ใช้ศักยภาพผิวน้ำเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

Chia sẻ
(VOVworld) – ปี 2011 มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเวียดนามได้บรรลุ 6.11พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจที่ได้ช่วยให้เวียดนามติด 1 ใน 10 ประเทศส่งออกสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก แต่อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามยังมีจุดอ่อนต่างๆ


 (VOVworld) – ปี 2011 มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเวียดนามได้บรรลุ 6.11พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจที่ได้ช่วยให้เวียดนามติด 1 ใน 10 ประเทศส่งออกสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก แต่อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามยังมีจุดอ่อนต่างๆ เช่น การวางแผนที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาและมีการพัฒนาตามกระแสความนิยม จึงทำให้บางท้องถิ่นเกิดภาวะขาดแคลนสัตว์น้ำในขณะที่บางท้องถิ่นกลับมีมากเกินไป ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้ทำการร่างแผนการพัฒนาอย่างสมบูรณ์จนถึงปี 2020 และวิสัยทัศน์ถึงปี 2030

ใช้ศักยภาพผิวน้ำเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน - ảnh 1
บ่อเลี้ยงกุ้งที่จ. Ca Mau (Internet)

            ปัจจุบัน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณการผลิตการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำและมีบทบาทสำคัญในการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศซึ่งไม่เพียงแต่สร้างงานทำและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรเท่านั้น หากยังผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคอีกด้วย จนถึงปี 2011 พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเวียดนามจะขยายเป็นเกือบ 1 ล้านเฮ็กต้า พร้อมกับพื้นที่ผิวน้ำกว่า 7 แสนเฮ็กต้า ซึ่งทำให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ภาคใต้ของประเทศกลายเป็นแหล่งจัดสรรคสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เป็น 2/3 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ  ดังนั้นทางกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามได้ร่วมมือกับทางการท้องถิ่นร่างแผนการพัฒนาให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่มีศักยภาพด้านผิวน้ำแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เช่น จ. Đắc Lắc ซึ่งเป็นจ.เขตเขาที่มีทะเลสาบถึง 500 แห่ง เขื่อนน้ำและแม่น้ำ 5 สายไหลผ่าน นาย Nguyễn Văn Thao เจ้าหน้าที่สัตว์น้ำจ. Đắc Lắc เผยว่า “ทางสัตว์น้ำจังหวัด Đắc Lắc จะให้คำปรึกษาแก่สำนักงานของจังหวัดเพื่อยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการประชาชนจ.ให้ประกาศนโยบายการลงทุนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  ปัจจุบันทางสัตว์น้ำจ.ได้รับหน้าที่ให้วางแผนโครงการลงทุนในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์ที่มีศักยภาพในการพัฒนา

ใช้ศักยภาพผิวน้ำเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน - ảnh 2
ปัจจุบัน เวียดนามส่งออกกุ้งมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก (Internet)

หลายปีมานี้ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณผิวน้ำสร้างความได้เปรียบให้แก่จ. Đắc Lắc ในการใช้ประโยชน์ในด้านนี้ สร้างงานทำและมีส่วนร่วมต่อภารกิจการแก้ปัญหาความยากจน พร้อมทั้งเป็นแหล่งจัดสรรค์วัตถุดิบที่มั่นคงให้แก่โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำ จึงเป็นประสบการณ์และรูปแบบขยายผลไปยังท้องถิ่นอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีจุดเริ่มต้นจากการผลิตรายย่อยและขาดความพร้อมเพรียงจึงทำให้เกิดปัญหามลภาวะ โรคระบาดและขาดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ในขณะที่ปัจจุบัน ในประเทศเวียดนามมีท้องถิ่นหลายแห่งมีศักยภาพอำนวยแก่การพัฒนาสัตว์น้ำ เช่น Cà Mau Bạc Liêu Ninh Thuận และ Kiên Giang แต่ยังไม่ได้ใช้ศักยภาพด้านผิวน้ำในการเพาะเลี้ยงอย่างเต็มที่ นาย Trương Đình Hòa เลขาธิการสมาพันธ์สัตว์น้ำเวียดนามกล่าวว่า “ การขาดแคลนสัตว์น้ำตามธรรมชาติและบทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ทำให้อุตสาหกรรมดังกล่าวพัฒนาอย่างรวดเร็วในเวียดนามและหลายประเทศในช่วงปี 1990 ปัจจุบัน เวียดนามส่งออกกุ้งมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ส่วนการส่งออกปลาบาซามีประมาณ 6 แสนตันต่อปี แต่พร้อมกับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงดังกล่าว จำเป็นต้องให้ความสนใจต่อปัญหาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และมลภาวะ”          
เพื่อเสร็จสิ้นการร่างแผนพัฒนาอย่างสมบูรณ์ หน่วยงานอุตสาหกรรมสัตว์น้ำเวียดนามได้ใช้มาตรการแก้ไขต่างๆ เช่น ใช้ระบบการควบคุมความปลอดภัยด้านอาหารและระบุแหล่งกำเนิดสินค้าอย่างชัดเจน เป็นต้น ส่วนองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติหรือ FAO รายงานว่า ปัจจุบัน สัตว์น้ำเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุด โดยจนถึงปี 2015 การบริโภคจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ต่อปี ดังนั้นการมีแผนพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยเป้าหมายชัดเจนและการใช้มาตรการแก้ไขที่สอดคล้องจะช่วยให้สถานประกอบการส่งออกสัตว์น้ำเวียดนามสามารถแสวงหาโอกาสเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกปัจจุบัน./.

Feedback