นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐและนาย วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย (Photo: Internet) |
บรรดาส.ส สหรัฐได้ตัดสินใจเพิ่มความเข้มงวดในการคว่ำบาตรรัสเซียเนื่องจากรัสเซียได้แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี 2016 ตลอดจนปัญหาที่เกี่ยวข้องถึงยูเครนและซีเรีย ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้มุ่งเป้าไปยังโครงการปิโตรเลี่ยมของรัสเซียที่ร่วมมือกับบริษัทต่างๆในสหรัฐ เยอรมนีและบางประเทศ ซึ่งรัฐบาลสหรัฐจะต้องขออนุมัติจากรัฐสภาถ้าหากต้องการปฏิบัติขั้นตอนต่างๆเพื่อผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรดังกล่าว
ความขัดแย้งที่รุนแรง
ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับสหรัฐทวีความตึงเครียดมากขึ้นหลังจากที่คาบสมุทรไครเมียผนวกเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียเมื่อเดือนมีนาคมปี2014 ทำให้ในเวลาต่อมา สหรัฐและสหภาพยุโรปต้องใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมหาอำนาจกอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่สงครามเย็น การที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐถูกประเมินว่า จะเปิดโอกาสเพื่อผลักดันความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ก่อนหน้านั้น ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นาย โดนัลด์ ทรัมป์ เคยประกาศว่า หลังจากที่ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศ ตัวเขาพร้อมพิจารณาการรับรองไครเมียเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซียและยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียถ้าหากบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการลดอาวุธนิวเคลียร์กับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูตินและรัสเซียให้ความช่วยเหลือสหรัฐในการต่อต้านการก่อการร้ายและบรรลุเป้าหมายที่สำคัญต่างๆ นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ให้คำมั่นที่จะสร้างสรรค์ความสัมพันธ์อันดีงามกับรัสเซีย ส่วนประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ก็แสดงความพร้อมที่จะทำการสนทนากับสหรัฐ
แต่อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกลับตึงเครียดมากขึ้นและบางครั้งก็ตกอยู่ในภาวะเผชิญหน้า โดยเฉพาะเมื่อมีข้อกล่าวหารัสเซียว่า แทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อปี2016และรัสเซียขยายเวลาการปฏิบัติคำสั่งห้ามนำเข้าสินค้าการเกษตร วัตถุดิบและอาหารจากสหรัฐจนถึงวันที่31ธันวาคมปี2018 ส่วนประเด็นปัญหาซีเรีย ความตึงเครียดระหว่างสองประเทศได้ทวีมากขึ้นหลังจากที่พันธมิตรระหว่างประเทศที่สหรัฐเป็นผู้นำยิงเครื่องบินของกองทัพซีเรียตก โดยรัสเซียได้มีการตอบโต้อย่างแข็งกร้าว เช่น สั่งตัดโทรศัพท์สายด่วนเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะและระงับการปฏิบัติกลไกเกี่ยวกับการป้องกันการเผชิญหน้าในเขตน่านฟ้ากับสหรัฐ ซึ่งปฏิบัติการดังกล่าวได้สร้างความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะระหว่างกองทัพของสองประเทศมหาอำนาจในซีเรีย ควบคู่กันนั้น การทดลองยิงขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเมื่อวันที่4กรกฎาคม รวมไปถึงการที่รัสเซียคัดค้านสหรัฐที่ติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธพิสัยไกลระยะสุดท้ายหรือ THAADในสาธารณรัฐเกาหลีได้มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตึงเครียดมากขึ้น
|
เพื่อแสวงหามาตรการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคี นอกรอบการประชุมกลุ่มเศรษฐกิจพัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี20 ณ เมือง ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่8กรกฎาคม ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการพบปะกับประธานาธิบดีรัสเซียเป็นครั้งแรก ซึ่งประกาศของเจ้าหน้าที่รัสเซียและสหรัฐหลังการพบปะที่ได้รับการรอคอยจากประชามติโลก ต่างแสดงความพอใจต่อผลงานที่ได้บรรลุ การพบปะระดับสูงระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศได้แสดงให้เห็นว่า แม้ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่ทั้งสองประเทศก็ยังเปิดโอกาสเพื่อสนทนา
เป้าหมายยังคงอยู่ไกลเกินเอื้อม
อย่างไรก็ดี ความหวังเกี่ยวกับการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศหลังจากที่นาย โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นดำรงตำแหน่งยากที่จะปฏิบัติได้เนื่องจากแผนการฟื้นฟูการสนทนาและผลักดันความสัมพันธ์กับรัสเซียของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ถูกขัดขวางจากกลไกควบคุมและถ่งดุลย์อำนาจในระบบการเมืองของสหรัฐ ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ไม่สามารถเดินสวนกับแนวทางของพรรครีพับลิกันที่ให้การสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียและมีความเป็นไปได้ที่จะลงนามประกาศใช้มาตรการคว่ำบาตรใหม่ต่อรัสเซียในเวลาที่จะถึง
ส่วนเจ้าหน้าที่ของรัสเซียและบางประเทศยุโรปได้เตือนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับรัสเซียและประเทศพันธมิตรจะเลวร้ายขึ้นอีกถ้าหากประธานาธิบดีสหรัฐประกาศใช้ร่างกฎหมายนี้ โดยเฉพาะ บรรดาส.ส.รัสเซียเห็นว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยนาย Leonid Slutsky หัวหน้าคณะกรรมาธิการดูแลปัญหาระหว่างประเทศสังกัดสภาล่างรัสเซียได้ยืนยันว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะทำลายความเป็นไปได้ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศและทำให้ความสัมพันธ์ทวีความซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต.