เวียดนามอนุรักษ์แหล่งนํ้าเพื่อพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน

Minh Châm - Thy Hạt - Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVworld) - จากระบบแม่นํ้าลำธารที่มีความหนาแน่นและอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมร้อน เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรนํ้าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยแม่นํ้าลำธาร ปริมาณน้ำฝนและน้ำใต้ดิน  รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดให้นํ้าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญพิเศษต่อการพัฒนาการเกษตรและชนบท รวมทั้งพยายามผลักดันการปรับปรุงระเบียบและนโยบายเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรนํ้า
(VOVworld) -   จากระบบแม่นํ้าลำธารที่มีความหนาแน่นและอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมร้อน เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรนํ้าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยแม่นํ้าลำธาร ปริมาณน้ำฝนและน้ำใต้ดิน  รัฐบาลเวียดนามได้กำหนดให้นํ้าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญพิเศษต่อการพัฒนาการเกษตรและชนบท รวมทั้งพยายามผลักดันการปรับปรุงระเบียบและนโยบายเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรนํ้า
เวียดนามอนุรักษ์แหล่งนํ้าเพื่อพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน - ảnh 1
แม่นํ้าโขงตอนล่าง (Photo: baogiaothong.vn)

เวียดนามมีแม่นํ้าลำธารเกือบ 3500 สายที่มีความยาวตั้งแต่ 10 กิโลเมตร ขึ้นไป รวมทั้งแม่นํ้าใหญ่ 13 สายในลุ่มนํ้า  108 แห่ง  จากสถานการณ์พัฒนาประเทศแสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรนํ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน และภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย  รวมทั้งช่วยให้เวียดนามกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก  ปัจจุบัน การใช้นํ้าเพื่อการผลิตเกษตรในเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าแดงและเขตที่ราบลุ่มแม่นํ้าโขงคิดเป็นร้อยละ 70 ของปริมาณการใช้นํ้าทั้งหมด  อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรนํ้าของเวียดนามกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ โดยแหล่งนํ้า 2 ใน 3 มาจากประเทศเพื่อนบ้านในขณะที่นโยบายและกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆที่ใช้นํ้าในแหล่งนํ้าเดียวกันยังไม่เกิดประสิทธิพลเท่าที่ควร  นอกจากนี้ ปัญหาจากประชากรและคุณภาพชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นก็ได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรนํ้า  นาย เลหิวถ่วน รองอธิบดีกรมบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าสังกัดกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้เผยว่า "ตามการพยากรณ์ ในปี 2020 เวียดนามจะมีประชากรเกือบ 100 ล้านคนและเพิ่มขึ้นเป็น 120 ล้านคนในอีกไม่กี่ทศวรรษ  ประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และความต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเฉพาะการใช้นํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภคและการผลิตถือเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรนํ้าของประเทศ"
บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรนํ้ามีความเห็นว่า ได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำของโรงไฟฟ้าพลังน้ำและระบบชลประทานตามแม่นํ้าใหญ่ๆในเวียดนามก่อนการวางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจึงเน้นแต่เป้าหมายด้านเศรษฐกิจและไม่คำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  นาง เหงวียนถิเฟืองเลิม ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรนํ้าได้เผยว่า เพื่อพัฒนาทรัพยากรนํ้าอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องให้ความสนใจต่อการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าที่มีประชาชนทุกภาคส่วนเข้าร่วม นาง เหงวียนถิเฟืองเลิมเผยว่า "ประชาชนและเจ้าหน้าที่บริหารต้องพบปะพูดคุยเพื่อกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อจากนั้น บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรนํ้าจะเสนอระเบียบการที่เหมาะสม รวมทั้งการเข้าถึงการจัดสรรแหล่งนํ้าเพื่อการอนุรักษ์ระบบนิเวศ มาตรการอนุรักษ์แหล่งนํ้า ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำและป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษทางน้ำที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อสุขภาพของประชาชน"

รัฐบาลเวียดนามถือนํ้าเป็นทรัพยากรสำคัญเป็นพิเศษ จึงได้พยายามปรับปรุงระเบียบนโยบายเกี่ยวกับการใช้และอนุรักษ์ทรัพยากรนํ้าอยู่เสมอ ซึ่งสะท้อนจากทัศนะการจัดการทรัพยากรนํ้าแบบบูรณาการที่ระบุในกฎหมายทรัพยากรนํ้า  ที่ประชุมรัฐสภาครั้งที่ 3 สมัยที่ 13 ได้อนุมัติกฎหมายทรัพยากรนํ้าฉบับแก้ไขที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อีกทั้งผลักดันการบริหารจัดการทรัพยากรนํ้าแบบบูรณาการและการใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เมื่อเร็วๆนี้ ท่าน หว่างจุงหาย รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาแห่งชาติด้านทรัพยากรนํ้าได้กำชับให้กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติแผนการพัฒนาทรัพยากรนํ้าระดับชาติควบคู่กับการสำรวจทรัพยากรนํ้าขั้นพื้นฐานเพื่อยื่นให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในปี 2016  ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญเพื่อให้เวียดนามแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างพร้อมเพรียง อีกทั้งอนุรักษ์ทรัพยากรนํ้าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  นาย เหงวียนท้ายลาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า "พวกเราต้องการนํ้าเพื่อสุขภาพ ความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาเศรษฐกิจ และนํ้าเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรนํ้าอย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนร่วมรักษาความมั่นคง การพัฒนาเศรษฐกิจและการเกษตร"
ในเวลาข้างหน้า กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะเน้นปฏิบัติแผนปฏิบัติการแห่งชาติเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการบริหารจัดการ อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรนํ้าแบบบูรณาการ  ในขณะที่เวียดนามกำลังพยายามปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ การอนุรักษ์แหล่งนํ้าจึงจะมีส่วนร่วมต่อความสำเร็จของโครงการดังกล่าว./.

Komentar