ทีพีพีจะเอื้อให้แก่การพัฒนาของผู้ประกอบการเวียดนาม

Lệ Hằng- VOV
Chia sẻ
(VOVWorld)-การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกหรือทีพีพีที่เวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่๕ตุลาคม    เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว  การพยากรณ์และการลดความเสี่ยงที่จะตามมาจะเป็นจุดเปลี่ยนเพื่อให้เศรษฐกิจเวียดนามย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปและการพัฒนา  สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่สถานประกอบการเวียดนามตามทันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลก
(VOVWorld)-การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิกหรือทีพีพีที่เวียดนามเป็นสมาชิกเพิ่งเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่๕ตุลาคม    เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว  การพยากรณ์และการลดความเสี่ยงที่จะตามมาจะเป็นจุดเปลี่ยนเพื่อให้เศรษฐกิจเวียดนามย่างเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิรูปและการพัฒนา  สร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่สถานประกอบการเวียดนามตามทันกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลก
ทีพีพีจะเอื้อให้แก่การพัฒนาของผู้ประกอบการเวียดนาม - ảnh 1

เวียดนามได้รับการประเมินว่า เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงทีพีพี  ตามการพยากรณ์ ข้อตกลงทีพีพีจะช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวจีดีพีของเวียดนามเพิ่มขึ้น๒๓.๕พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี๒๐๒๐และ๓๓.๕พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี๒๐๒๕  มูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น๖หมื่น๘พันล้านเหรียญสหรัฐในปี๒๐๒๕  สิ่งที่น่าสนใจคือ  การที่ตลาดใหญ่ๆ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่นและแคนาดาปรัลลดภาษีสินค้านำเข้าเหลือ๐%จะสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การส่งออกของเวียดนามและมีความเป็นไปได้ที่มูลค่าการส่งออกสินค้าที่สำคัญคือ สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า สินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำไปยังตลาดนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี บรรดาผู้ประกอบการเวียดนามมีโอกาสมากมายเพื่อการพัฒนาแต่ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายไม่น้อย นาย เหงวียนชี้เฮี้ยว ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเห็นว่า  “ทีพีพีจะสร้างโอกาสใหญ่ให้แก่เวียดนามในการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจโลก  ควบคู่กันนั้น  เศรษฐกิจเวียดนามจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก  สิ่งที่น่าสนใจคือ  สินค้าที่เวียดนามมีจุดแข็ง เช่น สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำจะได้รับประโยชน์มากขึ้น”

ทีพีพีจะเอื้อให้แก่การพัฒนาของผู้ประกอบการเวียดนาม - ảnh 2
หน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงทีพีพี

ประเทศต่างๆที่เข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีเป็นหุ้นส่วนส่งออกที่สำคัญของเวียดนาม   โดยเฉพาะ สหรัฐและญี่ปุ่น  มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยัง๒ประเทศดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ๔๐ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดที่เวียดนามส่งออกไปยัง๑๑ประเทศสมาชิกทีพีพี  ในการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงทีพีพี หน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงดังกล่าว   แต่อย่างไรก็ดี เพื่อตอบสนองข้อกำหนดของทีพีพี  บรรดาผู้ประกอบการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปต้องพยายามมากขึ้น  โดยเฉพาะ กฎระเบียบเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของสินค้าแบบyarn forward   ตามกฎระเบียบดังกล่าว  สินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีทีพีพีต้องใช้วัตถุดิบที่นำเข้าจากประเทศสมาชิกทีพีพีในขณะที่เวียดนามยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ จากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของทีพีพี    นี่เป็นปัญหาที่เวียดนามต้องแก้ไขทันทีเพื่อได้รับประโยชน์จากข้อตกลงทีพีพี 

ในเวลาที่ผ่านมา บรรดาผู้ประกอบการเวียดนาม  โดยเฉพาะ  ผู้ประกอบการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้เตรียมความพร้อมให้แก่การผสมผสาน  เครือบริษัทสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปเวียดนามได้เป็นฝ่ายรุกในการประสานงานกับกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆในการเชื่อมโยงกับบรรดาผู้ประกอบการเพื่อจัดตั้งเขตวัตถุดิบ  ผลักดันการออกแบบเอง ผลิตสินค้าและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าโดยตรง  หน่วยงานสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของเวียดนามมีจุดแข็งเหนือประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียทั้งด้านทักษะและประสบการณ์  ดังนั้น การเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อหน่วยงาน
ปัจจุบัน  เวียดนามเป็นหนึ่งใน๑๕ประเทศส่งออกสินค้าการเกษตรไปยังสหรัฐมากที่สุด เช่น กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย ข้าวและชา ส่วนญี่ปุ่นก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกทีพีพีและเป็นตลาดนำเข้าสินค้าการเกษตรรายใหญ่อันดับ๓ของเวียดนาม  โดยมีสินค้าการเกษตรหลักคือ กาแฟและผลไม้ นอกจากนี้ ออสเตรเลียและเม็กซิโก ซึ่งเป็นสมาชิกทีพีพีก็เป็นตลาดนำเข้าสินค้าการเกษตรรายใหญ่ของเวียดนาม  โดยนำเข้าสินค้าที่เวียดนามมีจุดแข็ง เช่น  เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกไทย ข้าว กาแฟและผลไม้   แต่อย่างไรก็ดี นอกจากสินค้าที่มีความได้เปรียบแล้ว  หน่วยงานปลูกอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลและเภสัชกรรมจะประสบอุปสรรค  การเข้าร่วมทีพีพีทำให้เวียดนามต้องเปิดตลาดการผลิตน้ำตาลอ้อยและยกเลิกโควต้านำเข้า  ดังนั้น หน่วยงานน้ำตาลอ้อยของเวียดนามจะประสบอุปสรรคมากมายเพราะมีต้นทุนการผลิตสูงมากและต้องแข่งขันกับประเทศสมาชิกทีพีพี เช่น ออสเตรเลีย  ซึ่งเป็นประเทศส่งออกน้ำตาลอ้อยรายใหญ่อันดับ๓ของโลก  นอกจากนี้ อุตสาหกรรมผลิตนมของเวียดนามก็จะได้รับผลกระทบเพราะ ในจำนวน๑๒ประเทศสมาชิกทีพีพี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นสองประเทศที่มีอุตสาหกรรมผลิตนมที่ทันสมัย
รู้จักใช้โอกาสและลดความเสี่ยงเมื่อเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพี  ผู้ประกอบการเวียดนามจะสามารถต้องพัฒนาตามให้ทันกับแนวโน้มการผสมผสานเข้ากับกระแส เศรษฐกิจโลก.

Feedback