เพื่ออาเซียนที่พัฒนาอย่างยั่งยืน

Ánh Huyền/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม อาเซียนครั้งที่ 13 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกำลังมีขึ้น ณ กรุงฮานอยซึ่งเป็นกิจกรรมใหญ่ในกรอบความร่วมมืออาเซียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 3 ปีโดยมีเป้าหมายคือมุ่งสู่อาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาด ในการประชุมครั้งนี้จะมีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือในอาเซียน เช่นเดียวกับระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆเมื่ออาเซียนกลายเป็น ประชาคมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียนในเวลาที่จะถึง
(VOVworld)การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนครั้งที่ 13 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกำลังมีขึ้น ณ กรุงฮานอยซึ่งเป็นกิจกรรมใหญ่ในกรอบความร่วมมืออาเซียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 3 ปีโดยมีเป้าหมายคือมุ่งสู่อาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาด ในการประชุมครั้งนี้จะมีการจัดตั้งกลไกความร่วมมือในอาเซียน เช่นเดียวกับระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆเมื่ออาเซียนกลายเป็นประชาคมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของอาเซียนในเวลาที่จะถึง

เพื่ออาเซียนที่พัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 1
บรรดารัฐมนตรีที่เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนครั้งที่13


ประชาคมอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งในปลายปี2015บนพื้นฐาน 3 เสาหลัก ประกอบด้วยประชาคมการเมือง-ความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจและประชาคมวัฒนธรรม-สังคม คาดว่า การจัดตั้งประชาคมอาเซียนจะเปิดระยะใหม่แห่งการเชื่อมโยงและร่วมมือในภูมิภาค รวมทั้งความร่วมมือเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
จัดตั้งกลไกร่วมมือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยเร็ว
อาเซียนคือภูมิภาคที่มีระบบนิเวศที่หลากหลายและแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมคือหนึ่งในเนื้อหาหลักของความร่วมมือที่ถูกนำมาเสนอในตอนเริ่มจัดตั้งสมาคมและได้รับการผลักดันจากประเทศสมาชิก
ตั้งแต่ปี 1977 อาเซียนได้เริ่มลงมือจัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมอนุภูมิภาคอาเซียนภายใต้การช่วยเหลือของโครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติซึ่งสร้างนิมิตหมายและเปิดกระบวนการร่วมมืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาค เมื่อปี 1981 อาเซียนได้อนุมัติโครงการสิ่งแวดล้อมและออกแถลงการณ์ครั้งแรกโดยย้ำถึงเป้าหมายและกำหนดแนวทางร่วมมือของภูมิภาค หลังจากนั้น เอกสารฉบับอื่นๆก็ได้รับการจัดทำ เช่นแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในช่วงปี 1994-2010 โครงการปฏิบัติการเวียงจันทน์ในช่วงปี 2004-2010 แผนปฏิบัติการฮานอยในช่วงปี1999-2004 แถลงการณ์อาเซียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนปี 2007 แถลงการณ์ผู้นำเอเชียตะวันออกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พลังงานและสิ่งแวดล้อมและเมื่อเร็วๆนี้ ความร่วมมืออาเซียนในด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้พัฒนาอย่างเข้มแข็งและขยายมากขึ้นโดยประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลข่าวสารอย่างทันการณ์ รวมทั้งมีการประสานงานปฏิบัติกิจกรรมต่างๆเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความหมายที่เป็นรูปธรรม ในกระบวนการร่วมมืออาเซียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อาเซียนได้รับความร่วมมือและการช่วยเหลือจากประเทศคู่เจรจาอื่นๆ รวมทั้งญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและจีน กิจกรรมร่วมมืออาเซียนและอาเซียน+3ซึ่งมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีส่วนร่วมผลักดันทักษะความสามารถเกี่ยวกับการบริหารสิ่งแวดล้อมและจัดทำนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแต่ละประเทศสมาชิก
เพื่ออาเซียนที่พัฒนาอย่างยั่งยืน - ảnh 2
นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๊นหยุงกล่าวปราศรัยในการประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนครั้งที่13

ร่วมมือแก้ไขความท้าทายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ในหลายปีมานี้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มลภาวะสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงด้านอาหารและแหล่งน้ำได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมิภาคและต่อแต่ละประเทศ ดังนั้นปัจจุบัน เนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนคือการร่วมแรงร่วมใจแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน ประชาคมอาเซียนจะได้รับการจัดตั้งในปลายปีนี้และวิสัยทัศน์อาเซียนหลังปี 2015 ได้รับการจัดทำขึ้นด้วยกรอบและข้อกำหนดใหม่ๆโดยอาเซียนตั้งเป้าไว้ว่าจะมุ่งสู่ประชาคมอาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาดด้วยกลไกที่ได้รับการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภูมิภาค ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยเนื้อหาหลักเพื่อปฏิบัติในระยะนี้คือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเขตพัฒนาเศรษฐกิจสังคม รวมทั้งการบริหารแหล่งน้ำมัน แหล่งน้ำ เหมืองแร่ พลังงาน ความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน ตลอดจนการผลักดันการรักษาคุณภาพแหล่งน้ำและอากาศให้แก่ภูมิภาคอาเซียน ควบคู่กันนั้นอาเซียนจะเข้าร่วมกับประชาคมโลกอย่างเข้มแข็งเพื่อแก้ไขความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการปกป้องชั้นโอโซน ตลอดจนการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาดให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

เพื่อปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาดให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากการจัดตั้งกลไกความร่วมมือแล้ว อาเซียนกำลังผลักดันการศึกษาและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันอาเซียนได้จัดตั้งกลุ่มปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเน้นถึงปฏิบัติการ 5 ข้อในระยะสั้นที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆคือการจัดตั้งโรงเรียนอาเซียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การฝึกอบรมผู้บริหารพัฒนาอย่างยั่งยืนในการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ผลักดันการจัดทำฐานข้อมูลประเมินการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม จัดตั้งเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในเยาวชนอาเซียนและจัดงานมหกรรมภาพยนตร์อาเซียน อาเซียนยังได้อนุมัติแผนปฏิบัติการว่าด้วยการให้การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียนในช่วงปี 2014-2018 เพื่อผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการให้การศึกษาและผลักดันการเข้าร่วมของประชาชนในปัญหาสิ่งแวดล้อม
อาเซียนกำลังย่างเข้าสู่การเป็นประชาคมซึ่งภายใต้ชายคาร่วมนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพยายามอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภูมิภาคและโลก.

Komentar