การประชุมผู้นำของฟอรั่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปกครั้งที่ 30 กำลังมีขึ้น ณ เมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐในระหว่างวันที่ 15-17 พฤศจิกายน (AP) |
ภายใต้หัวข้อ “การสร้างอนาคตที่พึ่งพลังตนเองและยั่งยืนสำหรับทุกคน” การประชุมมีผู้นำ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล CEO สถานประกอบการและนักวิชาการจาก 21 เศรษฐกิจเอเปกเข้าร่วม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างภูมิภาคเอเปกที่เชื่อมโยง เปลี่ยนแปลงใหม่และครอบคลุมมากขึ้น
แนวคิดใหม่และวิธีการปฏิบัติใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่
การประชุมมีขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายมากมาย โดยเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 บวกกับผลกระทบจากการปะทะในภูมิภาคหลายแห่งได้ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกลดลง ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนขยายกว้างมากขึ้น และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็รุนแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกัน แนวโน้มการคุ้มครองและยุติความร่วมมือทางการค้าได้เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว แต่กลไกการทำงานยังคงอยู่ในระดับประเทศเท่านั้น และการระดมแหล่งพลังเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนก็มีข้อจำกัด
ความท้าทายเหล่านี้ทำให้แต่ละเศรษฐกิจยากที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ และต้องร่วมมือกันในระดับภูมิภาคและระดับโลกเท่านั้นเพื่อแก้ไข การเติบโตทางเศรษฐกิจที่พึ่งพาแต่การบริโภคและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรต้องถูกทดแทนด้วยรูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืนมากขึ้น ความร่วมมือไม่เพียงแต่มุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาพลังงานสะอาดเท่านั้น หากต้องอำนวยความสะดวกเพื่อให้ทุกเศรษฐกิจขยายขอบเขตของเศรษฐกิจและลดช่องว่างการพัฒนาอีกด้วย ควบคู่กันนั้น ต้องธำรงเศรษฐกิจโลกแบบเปิด ยุติการคุ้มครองและการกีดกั้นทางการค้า จัดทำระบบธรรมาภิบาลเศรษฐกิจโลกที่โปร่งใสและเท่าเทียมกัน ค้ำประกันความสมดุลของผลประโยชน์ให้แก่ทุกสมาชิกไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ประสานงานอย่างใกล้ชิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการรับมือวิกฤติต่างๆ
เอเปกต้องมีบทบาทเป็นผู้เดินหน้าในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 จัดทำข้อกำหนดและมาตรฐานทั่วไปที่คำนึงถึงระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ ค้ำประกันให้ประชาชนทุกคนได้รับผลประโยชน์จากความคืบหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ต้องให้ความสนใจระดมแหล่งพลังเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและครอบคลุม ความต้องการที่เร่งด่วนคือการระดมและการใช้แหล่งพลังทางการเงินภาครัฐและภาคเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ
นาย หวอวันเถือง ประธานประเทศและบรรดาผู้นำเศรษฐกิจสมาชิกเอเปก (VNA) |
สัญญาณในเชิงบวกจากเอเปก 2023
ด้วยการใช้ประโยชน์จากบทบาทการเป็นศูนย์บ่มเพาะแนวคิดใหม่ของเอเปก 2023 ในระเบียบวาระการประชุมครั้งนี้ ประเทศเจ้าภาพสหรัฐได้ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อปัญหาด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เป็นธรรม การจัดตั้งเศรษฐกิจดิจิทัล การเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจให้แก่สตรี การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหารและสาธารณสุข และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน นอกจากนี้ รัฐมนตรีการค้าของ 12 ประเทศสมาชิกของข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิกหรือ CPTPP ได้เห็นพ้องที่จะรับสมาชิกใหม่
ไฮไลท์และสัญญาณในเชิงบวกในการประชุมเอเปกปีนี้คือ การพบปะระหว่างผู้นำของจีนและสหรัฐ ในฐานะเป็น 2 เศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก การเจรจาระหว่างจีนกับสหรัฐได้บรรลุความคืบหน้าในปัญหาต่างๆ เช่น ความร่วมมือในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยาเสพติด และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งความคืบหน้าเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการพัฒนาของทั้งสองประเทศเท่านั้น หากยังส่งผลต่อทุกเศรษฐกิจในทั่วโลกอีกด้วย นอกจากนี้ การพบปะทวิภาคีของผู้นำของเศรษฐกิจสมาชิกต่างก็ให้คำมั่นร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เช่น ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีได้เห็นพ้องที่จะจัดการเจรจาทางเศรษฐกิจระดับสูงเป็นประจำเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจสีเขียวและสาธารณสุข ส่วนจีนและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะจัดตั้งกลไกการเจรจาเกี่ยวกับการควบคุมการส่งออก เป็นต้น
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในกรอบกลไกความร่วมมือเอเปก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้กลายเป็นเสาหลักแห่งการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จนี้คือการให้ความสนใจถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งเสริมการค้าเสรี การประชุมเอเปก 2023 พร้อมสัญญาณในเชิงบวกที่ได้บรรลุในเบื้องต้นได้ช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อการค้าเสรีและการลงทุน สร้างพื้นฐานให้แก่ข้อตกลงความร่วมมือที่สำคัญบนเส้นทางใหม่ที่มุ่งสู่เป้าหมายการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน.