ขนมปังมังแก้วรับความนิยมจากผู้บริโภค ( Photo baomoi.com) |
ในการประชุมออนไลน์เมื่อเร็วๆนี้ เพื่อผลักดันการผลิตเกษตรท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ผู้แทนทุกคนได้แสดงความคิดเห็นว่า ต้องพยายามลดผลกระทบจากโรคโควิด – 19 โดยเฉพาะในการผลิต การส่งออกและบริโภคสินค้าการเกษตร ปฎิรูปโครงสร้างการผลิตตามแนวทางปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปรงของสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมจุดแข็งของท้องถิ่นเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกผลไม้ แต่ในการเพาะปลูก ต้องใช้พื้นที่ปลูกข้าวแบบหมุนเวียนเพื่อค้ำประกันความปลอดภัยด้านอาหารและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ตรวจสอบและพัฒนาเขตผลิตสำหรับสินค้าส่งออกที่เป็นหลักและได้รับความนิยมในตลาด ผลักดันให้สถานประกอบการเพิ่มความร่วมมือกับเกษตรกรมากขึ้น ในการเพาะเลี้ยงปศุสัตว์ หน่วยงานการเกษตรกำลังปฏิบัติมาตรการควบคุมโรคระบาดต่างๆ โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ กระทรวงการคลังเพื่อควบคุมราคา หลีกเลี่ยงการเก็งกำไรราคาเนื้อหมูและพันธุ์หมูในตลาด รวมทั้งผลักดันการเลี้ยงหมูเพื่อปรับความมีเสถียรภาพของตลาดและควบคุมราคาเนื้อหมูภายในประเทศ
สำหรับการผลิตและแปรรูปเพื่อการส่งออกของสินค้าการเกษตร ผู้แทนทุกคนได้แสดงความคิดเห็นว่า ต้องหาตลาดใหม่เพื่อสร้างความหลากหลายในการส่งออกสินค้าการเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำ ลดการพึ่งพาตลาดบางแห่งอย่างค่อยเป็นค่อยไป พยายามบรรลุมาตรฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นาย เยืองแทงตุ่ง ผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดบั๊กยางแสดงความคิดเห็นว่า นอกจากส่งเสริมการค้าและการขยายตลาด กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทควรสนับสนุนในด้านกลไกเพื่อดึงดูดสถานประกอบการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง “ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 จังหวัดบั๊กย่างได้เน้นชี้นำในการผลิตเพื่อไม่ให้การผลิตถูกระงับ เพื่อปกป้องสัตว์เลี้ยงและแหล่งจัดสรรอาหารทั้งภายในและนอกจังหวัด ขอให้กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทช่วยประชาสัมพันธ์ให้สถานประกอบการมาลงทุนผลิตการเกษตรในบั๊กยาง โดยเฉพาะในด้านที่เป็นจุดแข็งของบั๊กยาง เช่น หมู ไก่ ดอกไม้ ผลไม้ และลงทุนให้แก่การเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง”
คาดว่า ในปีนี้ ปริมาณการปลูกข้าวจะบรรลุ 28 ล้านตัน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการภายในประเทศและสามารถส่งออกได้ประมาณ 6.5-7 ล้านตัน พืชผักชนิดต่างๆปลูกได้ประมาณ 18.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2019 สวนผลไม้ปลูกได้ประมาณ 13.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 การเลี้ยงสุกรได้ประมาณ 5.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ซึ่งแน่นอนว่า ตลาดภายในเวียดนามจะไม่ขาดแคลนเนื้อหมู ส่วนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็บรรลุประมาณ 8.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับปี 2019
แม้ประสบอุปสรรคมากมายแต่หน่วยงานการเกษตรพยายามบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ทั้งในการส่งออกและการรักษาสวัสดิการสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน สำหรับตลาดส่งออก กระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทจะประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ สถานทูตเวียดนามประจำประเทศต่างๆปฏิบัติส่งเสริมการส่งออกและขยายตลาดในภูมิภาคที่สำคัญและมีศักยภาพ โดยเน้นปฏิบัติมาตรการแก้ไขที่พร้อมเพรียงเพื่อผลักดันการผลิตเกษตร ป่าไม้และสัตว์น้ำ ค้ำประกันความปลอดภัยด้านอาหารภายในประเทศและเพิ่มการส่งออกเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
นาย เหงียนซวนเกื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทย้ำว่า หน้าที่ของหน่วยงานในปัจจุบันหนักมาก ซึ่งต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความท้าทายต่างๆเพื่อบรรลุอัตราการขยายตัวของการส่งออกในปี 2020 อยู่ที่ 4หมื่น 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐมนตรี เหงียนซวนเกื่องกำชับว่า “ต้องผลักดันการผลิต แก้ไขอุปสรรคและปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อรักษาความปลอดภัยด้านอาหาร เน้นปฏิบัติมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเฉพาะโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ควบคุมราคาและหลีกเลี่ยงการเก็งกำไรราคาเนื้อหมูและพันธุ์หมูในตลาด เตรียมความพร้อมเพื่อเพิ่มการเลี้ยงสุกรในขณะที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้แล้ว จากนั้นจะพัฒนาการส่งออกเพื่อค้ำประกันเป้าหมายของการขยายตัวในการส่งออก”
นอกจากพยายามลดผลกระทบของโรคโควิด – 19 หน่วยงานการเกษตรยังทำการปฏิรูปการผลิตเพื่อปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมศัยภาพของท้องถิ่นจากการเพิ่มปริมาณการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ำและปลูกผลไม้ ควบคู่กันนั้น จะเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและแปรรูปสินค้าสำหรับการส่งออกเพื่อสามารถเจาะตลาดใหม่ๆและบรรลุมาตรฐานสูงในด้านแหล่งกำเนิดของสินค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้ดีขึ้น พร้อมทั้งสร้างกลไกเพื่อดึงดูดการลงทุนของสถานประกอบการในการพัฒนาการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง.