เวียดนามมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่ความสำเร็จของฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก

Huyền-Việt Hà
Chia sẻ
(VOVworld)–ท่านเหวียนเติ๊นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เข้าร่วมฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก(WEF เอเชียตะวันออก)ปี๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่๒๑พฤษภาคมพร้อมกับผู้แทนประมาณ๔๕๐คนซึ่งเป็นผู้นำประเทศ นักการเมือง เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ๆ องค์การระหว่างประเทศ องค์การสังคมทั้งในและนอกภูมิภาค 

(VOVworld) –  ท่านเหวียนเติ๊นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เข้าร่วมฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก(WEF เอเชียตะวันออก)ปี๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในวันที่๒๑พฤษภาคมพร้อมกับผู้แทนประมาณ๔๕๐คนซึ่งเป็นผู้นำประเทศ นักการเมือง เจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ๆ องค์การระหว่างประเทศ องค์การสังคมทั้งในและนอกภูมิภาค วันที่๒๑พฤษภาคม ฟอรั่มนี้ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นโอกาสเพื่อให้เวียดนามประสานกับประเทศต่างๆในภูมิภาคผลักดันความคิดสร้างสรรค์และกรอบความร่วมมือเพื่อมีส่วนร่วมยกระดับคุณภาพกิจกรรมของฟอรั่มเศรษฐกิจโลกและผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศสมาชิกWEF

เวียดนามมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่ความสำเร็จของฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก - ảnh 1
ท่านเหวียนเติ๊นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนาม(Photo: TTX)

ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงขาดความยั่งยืนและความสมดุลย์  อัตราการขยายตัวของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และกำลังพัฒนาได้ชลอตัวลงก่อนวิกฤติซึ่งคาดว่า จะอยู่ที่ร้อยละ๔.๙ในปี๒๐๑๔และร้อยละ๕.๓ในปี๒๐๑๕ แต่เอเชียตะวันออกกลับถูกถือว่าเป็นหัวรถจักรผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้น ฟอรั่มเศรษฐกิจโลกเอเชียตะวันออกปีนี้ในหัวข้อ“ผลักดันการขยายตัวเพื่อความก้าวหน้าของทุกเศรษฐกิจ”จะเน้นอภิปรายเกี่ยวกับการขยายตัวเพื่อความก้าวหน้าของทุกเศรษฐกิจและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการเชื่อมโยงภูมิภาค

บทบาทของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกในเศรษฐกิจโลก

ดร.เหงวียนดึ๊กแถ่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและนโยบายแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยกล่าวว่า เอเชียตะวันออกมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในเศรษฐกิจโลกซึ่งแสดงให้เห็นจากขนาดและความคล่องตัวของภูมิภาคนี้ โดยในด้านขนาด เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกคิดเป็นร้อยละ๓๐ของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งมีเศรษฐกิจใหญ่ๆ เช่น ญี่ปุ่น จีน และสาธารณรัฐเกาหลี นอกจากนี้ยังมีเศรษฐกิจที่มีความคล่องตัว เช่น ไต้หวัน ฮ่องกองและสิงคโปร์ ส่วนในด้านการค้า เอเชียตะวันออกก็มีมูลค่าการค้าคิดเป็นร้อยละ๓๐ของการค้าโลก“เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า  เอเชียตะวันออก ได้แก่เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมานาน และสามารถฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังวิกฤติ ดังนั้น นี่คือความหวังของเศรษฐกิจโลกที่เงินทุนจากต่างประเทศกำลังไหลเข้ามาอย่างรวดเร็ว”

อย่างไรก็ดี หนึ่งในความท้าทายของเอเชียตะวันออกในปัจจุบันคือ บรรดาเศรษฐกิจได้พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก วิกฤติเศรษฐกิจโลกเริ่มต้นจากสหรัฐ และยุโรปตะวันออกซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อเศรษฐกิจประเทศต่างๆในภูมิภาค ดังนั้น ในปัจจุบัน เอเชียตะวันออกกำลังเน้นพิจารณารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจเฉพาะของตนซึ่งนอกจากการเปิดรับแหล่งเงินทุนใหญ่ๆจากประเทศต่างๆแล้ว บรรดาประเทศในเอชียตะวันออกก็กำลังมีแนวทางที่ชัดเจนต่างๆ เช่น การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจหลังวิกฤติ ขยายตลาดภายในประเทศและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

เวียดนามมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่ความสำเร็จของฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก - ảnh 2
ดร.เหงวียนดึ๊กแถ่ง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและนโยบายแห่ง
มหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย(Viennghiencuukinhtevachinhsach)

สร้างโอกาสในกระบวนการผสมผสาน

ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจโลกกำลังค่อยๆฟื้นตัว บรรดานักลงทุนจะแสวงหาตลาดที่มีเสถียรภาพและมีศักยภาพพัฒนาเพื่อขยายการลงทุน ดังนั้น เอเชียตะวันออกยังคงเป็นภูมิภาคที่โดดเด่นในด้านศัยกภาพและดึงดูดการลงทุนอย่างเข้มแข็ง

จากการใช้โอกาสนี้ เวียดนามกำลังผสมผสานเข้ากับภูมิภาคอย่างเข้มแข็งมีความพยายามร่วมกับอาเซียนสร้างสรรค์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี๒๐๑๕ให้เป็นผลสำเร็จและผ่านกลไกความร่วมมือของอาเซียน และWEF เอเชียตะวันออก เวียดนามได้ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์เกี่ยวกับประเทศที่กำลังผสมผสานในทุกด้านและพัฒนาอย่างคล่องตัว อำนวยความสะดวกให้ชมรมนักธุรกิจเวียดนามขยายการค้า ควบคู่กันนั้น เวียดนามกำลังสร้างสรรค์สถานประกอบการที่มีความเข้มแข็งที่สามารถแข่งขันในกระบวนการผสมผสานได้ ปัจจุบัน เวียดนามมีกลุ่มบริษัทและเครือบริษัทใหญ่ที่เป็นสมาชิกของWEF รวมทั้งหมด๑๓แห่ง เช่น เครือบริษัทปิโตรเลี่ยมเวียดนาม เครือบริษัทFPT Vin Group และVina Capital  ดร.เหงวียนดึ๊กแถ่งกล่าวว่า“เวียดนามตั้งอยู่บนทำเลที่เหมาะสำหรับการเชื่อมโยงอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อผสมผสาน การกีดกันทางการค้าและการลงทุนจะลดลงส่งผลให้สามารถเชื่อมโยงได้โดยง่ายแม้จะอยู่ไกลกัน  การผลิตและการส่งออกของสถานประกอบการเวียดนามต้องมีจุดเด่นเฉพาะเพราะการดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิมทำให้การขยายเครือข่ายผลิตประสบความลำบาก ดังนั้น เวียดนามต้องมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นจุดแข็งของตน”

มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันให้แก่ความสำเร็จของฟอรั่มเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก

ในหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามได้เข้าร่วมWEF เอเชียตะวันออกอย่างเข้มแข็งซึ่งถือเป็นกลไกความร่วมมือที่สำคัญในกระบวนการปฏิบัติแนวทางผสมผสานเข้ากับโลก เมื่อปี๒๐๑๐ เวียดนามได้จัดฟอรั่มWEF เอเชียตะวันออก ณ นครโฮจิมินห์ในหัวข้อ“บทบาทของเอเชียนับวันเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาของโลก”ประสบความสำเร็จ  ในช่วงปี๒๐๑๒ถึงปี๒๐๑๓ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้เข้าร่วมฟอรั่มWEFเอเชียตะวันออก ที่ประเทศไทยและพม่าซึ่งในการเข้าร่วมประชุม เวียดนามได้ยืนยันอยู่เสมอว่า จะร่วมมืออย่างแน่นแฟ้น ผลักดันความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงเศรษฐกิจ การผสมผสานและเชื่อมโยงภูมิภาค รับมือกับความท้าทายจากการพัฒนา ดังนั้น การเข้าร่วมของท่านเหงวียนเติ้นหยุงนายกรัฐมนตรีเวียดนาม ณ ฟอรั่มWEFเอเชียตะวันออก๒๐๑๔ ที่จัดขึ้น ณ ประเทศฟิลิปปินส์ครั้งนี้จะเป็นการยืนยันอีกครั้งถึงแนวทางผสมผสานเข้ากับโลกในเชิงรุกของเวียดนามและยกระดับบทบาท สถานะและภาพลักษณ์ของเวียดนามในภูมิภาค./.

Komentar