ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน (Photo: MikhailI Klimentev/SPUTNIK/AFP ) |
ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน เรียกร้องให้ทหารยูเครนในเขตนี้วางอาวุธ พร้อมทั้งยืนยันว่า ปฏิบัติการดังกล่าวสอดคล้องกับมาตรที่ 51 ตอนที่ 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ มาตรการคว่ำบาตรจากวุฒิสภารัสเซียและสนธิสัญญามิตรภาพและการสนับสนุน DPR และ LPR ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา
ก่อนหน้านั้นไม่กี่ชั่วโมง รัฐสภายูเครนได้อนุมัติคำสั่งของประธานาธิบดี โวโลดีเมียร์ เซเลนสกีให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทั่วประเทศเป็นเวลา 30 วันนับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ แต่คำสั่งดังกล่าวไม่ครอบคลุมเขตโดเนตสก์และเขตลูฮันสก์
คาดว่า วันที่ 24 กุมภาพันธ์ บรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกหรือ G7 จะจัดการประชุมผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สัมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดการประชุมครบองค์เกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครน โดยมีการเข้าร่วมของเกือบ 200 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติ ในการกล่าวปราศรัยต่อที่ประชุม นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้เรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องใช้ความอดกลั้นและคลี่คลายความตึงเครียด ทำการหยุดยิง ทำการสนทนาเพื่อไม่ก่อให้เกิดสงคราม แก้ไขการปะทะและปัญหาการพิพาทอย่างสันติตามมาตราที่ 33 ของกฎบัตรสหประชาชาติ อีกทั้ง แสดงความวิตกกังวลต่อความผันผวนที่เกี่ยวข้องถึงการที่รัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนโดเนสต์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ย้ำถึงหลักการแห่งอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดนและความเป็นอิสระทางการเมืองของทุกประเทศสมาชิกสหประชาชาติ สหประชาชาติสนับสนุนประชาชนยูเครน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่มีชาวยูเครน 2 ล้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ในวันเดียวกัน สหภาพยุโรปได้ประกาศอายัดทรัพย์สิน และคำสั่งห้ามเข้าประเทศต่อเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย รวมทั้งประกาศคำสั่งคว่ำบาตรด้านเศรษฐกิจต่อรัสเซีย โดยจำกัดการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลของรัสเซีย การระดมทุนจากตลาดการเงินของยุโรป ห้ามนำเข้าสินค้าจากเขตโดเนตสก์ และเขตลูฮันสก์.