(VOVworld) – วันที่ 12 พฤศจิกายน การประชุมสุดยอดอียู-แอฟริกาได้เปิดขึ้น ณ เมือง วัลเลตตา ประเทศมอลตาเพื่อผลักดันการปฏิบัติมาตรการรับมือกับกระแสผู้อพยพเข้ายุโรป ถึงแม้ได้เสนอหลายมาตรการ แต่ในทางเป็นจริง จนถึงปัจจุบัน อียูยังไม่สามารถบรรลุความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติมาตรการแก้ปัญหาผู้อพยพได้
ยุโรปยังไม่สามารถหามาตรการแแก้ไขปัญหาผู้อพยพได้ (Reuters)
|
การประชุมสุดยอดครั้งนี้ได้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ 28 ประเทศสมาชิกอียูพร้อมกับประเทศหุ้นส่วนอื่นๆไม่สามารถปฏิบัติคำมั่นให้การช่วยเหลือผู้อพยพในด้านการเงินและที่อยู่อาศัย ในขณะที่แผนการจัดระเบียบผู้อพยพยังคงมีความขัดแย้งกันระหว่างประเทศสมาชิก จนถึงปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอียูสนับสนุนงบประมาณ 500 ล้านยูโรจากจำนวนทั้งหมด 2.8 พันล้านยูโรตามที่ให้คำมั่นไว้ซึ่งจะสงวนให้แก่องค์การระหว่างประเทศและกองทุนให้การช่วยเหลือผู้อพยพ
ในขณะเดียวกัน กระแสผู้อพยพที่หลั่งไหลไปยังยุโรปได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานสถิติของสำนักงานควบคุมเขตชายแดนอียู ตั้งแต่ต้นปี 2015 จนถึงปัจจุบัน ผู้อพยพที่เดินทางไปยังยุโรปสูงขึ้นถึง 9 แสนคนซึ่งสูงกว่าปี2014ถึง 5 เท่า
ความขัดแย้งในอียูเกี่ยวกับนโยบายต่อผู้อพยพ
เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา 28 ประเทศสมาชิกอียูได้บรรลุความเห็นพ้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบผู้อพยพ แต่ทุกคำมั่นยังคงอยู่บนกระดาษเท่านั้น ข้อติดขัดที่ใหญ่ที่สุดคือยังไม่มีระเบียบการเพื่อปฏิบัติ ตลอดจนการควบคุมผู้อพยพที่เข้าไปยังยุโรป
แม้ได้มีการจัดการประชุมหลายครั้งแต่ประเทศสมาชิกอียูยังคงมีความขัดแย้งเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขวิกฤตผู้อพยพในขณะที่ประเทศที่เป็นทางผ่านกลับพร้อมที่จะเปิดประตูต้อนรับผู้อพยพแต่ผู้อพยพต่างพากันไปยังประเทศที่พัฒนาและมีระบบสวัสดิการสังคมที่ดี เช่นเยอรมนี ดังนั้นประเทศในยุโรปกลางและยุโรปเหนือเป็นจุดหมายปลายทางของผู้อพยพ ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้อพยพนับพันคนได้หาทุกวิธีเพื่อเดินทางผ่านเขตบอลข่าน แม่น้ำและทุ่งนาในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้เพื่อไปยังยุโรปเหนือโดยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาได้มีผู้อพยพ 2 แสน 5 หมื่นคนไปยังยุโรปผ่านเขตบอลข่านและเมื่อฮังการีไม่สามารถรับผู้อพยพได้อีกจนต้องปิดจุดผ่านแดนที่ติดกับเซอร์เบีย กลุ่มผู้อพยพเหล่านี้ก็ได้หาทางอื่นเพื่อเดินทางผ่านเซอร์เบียไปยังโครเอเชีย ผ่านสโลเวเนียเพื่อไปยังออสเตรีย เยอรมนีหรือประเทศต่างๆในยุโปรเหนือซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้อียูต้องเรียกการประชุมฉุกเฉินเมื่อเร็วๆนี้เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลเส้นทางบอลข่านเพื่อขัดขวางกระแสผู้อพยพไปยังยุโรปเหนือ แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ยังมีความขัดแย้งกันอย่างมากโดยสโลเวเนียซึ่งเป็นประเทศเล็กในเขตแอลป์ (Alpes) ได้แสดงความเห็นว่า ประเทศเหล่านี้ต้องได้รับการช่วยเหลือมากขึ้นเนื่องจากมีผู้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากหลังจากที่ฮังการีปิดจุดผ่านแดนที่ติดกับเซอร์เบียและโครเอเชีย ฮังการีได้ยืนหยัดปกป้องนโยบายตั้งรั้วเพื่อขัดขวางผู้อพยพในเขตชายแดนและแสดงความเห็นว่า ประเทศเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในเส้นทางบอลข่านแต่ควรเป็นผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ตามทัศนะของฮังการี เหตุผลของวิกฤตคือประเทศสมาชิกในกลุ่มเชงเก้นไม่ได้ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้ นั่นคือผู้อพยพที่เดินทางถึงยุโรปต้องกรอกแบบฟอร์มขอลี้ภัยล่วงหน้า แต่ประเทศที่เปิดรับผู้อพยพไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่สามารถควบคุมผู้อพยพได้จนนำไปสู่การทำให้กระแสผู้อพยพพากันมุ่งหน้าไปยังยุโรปเหนือ
ผู้อพยพส่วนใหญ่คือชาวมุสลิมจากซีเรียและแอฟริกา (Reuters)
|
ยังไม่เห็นพ้องที่จะปฏิบัติการ
เป็นที่ชัดเจนว่า จนถึงปัจจุบัน วิกฤตผู้อพยพไปยังยุโรปยังไม่สามารถแสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขได้ ถึงแม้มีความเห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะเปิดรับผู้อพยพแต่ก็ต้องพิจารณาเงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและความแตกต่างกันเกี่ยวกับศาสนาซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ยุโรปมีความขัดแย้งกันอย่างหนัก
ประเทศที่คัดค้านการรับผู้อพยพส่วนใหญ่คือประเทศที่กำลังประสบอุปสรรค์ด้านเศรษฐกิจสังคม มีความขัดแย้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมและศาสนา ผู้อพยพส่วนใหญ่คือชาวมุสลิมจากซีเรียและแอฟริกาในขณะที่ประชาชนและรัฐบาลของประเทศยุโรปยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับชาวมุสลิมมากอย่างนี้ แถมปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้อพยพในประเทศที่รับผู้อพยพ เช่นเยอรมนีซึ่งรับผู้อพยพมากที่สุดในยุโรปโดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน เยอรมนีได้เปิดรับผู้อพยพกว่าครึ่งล้านคน แต่ชาวเยอรมนีกำลังรู้สึกเสียใจเกี่ยวกับการตัดสินใจของตนหลังจากเกิดเหตุปะทะกันจากผู้อพยพ ความวิตกกังวลของชาวเยอรมนีต่อผู้อพยพแสดงให้เห็นชัดเจนที่สุดผ่านคะแนนนิยมต่อนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ที่ลดลงเหลือร้อยละ 49 จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2015
ในสภาวการณ์ดังกล่าว ทุกคนยังไม่ได้คาดหวังเกี่ยวกับมาตรการที่มีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติจากการประชุมสุดยอดอียู-แอฟริกาครั้งนี้ โดยเฉพาะความวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศที่เปิดรับผู้อพยพ นอกจากปัจจัยทางบวกเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรมนุษย์แล้ว ผลกระทบที่จะตามมาจากปัญหาผู้อพยพยังคงเป็นปัญหาที่อียูยังไม่สามารถแก้ไขได้.