เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง สถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัย (Photo canthotourism.vn)
|
หลังจากที่ต้องหยุดใช้บริการต้อนรับนักท่องเที่ยวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เมื่อวันที่ 28 เมษายนเขตโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งในจังหวัดอานยางได้เริ่มกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งโดยในช่วยแรก จำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวเขตท่องเที่ยวไบ๋นุ้ยมีไม่มากนักแต่จากการสนับสนุนของสำนักงานหน่วยงานต่างๆและผู้บริหารท้องถิ่นได้ช่วยให้จำนวนนักท่องเที่ยวค่อยๆเพิ่มมากขึ้นโดยถึงขณะนี้คิดเป็นร้อยละ 60 -70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่นเขตท่องเที่ยวเชิงนิเวศป่าเสม็ด “จ่าซือ” เขตท่องเที่ยวแห่งชาติ “นุ้ยซาม” เป็นต้นนาย ลี้แทงซาง ผู้อำนวยการบริษัทท่องเที่ยวกระเช้าลอยฟ้าป่า “เกิ๊ม” จ.อานยาง กล่าวว่า “ในตอนแรกที่เปิดให้บริการ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวที่นี่มีแค่ร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทางบริษัทฯได้จัดโปรโมชั่นต่างๆเช่นลดราคาให้แก่กลุ่มนักท่องเที่ยวตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป จัด combo เพื่อลดค่าบริการในเขตท่องเที่ยวลดค่าตั๋วให้แก่นักเรียนและนักศึกษาเป็นต้นซึ่งหลังการปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือนครึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวค่อยๆเพิ่มขึ้นโดยขณะนี้คิดเป็นร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว”
เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่เป็นจุดแข็งของจังหวัดบริษัทนำเที่ยวและบริการต่างๆในจังหวัดเกิ่นเทอได้จัดโปรโมชั่นและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวหลังการแพร่ระบาดของโรควิด 19 นาง หวอซวนทู ผู้อำนวยการโรงแรมวิคตอเรียเกิ่นเทอเผยว่านอกจากทัวร์ท่องเที่ยวพักผ่อนที่มีอยู่แล้วทางบริษัทฯได้เปิดทัวร์ท่องเที่ยวเกิ่นเทอ_โจวด๊กทางเรือสำราญ4 วัน 3 คืน ส่วนบริษัทมายลิงห์เตยโด ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการการขนส่งทางบก็ได้เปิดทัวร์เกิ่นเทอ- โกนด๋าวด้วย speed boat ส่วนสายการบินต่างๆก็เปิดเส้นทางใหม่ๆภายในประเทศ เช่น เกิ่นเทอ – ไฮฟอง เกิ่นเทอ – วิงห์ เกิ่นเทอ – บวนมาถวด ไฮฟอง – ฟู้ก๊วก เป็นต้น โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่างๆเช่น โก่นเซินได้จัดทำโครงการท่องเที่ยวที่แปลกใหม่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวนาง เลถิแบ๊ไบ๋ ตัวแทนบริษัทฯ เผยว่า “เราได้จัดทัวร์ท่องเที่ยวใหม่ๆที่เน้นถึงวัฒนธรรมของท้องถิ่น นี่คือโอกาสให้เราปฏิรูปตนเองทางบริษัทฯ กำลังจัดโปรโมชั่นพิเศษและพร้อมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสกับวัฒนธรรมของผืนแผ่นดินนี้ได้อย่างสมบูรณ์”
ที่จังหวัดด่งทาป ในขณะที่ต้องระงับการให้บริการ สถานที่ท่องเที่ยวและบริษัทนำเที่ยวต่างๆได้ใช้เวลานี้เพื่อยกระดับและสร้างไฮไลท์ดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น นายเจิ่นแทงเดี่ยน ประธานชุมชนปลูกดอกไม้ในหมู่บ้าน “ซาแดก” เผยว่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศต่างๆ เช่นสวนผลไม้และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆได้ลดค่าตั๋วถึงร้อยละ 50 และยกระดับคุณภาพของการให้บริการ “ในช่วงหลังวิกฤตโควิด -19 หมู่บ้านดอกไม้ “ซาแดก” ฟื้นฟูเร็วที่สุดโดยนักท่องเที่ยวได้หลั่งไหลมาเที่ยวสวนผลไม้ต่างๆ เจ้าของสวนได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างไฮไลท์ให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวอีก”
นาย เหงียนเถียนแถ่ง รองเลขาธิการสมาคมการท่องเที่ยวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเผยว่ามีสถานประกอบการ 100 แห่งจาก 13 จังหวัดและนครในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเข้าร่วมโครงการโปรโมชั่นการท่องเที่ยวเขตในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงหลังวิกฤตโควิด 19 โดยเน้นให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆถึงความร่วมมือและการเชื่อมโยงกับนครโฮจิมินห์ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทิศตะวันออกและศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทิศตะวันตกเช่น จังหวัดเกิ่นเทอ เกียนยาง ฟู้ก๊วก บากเลียว ก่าเมาและเตี่ยนยางเพื่อส่งเสริมบทบาทการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง นาย เถียนแท่งกล่าวว่า “ในนามของสมาคมการท่องเที่ยวเวียดนามสมาคมการท่องเที่ยวนครโฮจิมินห์สามารถจัดกิจกรรมโปรโมชั่นการท่องเที่ยวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงโดยทางนครจะลงพื้นที่สำรวจและซื้อลิขสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อช่วยให้ภูมิภาคนี้ฟื้นฟูการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วผมคิดว่าขณะนี้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ซึ่งได้มีเครื่องหมายการค้าแล้วและเชื่อว่า ถ้าหากจัดแผนท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะเลือกเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงอย่างแน่นอน”
เมื่อสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน่วยงานการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้เริ่มฟื้นฟูการให้บริการ โดยร่วมมือกันจัดทำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจัดทำสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและยกระดับคุณภาพการให้บริการ ส่วนสายการบินต่างๆก็ลดราคาตั๋วเครื่องบินเพื่อฟื้นฟูเที่ยวบินภายในประเทศนี่คือสัญญาณที่น่ายินดีที่แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานการท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆจะฟื้นฟูโดยเร็วเพื่อมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเศรษฐกิจของประเทศ.