การปลูกผักปลอดสารพิษที่กว๋างเอียน (Photo nhandan.com)
|
เป้าหมายหลักของ OCOP คือพัฒนาผลิตภัณฑ์การเกษตรและผลิตภัณฑ์กับการบริการอื่นๆที่เป็นจุดแข็งของท้องถิ่นตามห่วงโซ่มูลค่า ที่ผลิตโดยสถานประกอบการภาคเอกชนและเศรษฐกิจแบบหมู่คณะ ตั้งแต่ปี 2008 กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทได้เริ่มปฏิบัติโครงการ “หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัฑณ์” เป็นการนำร่องในหลายท้องถิ่น ต่อจากนั้นถึงปี 2013 จังหวัดกว๋างนิงห์ได้ปฏิบัติโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” จนกลายเป็นจังหวัดนำหน้าในการปฏิบัติโครงการนี้อย่างเป็นแบบแผนของประเทศ ซึ่งหลังการปฏิบัติมาเป็นเวลา 3 ปี มูลค่าสินค้าที่ได้ขายในกรอบโครงการที่จังหวัดกว๋างนิงห์ได้บรรลุกว่า 6 แสน 7 หมื่นล้านด่ง มากกว่าแผนที่วางไว้ 3 เท่า สิ่งที่สำคัญคือ จำนวนครอบครัวที่จดทะเบียนเข้าร่วมโครงการนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของโครงการ นายเหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทให้ข้อสังเกตว่า “ โครงการนี้ได้ช่วยสร้างสรรค์สหกรณ์แบบใหม่และสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเจ้าของส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ซึ่งพร้อมกับครอบครัวเกษตรกร ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชนบท ผลสำเร็จจากโครงการ OCOP ที่จังหวัดกว๋างนิงห์ได้สะท้อนให้เห็นว่า สินค้าเกษตรและอาชีพต่างๆของชาวเวียดนามสามารถเจาะตลาดโลกได้ เราควรผลักดันการปฏิรูปในเขตชนบทและสร้างสรรค์ชนบทใหม่ผ่านการเน้นห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์”
เมื่อเร็วๆนี้ ในนามของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี เวืองดิ่งเหวะ หัวหน้าคณะกรรมการชี้นำโครงการเป้าหมายแห่งชาติได้ลงนามอนุมัติมติเกี่ยกวับโครงการ “หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์” หรือ OCOP ระยะปี 2018-2020 เพื่อขยายผลไปทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการผลิตและประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะถิ่นและการบริการที่เป็นจุดแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจชนบท พัฒนาระบบเกษตรกรรมที่ทันสมัย ผลักดันการเคลื่อนย้ายแรงงานในเขตชนบทอย่างเหมาะสมเพื่อยับยั้งการอพยพไปยังตัวเมืองใหญ่ๆ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคุณค่าในเขตชนบท ถึงปี 2020 เป้าหมายของโครงการคือจะพยายามให้ผลิตภัณฑ์ร้อยละ 50 หรือกว่า 2,400 รายการได่มาตรฐาน ปรับปรุงการผลิตตามแนวทางความเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวที่ผลิตกับสหกรณ์และสถานประกอบการ ปฏิบัติรูปแบบหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พยายามมีสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมใหม่ประมาณ 500 แห่งเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับแนวทางพัฒนาของโครงการฯในเวลาข้างหน้า รองนายกรัฐมนตรี จิ่งดิ่งหยุงกำชับว่า “เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราต้องเน้นปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ พัฒนาเศรษฐกิจชนบทควบคู่กับการสร้างสรรค์ชนบทใหม่ ในการปฏิบัติโครงการนี้ จำเป็นต้องอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมพื้นเมืองให้ได้เพื่อเสร้างเครื่องหมายการค้าและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด”
นอกจากขยายผลไปทั่วประเทศและยังมีการสร้างระบบการบริหารที่มีความพร้อมเพรียงจากระดับส่วนกลางไปจนถึงท้องถิ่น โดยประกาศมาตรฐานและกำหนดขั้นตอนประเมินและจัดอันดับผลิตภัณฑ์ ประกาศและบังคับใช้นโยบายที่พร้อมเพียงเพื่อให้หนึ่งตำบลมีหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง.