ส่งเสริมการใช้ข้อตกลง FTA ฉบับใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งออก

Nguyên Long; Vĩnh Phong
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การผลักดันมาตรการต่างๆเพื่อค้ำประกันการเติบโตของการส่งออกเป็นหนึ่งในเป้าหมายเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การเติบโตสำหรับเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้ ในสภาวการณ์แห่งการขยายตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจหมุนเวียนกำลังกลายเป็นแนวโน้มและความต้องการในทั่วโลก เวียดนามกำลังพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและห่วงโซ่อุปทานระหว่างประเทศเพื่อตอบสนองข้อกำหนดทางเทคนิคและมาตรฐานที่เข้มงวดของตลาด โดยเฉพาะ ข้อกำหนดจากข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่
ส่งเสริมการใช้ข้อตกลง FTA ฉบับใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งออก - ảnh 1นาย เจิ่นแทงหาย รองอธิบดีกรมนำเข้าและส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม (BNEWS)

ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา สินค้าเวียดนามที่ส่งออกไปยังตลาดที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรปหรือ EVFTA จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP อีก แต่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีตามข้อตกลง EVFTA แทน ปีนี้ก็ยังเป็นปีที่ 5 ที่เวียดนามบังคับใช้ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกหรือ CPTPP โดยมีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับมาตรฐาน “สีเขียว” สำหรับผลิตภัณฑ์และสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศสมาชิกของข้อตกลงนี้

การบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA เป็นการดำเนินการตามข้อผูกพันโดยเน้นถึงการยกเลิกและปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าตาม “กระบวนการ” ดังนั้น ในการเจรจาเพื่อลงนามข้อตกลง FTA นักเจรจาจะพิจารณาความสามารถของประเทศตนเพื่อค้ำประกันว่า สถานประกอบการและเศรษฐกิจสามารถตอบสนองกระบวนการตามที่ระบุในข้อตกลงได้ นาย เจิ่นแทงหาย รองอธิบดีกรมนำเข้าและส่งออก สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม แสดงความเห็นว่า เมื่อเข้าร่วมข้อตกลง FTA เวียดนามมีโอกาสเพื่อขยายตลาดและเป็นการยืนยันถึงการปฏิบัติการแข่งขันอย่างโปร่งใสกับเศรษฐกิจอื่นๆ

“การแข่งขันเพื่อผลักดันการส่งออกเป็นการแข่งขันที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถพัฒนาตนเอง ยกระดับคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ดีที่สุด”

ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม เมื่อเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานในระดับโลก อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้ากำหนดว่า การปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวดของข้อตกลง FTA ฉบับใหม่ เช่น CPTPP และ EVFTA นำทั้งโอกาสและความท้าทายมาให้แก่สถานประกอบการและแรงงานเวียดนาม นาง ฟานถิแทงซวน รองประธานและเลขาธิการใหญ่สมาคมเครื่องหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือเวียดนาม กล่าวว่า

“ข้อกำหนดต่างๆ โดยเฉพาะข้อกำหนดเกี่ยวกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อตอบสนองห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่ท้าทาย ดังนั้น สถานประกอบการด้านเครื่องหนังและรองเท้าต้องอัพเดทข้อมูลเป็นประจำ เช่น ในตลาดยุโรป กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานของสินค้าและความปลอดภัยในการผลิตเพื่อการส่งออกต้องมีการปรับปรุงทุกปี ในเวลาที่จะถึง ตลาดเยอรมนีจะใช้กฎหมายใหม่เกี่ยวกับการผลักดันการปรึกษาหารือในห่วงโซ่อุปทานสำหรับฝ่ายที่สาม นี่เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่สถานประกอบการต้องปฏิบัติตาม เพราะถ้าหากไม่ปฏิบัติตามก็จะล้มเหลวในการส่งออกไปยังตลาดนี้ ข้อกำหนดทั้งหมดนี้ถือเป็นความท้าทายแต่ยังเป็นโอกาสเพื่อช่วยปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า รวมทั้งช่วยให้สถานประกอบการ โดยเฉพาะแรงงานเวียดนามสามารถค้ำประกันสิทธิผลประโยชน์ของตนได้และสถานประกอบการสามารถค้ำประกันคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่นับวันดียิ่งขึ้น”

ส่งเสริมการใช้ข้อตกลง FTA ฉบับใหม่เพื่อกระตุ้นการส่งออก - ảnh 2นาง ฟานถิแทงซวน รองประธานและเลขาธิการใหญ่สมาคมเครื่องหนัง รองเท้าและกระเป๋าถือเวียดนาม (https://tapchicongthuong.vn/)

ส่วนสำหรับสถานประกอบการส่งออกอาหารออร์แกนิก นาย ฝ่ามมิงดึ๊ก รองประธานสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์เวียดนามกล่าวว่า ศักยภาพในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ยังมีอีกมาก ดังนั้น นอกจากการเปลี่ยนแปลงใหม่ในการเข้าถึงตลาดแล้ว สถานประกอบการต้องยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดส่งออกด้วย

“ปัจจุบัน สินค้าเกษตรส่งออกหลักของเวียดนามได้รับการรับรองเป็นเกษตรอินทรีย์ ส่งออกตามมาตรฐานของสหภาพยุโรปและสหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ยังไม่สูงนัก และปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ส่งออกยังคงอยู่แค่ในระดับวัตถุดิบ สถานประกอบการส่วนใหญ่ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ามากขึ้น รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงตลาดผู้บริโภคได้มากนัก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของอุตสาหกรรมเกษตรอินทรีย์ยังมีอีกมากและเป็นโอกาสสำหรับเวียดนาม ทางสมาคมฯ มีความประสงค์ว่า กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมจะสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการเข้าถึงตลาดอเมริกาเหนือให้มากขึ้น”

ยุทธศาสตร์นำเข้าและส่งออกของเวียดนามจนถึงปี 2030 ได้ตั้งเป้าการส่งออกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อัตราการเติบโตของการส่งออกสินค้าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6-7 ต่อปีในช่วงปี 2021-2030 โดยเฉพาะ ในปี 2023 กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมตั้งเป้าไว้ว่า การเติบโตของการส่งออกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2022.

Feedback