การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอาหรับเกี่ยวกับปัญหาของกาตาร์ (Photo:EPA/TTXVN) |
วิกฤตในเขตอ่าวเกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องจากประเทศอาหรับกล่าวหากาตาร์ว่า มีความสัมพันธ์กับกลุ่มก่อการร้าย จนถึงขณะนี้ วิกฤตดังกล่าวยังไม่มีสัญญาณที่จะคลี่คลายลงเนื่องจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต่างแสดงท่าทีที่แข็งกร้าวและไม่ยอมประนีประนอม
ท่าทีที่แข็งกร้าวของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
จนถึงขณะนี้ นอกจากนโยบายปิดล้อมทางการทูตแล้ว กลุ่มประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซียที่ซาอุดิอาระเบียเป็นผู้นำได้ปฏิบัติมาตรการโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ การเงิน ธนาคารและคมนาคมเพื่อเพิ่มแรงกดดันให้กาตาร์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้องถึงปัญหาต่างๆในภูมิภาค ซึ่งจุดร้อนของวิกฤตนี้คือการที่๔ประเทศเพื่อนบ้านของกาตาร์ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรนและอียิปต์ยื่นข้อเสนอ๑๓ข้อถึงกาตาร์เพื่อแลกกับการปรับความสัมพันธ์ให้เป็นปกติ โดยบังคับให้กาตาร์ต้องปิดสถานีโทรทัศน์ Al Jazeera การลดความสัมพันธ์กับอิหร่าน การปิดฐานทัพของตุรกีในกาตาร์และให้ยุติการสนับสนุนองการต่างๆ เช่น องค์การภราดรภาพมุสลิม เป็นต้น
ในขณะที่ประเทศอาหรับขู่ว่า จะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อกาตาร์ ทางการโดฮาก็ได้ประกาศพร้อมรับมือกับความท้าทายต่างๆ โดยถือว่า ข้อเสนอต่างๆของประเทศอาหรับเป็นการละเมิดอธิปไตยของกาตาร์และไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ดังนั้น กาตาร์จึงได้แสดงท่าทีตอบโต้ที่แข็งกร้าวด้วยการปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาของประเทศอาหรับและขู่ว่า จะถอนตัวจากสภาความร่วมมือในเขตอ่าวหรือจีซีซี ซึ่งเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างรัฐบาลของประเทศอาหรับในอ่าวเปอร์เซีย แต่ล่าสุดนี้ เมื่อวันที่๑๑กรกฎาคม กาตาร์ได้ประกาศเส้นตายเป็นเวลา๓วันให้แก่ประเทศในอ่าวเปอร์เซียต้องยกเลิกคำสั่งคว่ำบาตรต่อกาตาร์และชดเชยความเสียหายด้านเศรษฐกิจและการเมืองต่อทางการโดฮา ในจดหมายที่ส่งถึงนาย Abdul Latif Bin Rashid Al Zayani เลขาธิการใหญ่ของจีซีซี นาย Mohammed bin Abdulrahman Al-Thani รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกาตาร์ได้ชี้ชัดว่า หลังกำหนดเส้นตาย กาตาร์จะถอนตัวจากจีซีซี พร้อมทั้ง ย้ำว่า กาตาร์จะไม่ทำการไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับปัญหาด้านอธิปไตยของประเทศ
สำนักงานตัวของสถานีโทรทัศน์Al Jazeeraในเมืองเยรูซาเลม (Photo: EPA/TTXVN) |
ความพยายามเพื่อแก้ไขความตึงเครียด
สงครามและการปะทะเป็นสิ่งที่ไม่มีฝ่ายใดต้องการเพราะจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ประเทศต่างๆ ดังนั้น ความพยายามเพื่อแก้ไขวิกฤตในเขตอ่าวกำลังได้รับการปฏิบัติ โดยคูเวตได้เผยว่า พร้อมที่จะเป็นคนกลางแก้ไขวิกฤตทางทูตในภูมิภาค ในการเจรจากับนาย เร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่กำลังอยู่ในระหว่างการเยือน๔ประเทศในเขตอ่าว Sheik Sabah al Ahmad Al Sabah กษัตริย์แห่งคูเวตทรงแสดงความหวังว่า จะจัดการเจรจาระหว่างฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้อมกันว่า วิกฤตทางการทูตในเขตอ่าวได้ทำให้เกิดปัญหาด้านมนุษยธรรมและส่งผลกระทบต่อการต่อต้านกลุ่มไอเอสที่สหรัฐเป็นผู้นำ ประเทศอาหรับควรลดคำสั่งคว่ำบาตรต่อกาตาร์ก่อนที่จะทำการเจรจา ต่างๆ ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีตุรกีได้ประกาศว่า มีแผนการเยือนประเทศในเขตอ่าวตั้งแต่วันที่๑๕กรกฎาคมนี้เพื่อมีส่วนช่วยลดความตึงเครียดในภูมิภาค ผ่านการเยือนครั้งนี้ ตุรกีมีความประสงค์ว่า จะมีส่วนช่วยจัดการสนทนาระหว่างฝ่ายต่างๆ ในอีก๒สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อช่วยเหลือกาตาร์ ส่วนอิหร่านได้มีแผนการเปิดเส้นทางขนส่งทางทะเลจากท่าเรือ Buse ของอิหร่านไปยังกาตาร์เพื่อขยายการแลกเปลี่ยนทางการค้า พร้อมทั้ง ส่งออกอาหารไปยังกาตาร์ผ่านเส้นทางขนส่งทางทะเลและการบิน
อาจกล่าวได้ว่า ยากที่จะคาดเดาได้เกี่ยวกับวิกฤตทางการทูตในเขตอ่าวแต่ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะระหว่างกาตาร์กับประเทศอาหรับมีน้อยมาก จากความพยายามในการไกล่เกี่ยวของคูเวตและการสนับสนุนของประชาคมโลกในการแก้ไขวิกฤตผ่านการสนทนา หวังว่า จะมีสัญญาณที่น่ายินดีในการแก้ไขวิกฤตนี้ ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องสามารถแสวงหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อค้ำประกันผลประโยชน์อันชอบธรรมของแต่ละประเทศเพื่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในเขตอ่าวและภูมิภาคตะวันออกกลาง.