(VOVworld) – ตำบลเขตเขา หยุงฟอง อำเภอ กาวฟอง คือตำบลแห่งแรกของจังหวัดหว่าบิ่งที่ได้รับการรับรองการเสร็จสิ้นเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจฟาร์มและรูปแบบการผลิตที่สร้างประสิทธิภาพสูงทางเศรษฐกิจถือเป็นพลังขับเคลื่อนช่วยให้ขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ประสบความสำเร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งมีส่วนร่วมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรที่นี่ให้ดีขึ้น
ตำบลเขตเขา หยุงฟอง คือตำบลแห่งแรกของจังหวัดหว่าบิ่งที่ได้รับการรับรองการเสร็จสิ้นเป้าหมายแห่งชาติว่าด้วยการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ (dangcongsan)
|
ตำบลเขตเขาหยุงฟอง อำเภอ กาวฟองมีประชากรเป็นชนเผ่าเหมื่องร้อยละ 90 ตั้งอยู่ในเขตเขาจึงสร้างอุปสรรค์ต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชนบท เมื่อหลายปีก่อน ถึงแม้ได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ แต่ชีวิตวามเป็นอยู่ของประชาชนที่นี่ยังคงประสบอุปสรรค์มากมายโดยอัตราครอบครัวยากจนอยู่ในระดับสูง การช่วยให้ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจนและมีชีวิตที่มั่นคงคือเรื่องที่ผู้บริหารตำบลหยุงฟองได้ครุ่นคิดมานานแล้ว นับตั้งแต่ปฏิบัติขบวนการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ทางการตำบลได้ตระหนักว่า นี่คือโอกาสเพื่อพัฒนาชีวิตของประชาชนโดยทางตำบลหยุงฟองได้ลงทุน พัฒนารูปแบบการผลิตเกษตรผ่านการขยายพื้นที่ปลูกส้มพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มผลผลิต ปริมาณและรายได้ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ทางตำบลได้รับเงินช่วยเหลือเกือบ 500 ล้านด่งเพื่อพัฒนาเขตปลูกส้มและส้มเขียวหวานและสามารถปรับพื้นที่การปลูกส้มได้กว่า 60 เฮกต้าร์
ปัจจุบัน สองข้างทางเข้าตำบลหยุงฟองคือสวนส้มและส้มเขียวหวานที่อุดมสมบูรณ์ ในช่วงตรุษเต๊ตที่ผ่านมา รถบรรทุกของพ่อค้าคนกลางได้เข้าตำบลรับซื้อส้มไปขายในทั่วประเทศอย่างคึกคักตลอดวัน ที่ฟาร์มปลูกส้มพื้นที่ 4 พันตารางเมตรของครอบครัวนาย เจิ่นวันเหิบ มีบางช่วงที่ต้องจ้างคนงานหลายสิบคนมาเก็บส้มซึ่งจากการลงทุน 70 ล้านด่งตั้งแต่ต้นฤดู คาดว่า จนถึงตอนเก็บเกี่ยว ครอบครัวของนาย เหิบ มีรายได้ประมาณ 400 ล้านด่ง นาย เจิ่นวันเหิบได้เผยว่า
“การสร้างฐานะจากการปลูกส้มถือว่าดีกว่าเมื่อก่อน พ่อค้าคนกลางในตลาดเป็นผู้เหมาซื้อและส่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปยังท้องถิ่นอื่นๆ ชาวบ้านในอำเภอกาวฟองมีความประสงค์ว่า การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จะมีความสะดวกมากขึ้นเพื่อรองรับการขยายพื้นที่ปลูกส้มในเวลาข้างหน้า”
เพื่อพัฒนาการปลูกส้มควบคู่กับพืชชนิดอื่นๆ ตำบลหยุงฟองได้สนับสนุนเงินนับสิบล้านด่งต่อฟาร์มให้แก่ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือลงทุนก่อสร้างคูคลอง เทคนิคในการปลูกและพันธุ์พืช นอกจากนั้น ตำบลหยุงฟองยังลงทุนนับหมื่นล้านด่งเพื่อก่อสร้างกิจการต่างๆ เช่นถนนคอนกรีต ระบบไฟฟ้าและสถานีอนามัยมาตรฐานแห่งชาติ รวมทั้งก่อสร้างตลาดกลางเพื่อช่วยให้การค้าขายของชาวบ้านมีความสะดวกมากขึ้น นาย เหงียนกวางวิงและนาย บุ่ยวันจื๋อ ซึ่งเป็นสองครอบครัวจากหลายร้อยครอบครัวที่ตำบลหยุงฟองบริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างระบบคมนาคมได้เผยว่า
“ครอบครัวผมเห็นว่า ต้องร่วมแรงร่วมใจกับประชาชนทุกคนเพื่อขยายถนนหนทางอำนวยความสะดวกให้แก่การเดินทางและการแลกเปลี่ยนสินค้า นับตั้งแต่ปฏิบัติโครงการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ผมเห็นว่า ตำบลของเรามีความโอ่โถ่งและสวยงามมากขึ้น ทุกครอบครัวต่างแข่งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจและในหลายปีมานี้ เศรษฐกิจของท้องถิ่นก็ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด”
“ทุกคนต่างมีความกระตือรือร้น ประชาชนมีความปรารถนาว่า จะมีการประกาศการวางผังการปรับที่นาที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้พวกเขาเข้าใจและปฏิบัติ ท้องถิ่นของเรายังต้องการอาคารชั้นสูง โรงงานและเขตอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาต่อไป”
ปี 2014 รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของตำบลหยุงฟองอยู่ที่ 24 ล้านด่ง อัตราครอบครัวยากจนก็ลดลง ทางตำบลได้ระดม 4 หมื่น 4 พันล้านด่งในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ซึ่งผลงานนี้มาจากการที่ทางตำบลหยุงฟองได้ให้ความสนใจ ผลักดันการประชาสัมพันธ์ ถือเจ้าหน้าที่และผู้ที่ได้รับความนับถือให้เป็นแบบอย่าง เดินหน้าในการเวนคืนที่ดิน บริจาคที่ดินและสนับสนุนให้แก่กองทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน นาย หบุ่ยวันสัง ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลหยุงฟองได้แสดงความเห็นว่า
“ไม่ใช่ว่าได้รับการรับรองเป็นตำบลที่บรรลุมาตรฐานเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่แล้วพวกเราก็จะไม่ปฏิบัติต่อไป หากต้องพยายามเพิ่มความสมบูรณ์ของทุกมาตรฐาน พวกเรากำหนดว่า ในการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ยังต้องให้ทางโครงการของรัฐประเมินทุกปีว่า อะไรทำดีแล้วและยังทำไม่ได้เพื่อได้รับการรับรองใหม่ ทางตำบลหยุงฟองจะรณรงค์ให้ประชาชนสร้างสรรค์ พัฒนาท้องถิ่นให้สะอาด สวยงามตั้งแต่ในครอบครัวไปจนถึงส่วนร่วมของหมู่บ้าน พยายามทำให้เศรษฐกิจสังคมของตำบลพัฒนามากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการยกระดับอย่างเห็นได้ชัด”
เมื่อเห็นดอกพลัมสีขาวและสวนส้มที่ออกผลเหลืองอร่ามปกคลุมทั้งเขตภูดอย ความปลื้มปิติยินดีของประชาชนในตำบลชนบทใหม่ก็ยิ่งทวีมากขึ้น โดยเฉพาะ ในช่วงต้นปีใหม่นี้ ส้มกาวฟองได้รับใบรับรองเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จากกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีซึ่งจะช่วยให้ส้มกาวฟองมีส่วนแบ่งที่ยั่งยืนในตลาด ช่วยให้ประชาชนมีชีวิตที่มั่นคงและสร้างสรรค์ชนบทให้มีความสวยงามมากขึ้น./.