บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม (Photo: VNA) |
เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจ มีประชากร 18 ล้านคน มีส่วนร่วมร้อยละ 18 ในจีดีพีของประเทศ มีปริมาณการส่งออกข้าวร้อยละ 90 มูลค่าการส่งออกสัตว์นํ้าร้อยละ 60 และปลูกผลไม้คิดเป็นร้อยละ 70 ของประเทศ ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกำลังต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและนํ้าทะเลหนุน ดังนั้น เวียดนามกำลังระดมพลังทุกแหล่งจากทั้งสถานประกอบการ ประชาชน บรรดานักอุปถัมภ์และองค์การระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกับอุปสรรคต่างๆ
เมื่อหวนมองดูกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงในตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมาก็พบว่า ในระยะต่างๆ เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่
เมื่อเวียดนามได้ประสบชัยชนะในภารกิจการช่วงชิงเอกราชของชาติ รวมประเทศเป็นเอกภาพ พรรคและรัฐเวียดนามได้ผลักดันกระบวนการบุกเบิกและฟื้นฟูที่ดินในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง รวมพื้นที่หลายล้านเฮกต้าจนทำให้เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกลายเป็นอู่ข้าวใหญ่ของประเทศ ช่วยคํ้าประกันความมั่นคงด้านอาหารและช่วยประเทศหลุดพ้นจากปัญหาความอดอยาก แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เช่น สภาพอากาศแปรปรวน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ปัญหานํ้าทะเลหนุน นํ้าทะเลซึม ภัยแล้งและปัญหาดินถล่ม นอกจากนี้ ปัญหาการกั้นกระแสเพื่อกักเก็บนํ้าบริเวณแม่นํ้าโขงตอนบนได้ส่งกระทบในทางลบต่อระบบนิเวศ การผลิตและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนํ้าทะเลหนุนในปัจจุบัน นับวันมีความซับซ้อนมากกว่าเมื่อ5ปีก่อนตอนที่มีการประกาศแผนการพยากรณ์ปัญหานี้ คาดว่า จนถึงปี 2030 ถ้าหากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 100ซม. จะทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง เช่น เหายาง เกียนยางและก่าเมาจมอยู่ใต้น้ำ
ท่าน เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม |
เปลี่ยนแปลงใหม่แนวความคิดในการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง
ดังนั้น การประชุมเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงอย่างยั่งยืนเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้จัดขึ้นเพื่อหารือถึงยุทธศาสตร์พัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงในอีกหลายสิบปีข้างหน้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรีและผู้บริหารกระทรวง หน่วยงานส่วนกลางและท้องถิ่นต่างๆในเขตนี้ นาย เจิ่นห่งห่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ยืนยันว่า“นายกรัฐมนตรีได้กำหนดหน้าที่ต่างๆอย่างเคร่งครัดให้แก่ที่ประชุม ซึ่งถือเป็นหน้าที่และเป้าหมายของรัฐบาล เขตเศรษฐกิจอื่นๆของประเทศ โดยเฉพาะเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง โดยต้องวางนโยบายและวิสัยทัศน์ระยะยาว รวมถึงปฏิบัติการต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อให้หน่วยงานกับท้องถิ่นต่างเลือกประเด็นที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆในการปฏิบัติ”
นอกเหนือจากการหารือถึงความท้าทาย โอกาสและมาตรการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กลไกการประสานงานระดับภูมิภาค การปรับเปลี่ยนอาชีพและการทำมาหากินของประชาชนอย่างยั่งยืน ระบบชลประทาน การป้องกันและรับมือภัยพิบัติ ปัญหาดินถล่ม รวมถึงการระดมแหล่งพลังต่างๆและกำหนดกลไกการเงินอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ซึ่งผลการประชุมจะเป็นพื้นฐานเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาอนุมัติมติเฉพาะสำหรับเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง ศาสตราจารย์ ดร. หวอต่องซวน อธิบการบดีมหาวิทยาลัยเกิ่นเทอใต้ได้เผยว่า ที่ประชุมภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรีได้สร้างหัวเลี้ยวที่สำคัญในการกำหนดนโยบายทางยุทธศาสตร์และช่วยเปลี่ยนแปลงแนวความคิดแบบก้าวกระโดดเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงอย่างยั่งยืนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
“ในการประชุมครั้งนี้ ผู้บริหารหน่วยงานต่างๆได้หารือกันภายใต้อำนวยการของนายกรัฐมนตรีเพื่อทำการวางผังแบบบูรณาการ อีกทั้งปรับปรุงโครงสร้างในด้านต่างๆเพื่อแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติ”
ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า จากสถานการณ์ของเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงในปัจจุบัน การจัดทำยุทธศาสตร์จนถึงปี 2100 เพื่อการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืนคือแผนการระยะยาวของ พรรคและรัฐเวียดนาม ซึ่งหลังการประชุมครั้งนี้ รัฐบาลจะมีเอกสารและมติต่างๆเกี่ยวกับการพัฒนาเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงระยะยาว เพื่อสนับสนุนให้เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมกับการเป็นอู่ข้าวอู่นํ้า เขตผลิตผลไม้และสัตว์นํ้าที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ.