตรและบริการหมุกด่ง อำเภอยิวเตียน ได้ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในขั้นตอนการผลิตและการบริหารจัดการ ซึ่งช่วยประหยัดแรงงานและต้นทุน ส่งเสริมการผลิตและยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง นาย เจิ่นหงอกตู๊ ผู้อำนวยการสหกรณ์ฯ ยืนยันว่า
“เรากำลังประยุกต์ใช้การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลต่อผลิตภัณฑ์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์และระบุข้อมูลแหล่งที่มาบนแฟนเพจ Zalo และ Facebook เพื่อถ่ายทอดข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ พื้นที่วัตถุดิบ การปลูก การผลิตและการแปรรูป ลูกค้าสามารถติดตามแหล่งที่มาได้โดยผ่านการสแกน QR Code ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูล เราจะอัพเดทบนเว็บไซต์และส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล”
จังหวัดห่านามยังได้ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลักสองแพลตฟอร์ม ดึงดูดครัวเรือนผลิตสินค้าเกษตรเกือบ 70,000 ครัวเรือนให้เข้าร่วม (Hanamtv) |
หมู่บ้านศิลปาชีพในจังหวัดห่านาม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเข้มแข็ง เช่นการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อแนะนำและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ การออกแบบเว็บไซต์ของสถานประกอบการที่สวยสะดุดตา เนื้อหาข้อมูลที่หลากหลาย วิธีการซื้อสินค้าและการชำระเงินที่สะดวกและเทคโนโลยีดิจิทัลได้มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มรายได้ของโรงงานผลิตในหมู่บ้านศิลปาชีพ ผลิตภัณฑ์หลายรายการของหมู่บ้านศิลปาชีพในจังหวัดห่านามได้เข้าถึงผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
จนถึงขณะนี้ หน่วยงานการเกษตรของจังหวัดห่านามได้สร้างระบบการระบุแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร ป่าไม้ สัตว์น้ำและอาหารอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์เกือบ 300 รายการของโรงงานผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรของจังหวัดฯ กว่า 40 แห่งบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จังหวัดห่านามยังได้ใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลักสองแพลตฟอร์มซึ่งมีครัวเรือนผลิตสินค้าเกษตรเกือบ 70,000 ครัวเรือนเข้าร่วม นาย โงแหม่งหงอก รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทห่านามเผยว่า
“เราอำนวยความสะดวก ช่วยเหลือโรงงาน ครัวเรือนและสถานประกอบการในการขยายการผลิตและตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ช่วยเหลือการถ่ายทอดวิทยาศาสาตร์เทคโนโลยีผ่านโครงการเชื่อมโยงการผลิตทางการเกษตร ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ของจังหวัดฯให้แล้วเสร็จในเวลาที่จะถึง”
ด้วยการเป็นฝ่ายรุกของประชาชน สหกรณ์และสถานประกอบการในพื้นที่ชนบทบวกกับนโยบายสนับสนุนของจังหวัดห่านาม ความกระตือรือร้นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการผลิต ประกอบธุรกิจและประชาสัมพันธ์ การบริโภคสินค้าเกษตรและ ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านศิลปาชีพในพื้นที่ชนบทได้พัฒนาเข้มแข็งมากขึ้น ซึ่งช่วยส่งเสริมศักยภาพของเศรษฐกิจในชนบทผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง “เศรษฐกิจดิจิทัล”อย่างเต็มที่.