(VOVWorld)-เศรษฐกิจเวียดนามได้มีสัญญาณที่สดใสใน๖เดือนแรกของปี๒๐๑๕ โดยอัตราการขยายตัวของจีดีพีได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ๖.๓เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วและทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี๒๐๑๑ คาดว่า ใน๖เดือนที่เหลือของปีนี้ เวียดนามจะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆแต่ด้วยผลงานที่ได้บรรลุ จะช่วยผลักดันให้บรรดาสถานประกอบการและนักลงทุนชาวต่างชาติพยายามมากขึ้นเพื่อประสบความสำเร็จในปีนี้
|
ใน๖เดือนแรกของปี๒๐๑๕ อัตราการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเกษตร ป่าไม้ สัตว์น้ำและการบริการได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีส่วนร่วมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนาม โดยอัตราการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมและการก่อสร้างอยู่ที่กว่าร้อยละ๙ อัตราการขยายตัวด้านการบริการอยู่ที่ร้อยละ๕ การขยายตัวด้านการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำอยู่ที่ร้อยละ๒.๔ ดัชนีการผลิตของหน่วยงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ๙.๖เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ การพัฒนาสถานประกอบการใน๖เดือนแรกของปี๒๐๑๕ก็มีสัญญาณที่น่ายินดี โดยมีสถานประกอบการจดทะเบียนใหม่กว่า๔หมื่น๕พันแห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งในด้านจำนวนและเงินทุนจดทะเบียนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ๖๐ของจีดีพี นี่เป็นสัญญาณที่น่ายินดีของเศรษฐกิจเวียดนามและแสดงให้เห็นถึงโอกาสการลงทุนและการประกอบธุรกิจของสถานประกอบการ นาย หวูเตี๊ยนหลก หัวหน้าหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามได้เผยว่า “ถึงแม้สถานประกอบการยังคงประสบอุปสรรคมากมายแต่ก็เริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้น บรรดาสถานประกอบการได้มีแผนการขยายการประกอบธุรกิจ ผมเห็นว่า บรรดาสถานประกอบการจะประสบความสำเร็จในการผลิต ซึ่งจะช่วยผลักดันความพยายามในการปฏิรูปของรัฐบาลเวียดนามและการเปิดตลาดในกรอบข้อตกลงการค้าเสรีที่จะได้รับการลงนาม”
จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน ดัชนีราคาผู้บริโภคถัวเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นร้อยละ๐.๘๖เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งค่อนข้างต่ำในรอบ๑๐ปีที่ผ่านมาและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติเป้าหมายของรัฐบาลเวียดนามเกี่ยวกับการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ เอื้อให้แก่การปรับปรุงราคาสินค้าและการบริการสาธารณะตามกลไกตลาด ลดค่าใช้จ่ายของสถานประกอบการ ผลักดันการผลิตและการประกอบธุรกิจ
ศาสตราจารย์ดร. เฉิ่นดิ่งเทียน หัวหน้าสถาบันเศรษฐกิจเวียดนาม
|
ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปลายปี คาดว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะประสบอุปสรรคนานัปการ ซึ่งบังคับให้รัฐบาลและบรรดาสถานประกอบการต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพยายามมากขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยเฉพาะ ในด้านการเกษตรเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและภัยธรรมชาติ ศาสตราจารย์ดร. เฉิ่นดิ่งเทียน หัวหน้าสถาบันเศรษฐกิจเวียดนามได้เผยว่า “ภัยธรรมาชาติส่งผลกระทบต่อการผลิตและเสถียรภาพของสังคม การขาดแคลนน้ำไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการเกษตรเท่านั้น หากยังส่งผลต่ออุตสาหกรรมและการบริการอีกด้วย โดยเฉพาะ ปีนี้ การปรากฏการณ์เอลนีโนและอากาศร้อนผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อหน่วยงานการเกษตร ซึ่งเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน”
รัฐบาลเวียดนามได้ตั้งเป้าไว้ว่า อัตราการขยายตัวจีดีพีของเวียดนามในปี๒๐๑๕จะอยู่ที่ร้อยละ๖.๒ กระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนามได้วางแผนคาดการณ์๓ประการเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ประการแรกคือ ถ้าหากหน่วยงานการเกษตรประสบอุปสรรคเนื่องจากภัยแล้งและสถานการณ์การขุดเจาะน้ำมันยังอยู่ในระดับต่ำเหมือนใน๖เดือนที่ผ่านมา อัตราการขยายตัวก็ยากที่จะบรรลุร้อยละ๖.๒ ประการที่๒ ถ้าหากหน่วยงานการเกษตรเวียดนามยังคงประสบความยากลำบากแต่ถ้าหากมีนโยบายผลักดันอุตสาหกรรมการทำเหมืองและตลาดการส่งออก ก็ยังคงสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ได้ ตามแผนการคาดการณ์ที่๓ เวียดนามจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ได้ โดยอาศัยความคล่องตัวของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะ นโยบายทางการเงินและมาตรการต่อต้านการลักลอบนำเข้าของเถื่อนและสินค้าปลอม นาย เหงวียนบิ๊กเลิม อธิบดีทบวงสถิติได้ให้ข้อสังเกตว่า “แผนคาดการณ์ที่๒มีความเป็นไปได้มากที่สุดเพราะเมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์เวียดนามได้ลงนามข้อตกลงการค้ากับสาธารณรัฐเกาหลี โดยอัตราการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของเวียดนามไปยังสาธารณรัฐเกาหลีจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา หวังว่า ในปลายปีนี้ ตลาดยุโรปจะนำเข้าผลิตภัณฑ์การเกษตรของเวียดนาม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำก่อนเทศกาลครีสต์มาส อัตราการส่งออกของเวียดนามจะเพิ่มขึ้น ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปลายปี รัฐบาลจะเน้นสนับสนุนหน่วยงานการเกษตรและมีมาตรการเพื่อผลักดันการส่งออกและลดการนำเข้า”
การขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงในระยะยาว ดังนั้น เพื่อฟื้นฟูการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้และปีต่อๆไป รัฐบาลเวียดนามได้มีนโยบายทางการเงินที่คล่องตัว ปรับปรุงบรรยากาศการประกอบธุรกิจและปรับปรุงโครงสร้างสถานประกอบการภาครัฐ โดยเฉพาะ การปรับปรุงระบบธนาคารและลดกำแพงกีดกันทางการค้าเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจภาคเอกชนภายในประเทศ.