(VOVworld) – เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนามถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเพราะมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 1.8 ล้านเฮกต้า สามารถทำนาได้ 2-3 ฤดูต่อปีและผลผลิตในเขตนี้นับวันยิ่งเพิ่มมากขึ้น ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีก้าวเดินที่น่าประทับใจในส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าว แต่ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการพัฒนาซึ่งในสภาวะการณ์ดังกล่าว การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวจึงถือเป็นเป้าหมายที่จำเป็นเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนให้แก่อู่ข้าวอู่น้ำที่มีศักยภาพแห่งนี้
|
เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงของเวียดนามถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ |
ในระยะเวลา 10 ปีที่ประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้มีส่วนร่วมเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวให้แก่เขตนี้จาก 4.3 ตันต่อเฮกต้าเมื่อปี 2001 ขึ้นเป็น 5.7 ตันต่อเฮกต้าในปี 2013 ส่วนผลผลิตของทั้งเขตก็เพิ่มตั้งแต่ 16 ล้านตันขึ้นเป็น 24.5 ล้านตัน มีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในหลายขั้นตอนซึ่งได้มีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการลดการสูญเสียและเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยวได้ช่วยลดต้นทุนประมาณร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับการเก็บเกี่ยวแบบเดิม เช่น ที่จังหวัด ลองอาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุด คือ 260.000 เฮกต้า สามารถผลิตข้าวได้กว่า 2.6 ตันต่อปี ปัจจุบัน ลองอานคือจังหวัดที่มีการส่งเสริมแนวทางนี้ในการเก็บเกี่ยวข้าวมากที่สุดของภูมิภาค คือคิดเป็นร้อยละ 95 พร้อมด้วนการปฏิบัตินโยบายต่างๆอย่างดีซึ่งมีส่วนร่วมเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิตและยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น นาย เหงียนแทงตุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเกษตรจังหวัด ลองอาน ได้เผยว่า “พวกเรากำลังประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะรถปรับหน้าดินที่ใช้ระบบเลเซอร์ซึ่งอาจจะช่วยสร้างก้าวกระโดดในการลดปริมาณการใช้ต้นกล้าข้าว ปุ๋ยและยาและช่วยควบคุมกระบวนการปลูกข้าวให้มีคุณภาพขึ้นซึ่งถ้าการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ทางจังหวัดก็จะใช้เครื่องปลูกข้าวเพื่อลดค่าจ้างแรงงาน การผลักดันการใช้เทคโนโลยีในการปลูกข้าวก็ต้องให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านเงินทุน ส่วนสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างๆต้องวิจัยเพื่อให้เครื่องจักรกลจากต่างประเทศสามารถประยุกต์ใช้ในทุ่งนาของเวียดนามได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง”
นาย หวอ วัน เชิด เกษตรกรในตำบลเตินแถ่ง อำเภอ เตินแถง จังหวัดลองอาน ที่ผลิตพันธุ์ข้าวให้แก่ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรจังหวัดลองอานมาเกือบ 10 ปีโดยมีพื้นที่ปลูกข้าว 1 เฮกต้า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 8 ตันต่อเฮกต้าในปี 2013 นาย หวอ วัน เชิดและ 7 ครอบครัวในหน่วยได้เริ่มนำรถเกี่ยวข้าวและ เครื่องอบข้าวมาใช้ซึ่งทำให้ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวข้าวเร็วขึ้น 20 วัน การสูญเสียจากการเก็บเกี่ยวลดลงเหลือร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับการเก็บเกี่ยวแบบเดิมที่สูญเสียถึงร้อยละ30 มีรายได้เพิ่มขึ้นจาก 50 ล้านด่งต่อเฮกต้าต่อคนต่อปี เป็น 65 ล้านด่งต่อคนต่อปี นาย หวอ วัน เชิด เผยต่อไปว่า “ผมเห็นว่า การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปลูกข้าวได้อำนวยความสะดวกมากสำหรับเกษตรกร แต่ยังคงเป็นสิ่งใหม่สำหรับหลายครอบครัว พวกเรามีความปรารถนาว่า รัฐจะให้การช่วยเหลือเกษตรกรด้านเงินกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกล สำหรับครอบครัวที่ผลิตพันธุ์ข้าว สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุดคือ เครื่องปลูกข้าว”
|
การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวจึงถือเป็นเป้าหมายที่จำเป็นของเขตนี้ |
ถึงแม้ได้รับความสนใจลงทุน แต่อัตราการประยุกต์ใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงยังคงค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในขั้นตอนการเตรียมดิน ชลประทาน การเก็บเกี่ยวและการอบแห้งซึ่งสร้างความสูญเสียไม่น้อยต่อผลผลิตข้าวของประเทศเนื่องจากไม่ได้มาตรฐานด้านคุณภาพ นอกจากนั้น ปัญหาศัตรูพืชและปัญหาน้ำทะเลซึมที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณแรงงานในชนบทที่ลดลงยังสร้างแรงกดดันต่อการผลิตข้าว ดังนั้นการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวจึงกลายเป็นสิ่งที่เร่งด่วน โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้เครื่องปลูกข้าวที่ต้องดำเนินการให้เข้มแข็งมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตริมฝั่งทะเลซึ่งมักจะเผชิญกับปัญหาน้ำทะเลซึม ดร. เลวันแบ๋ง หัวหน้าสถาบันปลูกข้าวเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงได้แสดงความเห็นว่า “ในการปลูกข้าว ขั้นตอนการปลูกมีความสำคัญเป็นอย่างมาก กำลังแรงงานในชนบทมีไม่มากนัก ดังนั้นการใช้เครื่องปลูกข้าวจะสามารถปลูกข้าวตั้งแต่ 3-5 เฮกต้าต่อวันซึ่งช่วยลดระยะเวลาการปลูกข้าว แต่กอ่นถึงขั้นตอนดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมดินเป็นอย่างดี ปัจจุบัน เครื่องปลูกข้าวยังมีราคาแพง ดังนั้นเกษตรกรจึงไม่มีกำลังที่จะซื้อได้ แต่ ถ้าหากปฏิบัติการประชาสัมพันธ์และการทดลองใช้เครื่องปลูกข้าวเป็นอย่างดีจะทำให้เกษตรกรเห็นถึงประสิทธิภาพและจะปฏิบัติตาม ถ้าหากสามารถผลิตเครื่องนี้ภายในประเทศได้ ราคาก็จะถูกลงและเกษตรกรจะสามารถเป็นเจ้าของเครื่องปลูกข้าวได้ง่ายขึ้น”
ปัจจุบัน ราคาเครื่องจักรกลสำหรับการทำนายังคงมีราคาแพง ดังนั้นเกษตรกรหลายคนจึงไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ ดังนั้น ต้องมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผ่านเงินกู้พิเศษพร้อมกับแนะนำวิธีการใช้งาน เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรในการปลูกข้าวในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงจำเป็นต้องแก้ไขหลายปัญหา รวมทั้งการวางนโยบายที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้สูงในการปฏิบัติ ตลอดจนเพิ่มความเชื่อมโยง 4 ฝ่ายซึ่งประกอบไปด้วย ภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ประกอบการและเกษตรกร พยายามลดรูปแบบการปลูกข้าวในทุ่งนาขนาดเล็กอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นมาตรการเพื่อให้เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงก้าวรุดหน้าไปและพัฒนาการเกษตรในชนบทให้ทันสมัย./.