RSFและCPJใช้คารม“เสรีภาพสื่อมวลชน”เดิม

Chia sẻ

VOVworld) –  องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนหรือRSF เพิ่งประกาศสิ่งที่เรียกว่า “รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลกปี๒๐๑๔”โดยจัดเวียดนามอยู่ในจำนวนประเทศในลำดับ ส่วนนายShawn Crispin ตัวแทนระดับสูงของคณะกรรมการสากลเพื่อปกป้องนักข่าวหรือCPJในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เสนอข้อมูลว่า เวียดนามคุมขังนักข่าวจำนวนมาก องค์กรและบุคคลที่ขาดเจตนาดีต่อเวียดนามเหล่านี้ได้ให้ตนเองมีสิทธิพิจารณาคนอื่นโดยได้ใส่ร้ายป้ายสีสถานการณ์ที่เป็นจริงเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อมวลชนและแทรกแซงกิจการภายในของเวียดนาม

 

(VOVworld) –  องค์กรนักข่าวไร้พรมแดนหรือRSF เพิ่งประกาศสิ่งที่เรียกว่า “รายงานดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนโลกปี๒๐๑๔”โดยจัดเวียดนามอยู่ในจำนวนประเทศในลำดับท้ายๆ ในขณะเดียวกัน นายShawn Crispin ตัวแทนระดับสูงของคณะกรรมการสากลเพื่อปกป้องนักข่าวหรือCPJในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เสนอข้อมูลว่า เวียดนามคุมขังนักข่าวจำนวนมาก องค์กรและบุคคลที่ขาดเจตนาดีต่อเวียดนามเหล่านี้ได้ให้ตนเองมีสิทธิพิจารณาประเมินคนอื่นโดยได้ใส่ร้ายป้ายสีสถานการณ์ที่เป็นจริงเกี่ยวกับเสรีภาพสื่อมวลชนและแทรกแซงกิจการภายในของเวียดนาม

RSFและCPJใช้คารม“เสรีภาพสื่อมวลชน”เดิม - ảnh 1
ภาพที่มีชีวิตชีวาของสื่อมวลชนทั่วประเทศ รวมทั้งฮานอย แสดงออกให้เห็น
จากงานหนังสือพิมพ์วสันต์ฤดูปีมะเมีย๒๐๑๔(Photo:hanoimoi )

RSFมีสำนักงานที่ประเทศฝรั่งเศส ถูกก่อตั้งเมื่อปี๑๙๘๕ โดยมีเป้าหมายปกป้องเสรีภาพสื่อมวลชนในโลก ต่อต้านการเซ็นเซอร์และสร้างแรงกดดันเพื่อช่วยเหลือนักข่าวที่กำลังถูกคุมขัง ส่วนCPJ มีสำนักงานที่ประเทศสหรัฐ ก่อตั้งเมื่อปี๑๙๘๑ โดยมีเป้าหมายในตอนแรกคือ“ผลักดันเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในโลกผ่านกิจกรรมปกป้องการรายงานข่าวและเสรีภาพสื่อมวลชน”  ทุกปี RSF จะประกาศสิ่งที่เรียกว่า “ดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชน”  แต่อันที่จริงคือการจัดลำดับเสรีภาพของสื่อมวลชนในโลก  ส่วนCPJก็มีรายงานเกี่ยวกับสภาวะการปราบปรามนักข่าวในโลกทุกปี สิ่งที่น่าสนใจคือ  องค์กรที่ขาดเจตนาดีเหล่านี้ต่างเสนอข่าวปั้นแต่งและกล่าวหาเวียดนามว่า ขาดเสรีภาพสื่อมวลชนซึ่งเป็นสิ่งที่มีเป้าหมายทางการเมืองแอบแฝงอยู่

คารมบิดเบือนเก่าๆ

            ในรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อมวลชนประจำปี๒๐๑๔ของRSFระบุอย่างไร้มูลความจริงว่า เวียดนามขยายการปราบปรามและเซ็นเซ่อร์ข้อมูลข่าวสาร ส่วนCPJ ได้แสดงออกให้เห็นที่ ไม่มีความเข้าใจสถานการณ์ที่เป็นจริงในเวียดนามเมื่อกล่าวหาว่า เวียดนามกำลังปฏิบัตินโยบายเซ็นเซอร์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่รุนแรงที่สุดในเอเชียและบิดเบือนมติ๗๒ของรัฐบาลเวียดนามเกี่ยวกับการบริหาร ให้บริการและใช้อินเตอร์เนตโดยถือเป็นกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน blogและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นคารมเก่าๆที่RSF และCPJ ได้ใช้หลายครั้งในรายงานเสรีภาพโลกประจำทุกปี ข้อกล่าวหาของRSF และCPJเป็นสิ่งที่ผิดพลาดเพราะไม่สนใจต่อสถานการณ์ที่เป็นจริงของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เสรีภาพสื่อมวลชน ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในเวียดนาม

เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อมวลชนในเวียดนามเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้

            ตามข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนถึงเดือนมีนาคมปี๒๐๑๓ เวียดนามมีสำนักงานหนังสือพิมพ์๘๑๒แห่งพร้อมสิ่งพิมพ์๑พัน๘สิบ๔รายการ มีนักข่าวเกือบ๑หมื่น๗พันคนที่มีบัตรนักข่าว มีสำนักข่าว๑แห่ง สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์๖๗แห่ง ช่องโทรทัศน์๑๐๑ช่อง ช่องวิทยุ๗๘ช่อง หนังสือพิมพ์๗๔ประเภท นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายสังคมออนไลน์๓๓๖แห่งและเว็บไซท์๑พัน๑ร้อย๗สิบ๔เว็บไซท์ที่ได้รับในอนุญาตประกอบการ สถานีวิทยุเวียดนามกระจายคลื่นครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ๙๙.๕ของประเทศเวียดนาม และส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมไปยังหลายประเทศ ปัจจุบัน ครัวเรือนร้อยละ๙๐รับชมช่องโทรทัศน์ของสถานีโทรทัศน์เวียดนามและสามารถรับชมช่องโทรทัศน์ต่างประเทศ๗๕ช่อง รวมทั้งช่องที่มีชื่อเสียง เช่น สถานีโทรทัศน์CNN สถานีวิทยุBBC TV๕ของฝรั่งเศส สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติญี่ปุ่นNHK สถานีโทรทัศน์DWประเทศเยอรมัน Australia Network สถานีวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศเกาหลีKBSและ Bloomberg สำนักงานสื่อมวชนต่างประเทศ๒๐แห่งมีนักข่าวประจำเวียดนาม หนังสือพิมและนิตยสารจำนวนมากที่พิมพ์เป็นภาษาต่างประเทศได้รับการจำหน่ายในเวียดนาม ในด้านการพิมพ์จำหน่าย เวียดนามมีสำนักพิมพ์๖๔แห่งพร้อมสิ่งพิมพ์นับร้อยล้านรายการทุกปี มีผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตกว่า๓๑.๓ล้านคน คิดเป็นร้อยละ๓๕.๕๘ของจำนวนประชากร องค์การสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือITUจัดเวียดนามอยู่อันดับ๓ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่อันดับ๘ของประเทศในเอเชียที่มีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตมากที่สุด  การพัฒนาของระบบสื่อสารประชาสัมพันธ์รวม หนังสื่อพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์และ อินเตอร์เน็ตไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมและ ยกระดับความรู้เท่านั้นหากยังเป็นเวทีที่มีรูปแบบหลากหลายและมีชีวิตชีวาเพื่อให้องค์กรสังคมและประชาชนแสดงความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น รวมทั้ง การรับฟังเสียงสะท้อนจากสังคมต่อแนวทาง นโยบายของรัฐ ทางการปกครองทุกระดับ เชิดชูประชาธิปไตย ปกป้องและส่งเสริมคุณค่าของสิทธิมนุษยชน ดังนั้น เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในสังคมที่สิทธิของมนุษย์ได้รับการยืนยันและรัฐอำนวยความสะดวกเพื่อค้ำประกันการพัฒนาสิทธิมนุษยชนดังเช่นในเวียดนาม เสรีภาพสื่อมวลชน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นได้มีพัฒนาการที่ไม่อาจปฏิเสธได้

RSFและCPJ ควรให้ความเคารพสิทธิต่างๆของประชาชาติเวียดนาม

            ในโลกทุกวันนี้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อมวลชนเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพและการพัฒนาของแต่ละประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงออกให้เห็นโดยตรงของทัศนะ และนโยบายสิทธิมนุษยชนในประเทศนั้นๆ ปฏิญญาสิทธิสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาสากลเกี่ยวกับสิทธิพลเรือนและการเมืองของสหประชาชาติต่างระบุชัดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานเหล่านี้และรัฐเวียดนามได้ปฏิบัติตามคำมั่นต่างๆอย่างเคร่ดครัดเพื่อค้ำประกันสิทธิมนุษยชนซึ่งสิ่งนี้ได้รับการพิสูจน์จากการที่เวียดนามได้กลายเป็นสมาชิกของสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติวาระปี๒๐๑๔ถึงปี๒๐๑๖เนื่องจากผลงานที่โดดเด่นด้านสิทธิมนุษยชน์และเวียดนามได้เสร็จสิ้นการป้องกันรายงานแห่งชาติตามกลไกของรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศหรือUPRต่อสภาสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่๒ การที่RSF และCPJ โดยไม่สนใจต่อผลงานนี้และได้ปั้นแต่งให้เวียดนาม“ไม่มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อมวลชน” กล่าวหารัฐเวียดนาม“ฝ่าฝืนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อมวลชน”ถือเป็นการบิดเบือน แทรกแซงกิจการภายในและละเมิดสิทธิอัตวินิจฉัยของประชาชาติเวียดนามดังที่ระบุในปฏิญญาสากลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนว่า “ทุกประชาชาติมีสิทธิอัตวินิจฉัย” ซึ่งปัจจุบัน เวียดนามกำลังยืนยันผลงานด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อผสมผสานเข้ากับประชาคมระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ./.

Thu Hoa-VOV5


Komentar