หน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกับความท้าทายในการผสมผสาน

Phạm Hải
Chia sẻ
(VOVworld) - หน่วยงานการเกษตรเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการเกษตรในเขตนี้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัยและยั่งยืน ดังนั้น การปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่เน้นการเชื่อมโยงในภูมิภาคและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเครื่องหมายการค้าถือเป็นแนวทางการพัฒนาใหม่ของหน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง

(VOVworld) - หน่วยงานการเกษตรเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการเกษตรในเขตนี้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัยและยั่งยืน ดังนั้น การปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่เน้นการเชื่อมโยงในภูมิภาคและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและเครื่องหมายการค้าถือเป็นแนวทางการพัฒนาใหม่ของหน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง

หน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกับความท้าทายในการผสมผสาน - ảnh 1
ทุเรียนที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง

ถึงแม้เศรษฐกิจของเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวกลับไม่สูงนัก และส่วนใหญ่เป็นการผลิตแบบรายย่อยและใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัย ซึ่งทำให้ต้นทุนอยู่ในระดับสูงและไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล  นอกจากนี้ พื้นที่การเกษตรนับวันลดลงเนื่องจากผลกระทบจากาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหานํ้าทะเลซึมและปัญหามลภาวะสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขง นาย เลกวางชี้ หัวหน้าสถาบันวิจัยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสังกัดมหาวิทยาลัยเกิ่นเธอได้เผยว่า ปัจจุบัน การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นระบบและนโยบายบางส่วนยังมีข้อบกพร่องจึงไม่สามารถส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้น ท้องถิ่นต่างๆควรวางแนวทางและนโยบายอย่างชัดเจนโดยเน้นการเชื่อมโยงในด้านต่างๆเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของท้องถิ่นและภูมิภาคอย่างเต็มที่
“นโยบายและบุคลากรเป็นปัจจัยที่มีความหมายชี้ขาด ส่วนปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบจากแหล่งนํ้าเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ดังนั้น เราต้องมีมาตรการแก้ไขตาม 2 แนวทางคือต้องมีมาตรการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสองคือเตรียมพร้อมรับมือโดยก่อนอื่นคือนโยบายพัฒนาการเกษตรของรัฐที่สอดคล้องกับสถานการณ์การผลิต”
หน่วยงานการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงกับความท้าทายในการผสมผสาน - ảnh 2
มะม่วงก๊าดโหลก

ส่วนนาย เลแทงตุ่ง รองหัวหน้าสำนักงานพืชอาหารสังกัดกรมการเพาะปลูกแห่งกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทได้เผยว่า ผลิตภัณฑ์การเกษตรของเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงยังไม่ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ ปัญหาศัตรูพืชก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การเชื่อมโยงการผลิตระหว่างท้องถิ่นต่างๆ ความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับประชาชนในการพัฒนารูปแบบและฟาร์มการเกษตรเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจรอย่างมีประสิทธิภาพ จะเป็นการสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนา
 “ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้องถิ่นต่างๆและเกษตรกรต้องมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความมุ่งมั่นและประสานงานกันในประเมินความสะดวกและความท้าทายต่างๆ พร้อมทั้งปฏิบัติมาตรการต่างๆเพื่อใช้พื้นที่ปลูกข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
เมื่อ 3 ปีก่อน จังหวัดด่งท้าบได้เริ่มปฏิบัติโครงการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรที่เน้นให้ความสนใจต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นาย เลมิงฮวาน เลขาธิการพรรคสาขาจังหวัดด่งท้าบได้ชี้ชัดว่า ในเวลาที่ผ่านมา ทางการท้องถิ่นได้ทำการเปลี่ยนแปลงใหม่การผลิตเกษตร กระชับความร่วมมือและการเชื่อมโยงกับตลาดเพื่อลดต้นทุน รักษาความปลอดภัยในการผลิต  อีกทั้งเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์เกษตรและรายได้ให้แก่ประชาชน โดยผลิตภัณฑ์ต่างๆได้รับการส่งออกไปยังต่างประเทศ
ส่วนนาย เจิ่นฮึ๊วเหี่ยบ กรรมการในคณะกรรมการชี้นำเขตตะวันตกภาคใต้เผยว่า เขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงต้องขยายการบริหารและตรวจสอบผลิตภัณฑ์การเกษตรให้ได้มาตรฐานสากล
“ในการปฏิรูปโครงสร้างการเกษตร ต้องสร้างห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มีจุดแข็งทั้งในขั้นตอนการผลิต การแปรรูปและการจำหน่ายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งต้องเชื่อมโยงระหว่างเขตเพาะปลูกและอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ รวมถึงการประสานงานกับเขตตัวเมืองเพื่อพัฒนาขยายเขตการผลิตขนาดใหญ่และได้มาตรฐาน”
การปฏิรูปโครงสร้างการเกษตร การพัฒนาการเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงต้องปฏิบัติควบคู่กับการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับประชาชน ระหว่างอุปสงค์และอุปทาน  เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีคุณภาพสูงและมีเครื่องหมายการค้าระดับท้องถิ่นและภูมิภาค นอกจากนี้ ต้องเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิต การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวและการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการจำหน่ายเพื่อผลักดันหน่วยงานการเกษตรให้พัฒนาอย่างยั่งยืนในสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความท้าทายต่างๆในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกอย่างกว้างลึกในปัจจุบัน.

Komentar