ในรายงานผลการปฏิบัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมปี 2024 และร่างแผนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ปี 2025 ที่เสนอในการประชุมสภาแห่งชาติเวียดนามเมื่อเช้าวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้เผยว่า รัฐบาลได้ระดมแหล่งพลังต่างๆ เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและภาคกลางเวียดนาม โดยในปี 2023 ได้ใช้งบถึง 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อแก้ไขผลเสียหายจากเหตุดินถล่มในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง แก้ไขอุปสรรคและผลักดันการปฏิบัติโครงการพัฒนาแบบยั่งยืนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงรวม 16 โครงการ โดยใช้เงินกู้จากต่างประเทศราว 2 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสีเขียว รับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและการปรับเปลี่ยนด้านพลังงาน
ปรับเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งสีเขียว
ในฐานะเป็นประเทศที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ ต่อการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่อปี 2012 รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับการขยายตัวแห่งสีเขียวหรือ VGGS และแผนปฏิบัติการแห่งชาติเกี่ยวกับการขยายตัวแห่งสีเขียวหรือ GGAP โดยเอกสารเหล่านี้ได้กำหนดเป้าหมายต่างๆ เพื่อปฏิบัติคำมั่นของรัฐบาลเวียดนามเกี่ยวกับการพัฒนาและปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งปรับเปลี่ยนสู่ระบบเศรษฐกิจแห่งสีเขียว ค้ำประกันการขยายตัวอย่างรอบด้านและยั่งยืน นอกจากนี้ เวียดนามก็ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินตลาดคาร์บอนเป็นการนำร่องภายในปี 2025 และให้บริการอย่างเป็นทางการในปี 2028
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ได้ลงนามประกาศมติที่ 13 ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบคุมคาร์บอนเครดิตเพื่อเป้าหมายมีอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยกำชับให้สำนักงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาตั้งระบบจดทะเบียนแห่งชาติเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต บริหารโครงการและกิจกรรมที่ลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและใช้คาร์บอนเครดิตสนับสนุนการนำร่องและการพัฒนาตลาดคาร์บอนภายในประเทศและแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ พร้อมทั้งเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาตลาดคาร์บอนในเวียดนามอย่างสมบูรณ์โดยเร็ว
บรรดาผู้เชี่ยวชาญได้เผยว่า เวียดนามมีศักยภาพสูงในการสร้างสรรค์ตลาดคาร์บอน โดยมีความได้เปรียบต่างๆ ในอุตสาหกรรมที่ลดและขจัดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก นี่เป็นช่วงเวลาชี้ขาดให้เวียดนามกำหนดและเพิ่มสถานะในห่วงโซ่คุณค่าแห่งสีเขียวทั่วโลก รองศ.ดร. เหงียนเถื่องหลาง จากสถาบันการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แสดงความคิดเห็นว่า
“การพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตเป็นก้าวเดินที่สำคัญเพื่อปฏิบัติเป้าหมาย นั่นคือต้องควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 และใช้ความได้เปรียบต่างๆ ของวียดนามในด้านนี้ มิฉะนั้น เราจะพลาดโอกาสแล้วจะต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นถ้าปฏิบัติล่าช้า ถ้าหากเราใช้โอกาสนี้ได้อย่างเต็มที่ เราจะสามารถระดมแหล่งพลังต่างๆ ของเวียดนามอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงระหว่างตลาดเวียดนามกับประเทศต่างๆ รวมทั้งสามารถปฏิบัติภารกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามกลไกตลาดได้”
เวียดนามมีส่วนร่วมใน COP 29
นาย ฝ่ามวันเติ๊น รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รองหัวหน้าคณะเจรจาของเวียดนามเผยว่า สโลแกนของการประชุม COP 29 คือ “สามัคคีเพื่อโลกแห่งสีเขียว” และ “เพิ่มความทะเยอทะยาน กระตุ้นการปฏิบัติ” โดยสโลแกนแรกมุ่งสู่การที่ทุกประเทศต้องปฏิบัติคำมั่นอย่างจริงจัง ทั้งในการลดการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจกและการสมทบเงินทุน สามัคคีเพื่อปฏิบัติเป้าหมายร่วมกัน ส่วนสโลแกนที่ 2 คือ จากการประเมินครั้งแรกเกี่ยวกับความพยายามในทั่วโลกได้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้สามารถบรรลุทุกคำมั่นที่วางไว้แต่อุณหภูมิโลกยังคงเพิ่มขึ้น 2.4-2.7 องศาเซลเซียส สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ตามข้อตกลงปารีส คือพยายามควบคุมการเพิ่มอุณหภูมิไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสและพยายามให้การเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเท่านั้น ดังนั้น ทุกประเทศต้องเพิ่มความพยายามในด้านนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายของข้อตกลงปารีสและ “กระตุ้นการปฏิบัติ” เพื่อแปรคำมั่นให้เป็นความจริง นาย ฝ่ามวินเติ๊นกล่าวว่า
“เงินลงทุนสำหรับการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอยู่ที่แค่ร้อยละ 5 ดังนั้น เวียดนามของเรียกร้องให้เพิ่มเงินทุนและแหล่งพลังต่างๆ ให้แก่ภารกิจนี้ โดยการระดมแหล่งเงินทุนต้องเท่าๆ กันระหว่างการรับมือและการลดผลเสียหาย”
นายกรัฐมนตรี ฝ่ามมิงชิ้ง ก็ยืนยันหลายครั้งว่า ต้องปฏิบัติคำมั่นที่ให้ไว้และเรียกร้องให้ทุกประเทศร่วมกันปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายและเพิ่มเป้าหมายให้สูงขึ้นในระยะต่อไป สำหรับความพยายามในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเวลาที่ผ่านมา เวียดนามมีความประสงค์ว่า โลกจะสามัคคีกันผ่านการประสานงานของสหประชาชาติในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ.