ต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซีย

Anh Huyen - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -วิกฤตความสัมพันธ์ของประเทศเขตอ่าวเปอร์เซียยืดเยื้อมาแล้วเกือบ 3 เดือนและไม่มีท่าทีที่จะยุติ แม้คูเวตจะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยแต่ก็ยังไม่สามารถแสวงหามาตรการแก้ไขได้เนื่องจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังคงยืนหยัดทัศนะที่แข็งกร้าวเกี่ยวกับปัญหาก่อการร้าย ลัทธิหัวรุนแรงและนโยบายการต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน การที่กาตาร์ตัดสินใจฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างสมบูรณ์กับอิหร่านก็ได้สร้างความวิตกกังวลว่า อาจก่อให้เกิดการถกเถียงรอบใหม่
ต้องใช้เวลาเพื่อแก้ไขความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซีย - ảnh 1กษัตริย์แห่งกาตาร์ เชคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี (Photo Reuters)

วิกฤตได้เกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาหลังจากที่กษัตริย์แห่งกาตาร์ เชคตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี มีแถลงการณ์ทางการเมืองอย่างเข้มแข็งเกี่ยวกับหัวข้อที่อ่อนไหวในภูมิภาค เช่น อิหร่าน กลุ่มฮามาสของปาเลสไตน์ อิสราเอลและสหรัฐ ซึ่งกระทบกระเทือนต่อบรรดาประเทศในภูมิภาค และส่งผลให้หลายประเทศประกาศตัดความสัมพันธ์กับกาตาร์โดยเริ่มจากซาอุดิอาระเบียและกล่าวหากาตาร์ว่ามีความสัมพันธ์กับอิหร่าน สนับสนุนกลุ่มชาวมุสลิมหัวรุนแรงสุหนี่และปฏิบัตินโยบายที่สร้างความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค ส่วนกาตาร์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้โดยย้ำว่า กษัตริย์แห่งกาตาร์ไม่ได้ออกประกาศดังกล่าวแต่เป็นฝีมือของแฮกเกอร์ที่เจาะเว็บไซต์ของสำนักข่าว QNA จนเกิดการรั่วไหลของแถลงการณ์และเรียกร้องให้สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐหรือเอฟบีไอช่วยทำการสอบสวนปัญหาที่เกิดขึ้น

ความตึงเครียดในอ่าวเปอร์เซียได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อ 4 ประเทศอาหรับ ประกอบด้วย ซาอุดิอาระเบีย บาห์เรน อียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีข้อเสนอ 13 ข้อ เช่นให้กาตาร์ปิดสถานีโทรทัศน์อัลจาซีรา ยุติการสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง ลดระดับความสัมพันธ์กับอิหร่านและยุติการประจำการของทหารตูรกีบนดินแดนของกาตาร์ เป็นต้น แต่กาตาร์ได้ปฏิเสธและถือว่า นี่เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของกาตาร์

สาเหตุที่แท้จริง

นี่เป็นวิกฤตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเขตอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งสาเหตุแท้จริงของปัญหานี้เนื่องมากจากการแข่งขันด้านอิทธิพลภายในภูมิภาค โดยกาตาร์นับวันยิ่งมีบทบาทสำคัญด้านการทูตและมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคในขณะที่ซาอุดิอาระเบียมีความประสงค์จัดตั้งพันธมิตรประเทศอิสลามนิกายสุหนี่เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในการเผชิญหน้ากับอิหร่าน ซึ่งมีชาวมุสลิมนิกายชีอะห์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นซาอุดิอาระเบียและบรรดาประเทศในภูมิภาคจึงทำการคว่ำบาตรกาตาร์โดยอ้างคำประกาศแถลงการณ์ของกษัตริย์แห่งกาตาร์

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม กาตาร์ได้ยื่นเอกสารถึงองค์การการค้าโลกเพื่อฟ้องร้องประเทศเพื่อนบ้านที่ปฏิบัติคำสั่งคว่ำบาตรทางการค้าต่อกาตาร์และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม กาตาร์ได้ประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์อย่างสมบูรณ์กับอิหร่าน ซึ่งอาจส่งผลให้วิกฤตทางการทูตรุนแรงมากขึ้นเพราะ 1 ในเงื่อนไข 13 ข้อที่บรรดาประเทศอาหรับเสนอให้กาตาร์ปฏิบัติคือต้องลดระดับความสัมพันธ์กับอิหร่าน การตัดสินใจดังกล่าวของกาตาร์ไม่เพียงแต่ทำให้ยากที่จะแก้ไขความตึงเครียดระหว่างกาตาร์กับบรรดาประเทศสมาชิกของสภาความร่วมมือในอ่าวเปอร์เซียเท่านั้น หากยังเพิ่มความแตกแยกระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มอีกด้วย

รอยร้าวที่ยากจะแก้ไขได้

การปฏิเสธคำเรียกร้อง 13 ข้อของบรรดาประเทศอาหรับ นโยบายกับอิหร่าน โดยเฉพาะการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างสมบูรณ์กับอิหร่านคือสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์กับบรรดาประเทศอาหรับในเขตอ่าวเปอร์เซียยากที่จะแก้ไขได้เนื่องจากอิหร่านได้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติของกาตาร์ ส่วนกาตาร์สามารถชดเชยความเสียหายจากการถูกประกาศอาหรับคว่ำบาตรด้วยการมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิหร่าน ดังนั้นการที่กาตาร์นับวันเดินห่างจากบรรดาประเทศอาหรับเพื่อเข้าใกล้ชิดกับอิหร่านก็เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ง่าย

ส่วนนักวิเคราะห์ให้ข้อสังเกตว่า ความตึงเครียดทางการทูตในเขตอ่าวกำลังทำให้ความสัมพันธ์ในภูมิภาคเปลี่ยนแปลง สภาความมั่นคงในอ่าวเปอร์เซียได้รับการจัดตั้งบนพื้นฐานแห่งความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์และความไว้วางใจกัน แต่การถกเถียงได้ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์กับบรรดาประเทศอาหรับ จึงต้องการเวลาเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์นี้

ถึงขณะนี้ ประชามติกำลังจับตาความพยายามทางการทูตของทุกฝ่ายทั้งภายในและนอกภูมิภาคเพื่อแก้ไขวิกฤตให้ดีขึ้น และตั้งความหวังว่า การเยือนในเชิงการทูตระหว่างอิหร่านและซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นสองประเทศที่ถูกมองว่าแข่งขันกันทางด้านอิทธิพลในภูมิภาคมากที่สุด ที่กำหนดจะมีขึ้นในเดือนกันยายนนี้จะนำมาซึ่งสัญญาณที่น่ายินดี แต่อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการประนีประนอมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในวิกฤตทางการทูตครั้งนี้.

Komentar