เขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย – หัวเรือหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดกว๋างนาม

Vĩnh Phong - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ในการสร้างสรรค์และพัฒนาในตลอด 14 ปีที่ผ่านมา เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้ฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายต่างๆและปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งผลสำเร็จในการสร้างสรรค์และพัฒนาเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้มีส่วนร่วมที่สำคัญและสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมในจังหวัดกว๋างนาม

เขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย – หัวเรือหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดกว๋างนาม - ảnh 1เขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย

เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดกว๋างนาม ได้รับการก่อตั้งเมื่อปี 2003 ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจริมฝั่งทะเลแห่งแรกของเวียดนามที่มีพื้นที่อันกว้างใหญ่ ประมาณ 3 หมื่นเฮกต้า และมีการประยุกต์ใช้นโยบายใหม่ๆเพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนประกอบธุรกิจที่สะดวก เสมอภาค และสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติสากล เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายมีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญทางภาคกลางเพราะเชื่อมโยงระหว่างเขตภาคเหนือกับเขตภาคใต้ของประเทศ รวมทั้งเชื่อมโยงกับท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามและประเทศต่างๆผ่านทางหลวงหมายเลข1เอ ทางด่วนริมฝั่งทะเล ทางรถไฟเหนือจรวดใต้ ตลอดจนมีท่าเรือกี่ห่า สนามบินจูลายและทางด่วนที่เชื่อมระหว่างนครดานังกับจังหวัดกว๋างหงาย ซึ่งเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายมีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจแบบบูรณาการ เช่น ศูนย์กลางทางการเงิน ธนาคาร การค้า การบริการ โทรคมนาคม การท่องเที่ยวและระบบคมนาคมที่เชื่อมระหว่างจังหวัดและเขตของเวียดนามกับประเทศต่างๆ นาย ฝ่ามเอิน รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้เผยว่า“รัฐบาลได้มีมติจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายและให้สิทธิพิเศษต่างๆแก่สถานประกอบการที่เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจนี้ นอกจากนี้ ทางการจังหวัดกว๋างนาม โดยเฉพาะคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายพร้อมช่วยเหลือสถานประกอบการลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำระเบียบราชการต่างๆและอำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการ ซึ่งทำให้เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ”

นาย กาวมิงหงอก ผู้อำนวยการบริษัทหุ้นส่วนโซลูชั่นเทคโนโลยีหมุนเวียนได้เผยว่า ทางบริษัทฯได้ตัดสินใจลงทุนในโครงการก่อสร้างโรงบำบัดนํ้าเสียในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลาย รวมมูลค่า 2 แสน 3 หมื่นล้านด่ง

“สถานประกอบการในเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายจะได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ อย่างเช่น บริษัทของเราได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในชาวงปฏิบัติโครงการใน 4 ปีแรก โครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนสถานประกอบการอย่างเต็มที่จากทางการท้องถิ่น”

หลังการก่อสร้างและพัฒนามาเป็นเวลา 14 ปี เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้มีส่วนช่วยจังหวัดกว๋างนามพัฒนาเศรษฐกิจสังคมอย่างรวดเร็ว ทำให้จังหวัดฯติดหนึ่งใน 10 จังหวัดที่ทำรายได้เข้างบประมาณแผ่นดินมากที่สุด นาย ฝ่ามเอิน รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายเผยต่อไปว่า“จนถึงปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายมีโครงการทั้งหมด 122 โครงการ รวมมูลค่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นโครงการเอฟดีไอ 32 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังการประชุมส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดกว๋างนามเมื่อเร็วๆนี้ มีโครงการของนักลงทุนทั้งเวียดนามและจากต่างประเทศที่จดทะเบียนใหม่ 32 โครงการ รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนกว่า 1 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้มีส่วนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของจังหวัดกว๋างนาม โดยในระยะปี 2011 – 2015 อัตราการขยายตัวด้านเศรษฐกิจของจังหวัดกว๋างนามที่ร้อยละ 11 ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2016 ซึ่งเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายสามารถทำรายได้เข้างบประมาณคิดเป็นกว่าร้อยละ 70 ของจังหวัดกว๋างนาม”

ในหลายปีมานี้ คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้วางยุทธนาการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเปิดที่ดึงดูดนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศและกำลังเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและที่ดินเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ยุโรป และอเมริกาเหนือเพื่อใช้ประโยชน์จากการขนส่งทางทะเลผ่านท่าเรือจูลาย นาย ดิงวันทู ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว๋างนามได้เผยว่า“ทางจังหวัดฯกำลังวางแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจเปิดจูลายในปีต่อๆไป ส่วนในปีนี้ ทางจังหวัดฯเน้นปรับปรุงแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจจูลาย อีกทั้งขยายโครงสร้างพื้นฐานในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตตัวเมือง ตลอดจนการจัดระเบียบที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนในเขตริมฝั่งทะเล”

ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายได้รับการประเมินว่า เป็น 1 ใน จุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศเมื่อเข้ามาลงทุนในเวียดนาม ส่วนในระยะปี 2016 – 2020 เขตเศรษฐกิจเปิดจูลายเป็น 1 ในเขตเศรษฐกิจหลัก 8 แห่งของเวียดนาม ซึ่งมีส่วนร่วมสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของเวียดนามและจังหวัดกว๋างนาม.

Feedback