(VOVworld) – วันที่ 5 เมษายน ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม สหภาพยุโรปหรืออียูและสหประชาชาติจะร่วมกันเป็นประธานในการหารือเกี่ยวกับอนาคตของซีเรียเป็นเวลา 2 วันโดยเน้นประเด็นช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและการฟื้นฟูประเทศซีเรีย หลังสงครามกลางเมืองเป็นเวลา 6 ปี ประเทศซีเรียกำลังมีโอกาสเพื่อสร้างสรรค์รัฐบาลชุดเปลี่ยนผ่านที่มีตัวแทนของฝ่ายการเมืองทุกฝ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ภารกิจการฟื้นฟูบูรณะประเทศจากความเสียหายยังคงเต็บไปด้วยอุปสรรคและความท้าทาย
เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ Nikki Haley (Photo Reuters)
|
สงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปีในซีเรียได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 4 แสนคนและชาวซีเรียนับล้านคนต้องทิ้งบ้านเรือนอพยพไปต่างประเทศ จนทำให้เกิดวิกฤตผู้อพยพที่รุนแรงที่สุดในยุโรป โดยในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ได้มีการจัดการเจรจาสันติภาพหลายครั้งระหว่างรัฐบาลซีเรียกับกลุ่มฝ่ายค้านโดยมีสหประชาชาติให้การสนับสนุนและล่าสุดคือการเจรจาที่กรุงอัสตานา ประเทศคาซัคสถานเมื่อวันที่ 15 มีนาคมแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากทุกฝ่ายยังไม่สามารถแสวงหาเสียงพูดเดียวกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองและวิธีการเข้าถึงปัญหาของประเทศมหาอำนาจที่ยังมีความแตกต่างกัน
วิธีการเข้าถึงใหม่ในปัญหาซีเรียของประชาคมระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม วิกฤตในซีเรียกำลังมีสัญญาณที่น่ายินดีเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงใหม่วิธีการเข้าถึงของประชาคมระหว่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม อียูได้ประกาศแผนการที่มุ่งสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูประเทศซีเรีย โดยถือว่า ซีเรียต้องการสันติภาพที่สนับสนุนโดยประชาคมระหว่างประเทศแทนสงครามที่สนับสนุนโดยประชาคมระหว่างประเทศที่ยืดเยื้อมานานกว่า 6 ปีจนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 4 แสนคน โดยอียูจะมีบทบาทเดินหน้าในช่วงหลังการปะทะในซีเรียและเบลเยี่ยมพร้อมที่จะปฏิบัติเมื่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอย่างแท้จริงได้เริ่มขึ้นในซีเรีย อียูก็ยืนยันว่า ตอนนี้สามารถระดมงบประมาณได้ 9.4 พันล้านยูโร โดยได้มีการใช้งบประมาณด้านมนุษยธรรมเกือบ 1 พันล้านยูโรแล้ว ควบคู่กับการระดมเงินทุนเพื่อฟื้นฟูซีเรีย เบลเยี่ยมยังช่วยซีเรียจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ จัดการเลือกตั้งทั่วไปและสนับสนุนการตรวจสอบการเลือกตั้ง
ในขณะเดียวกัน สหรัฐก็เปลี่ยนแปลงจุดยืนต่อปัญหาซีเรียโดยล่าสุดคือเมื่อวันที่ 31 มีนาคม เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ Nikki Haley ได้ยอมรับว่า ไม่ถือการลาออกจากตำแหน่งของประธานาธิบดีซีเรีย บาซาร์ อัล อาดซาด เป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดในการเจรจา หากมีความประสงค์จะปฏิบัติมาตรการแก้ไขต่างๆเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ดีงามและเป็นก้าวกระโดดให้แก่ประชาชนซีเรีย พร้อมทั้งย้ำว่า อนาคตของซีเรียจะต้องตัดสินใจโดยชาวซีเรีย ซึ่งนี่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในนโยบายเกี่ยวกับตะวันออกกลางของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เมื่อเทียบกับประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ส่วนตามความคิดเห็นของบรรดานักวิเคราะห์ การที่สหรัฐเปิดเผยจุดยืนเกี่ยวกับปัญหาซีเรียอาจทำให้เวทีการเมืองในซีเรียมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ประธานาธิบดีซีเรีย บาซาร์ อัล อาดซาด (Photo Reuters)
|
เส้นทางการฟื้นฟูประเทศซีเรียที่ยังเต็มไปด้วยความลำบาก
การที่สหรัฐและยุโรปเปลี่ยนจุดยืนเกี่ยวกับซีเรียได้ส่งสัญญาณที่น่ายินดีต่อการเจรจาสันติภาพในซีเรีย โดยประชาคมระหว่างประเทศสามารถตั้งความหวังเกี่ยวกับแผนการสันติภาพให้แก่ซีเรียโดยสหประชาชาติเป็นคนกลางและนาย บาซาร์ อัล อาดซาด ยังคงเข้าร่วมกระบวนการถ่ายโอนอำนาจในขณะที่รัฐบาลชั่วคราวได้รับการก่อตั้ง
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ซีเรียจะมีสันติภาพและเสถียรภาพอย่างแท้จริงกลับเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก และต้องใช้เวลานานเพราะการแทรกแซงกิจการภายในซีเรียของทุกฝ่ายยังคงมีปัจจัยที่ไม่สามารถคาดเดาได้ จากนโยบายที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการต่อต้านการก่อการร้าย ก่อนอื่น รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์อาจพิจารณาถึงการประสานงานทางทหารกับรัสเซียแต่ในระยะยาว สหรัฐยังกำหนดว่า ซีเรียเป็นประเทศที่สำคัญต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงในตะวันออกกลางของวอชิงตัน ดังนั้นเป็นการยากที่สหรัฐจะละทิ้งหรือยืนมองเฉยๆในขณะที่รัสเซียกำลังมีบทบาทในซีเรีย โดยเฉพาะในขณะที่ทุกฝ่ายในซีเรียเริ่มปฏิบัติกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง สำหรับอียู ในเวลาที่ผ่านมาอียูมีบทบาทไม่มากนักในสงครามกลางเมืองซีเรียแต่ถึงขณะนี้ก็ได้เข้าร่วมอย่างเข้มแข็งโดยมีความปรารถนาที่จะเป็นฝ่ายสร้างสรรค์สันติภาพให้แก่ซีเรียผ่านคำประกาศที่มุ่งถึงการสร้าง “สันติภาพที่สนับสนุนโดยประชาคมระหว่างประเทศ” โดยไม่สนใจถึงบทบาทของรัสเซียที่เป็นผู้เดินหน้าในขบวนการต่อต้านกลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสในซีเรีย ส่วนรัสเซียและฝ่ายอุปถัมภ์ต่างๆ เช่น อิหร่าน ตุรกีและซาอุดิอาระเบียจะยอมรับเรื่องนี้หรือไม่ นอกจากนั้น อนาคตของทางการเมืองซีเรียจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัจจัยต่างๆ เช่น จุดยืนที่แข็งกร้าวของฝ่ายค้านเกี่ยวกับบทบาทของนาย บาซาร์ อัล อาดซาด การปะทะที่ทวีความรุนแรงระหว่างชาวชีอะห์กับชาวสุหนี่โดยตัวแทนคืออิหร่านและซาอุดิอาระเบีย นโยบายของตุรกีต่อกลุ่มชาวเคิร์ดและกองกำลังหลักของสหรัฐในการถ่ายโอนอำนาจให้แก่ซีเรีย เป็นต้น
นักวิเคราะห์เห็นว่า สิ่งเหล่านี้จะเป็นการกีดขวางกระบวนการฟื้นฟูประเทศซีเรีย การที่จะทำให้ชาวซีเรียได้เป็นผู้ตัดสินใจให้แก่อนาคตของประเทศนั้น จำเป็นต้องมีความร่วมมือที่จริงใจจากทุกฝ่ายทั้งภายในและนอกภูมิภาคและการฟื้นฟูประเทศซีเรียหลังสงครามกลางเมืองกว่า 6 ปีจะประสบความยากลำบากและอุปสรรคต่างๆอย่างแน่นอน.